More

    e-Refund (Easy E-Receipt) ต่างจาก ช้อปดีมีคืน อย่างไร?

    ในปี 2563 – 2566 มาตรการลดหย่อนภาษีจากทางรัฐบาล จะชื่อโครงการว่า ช้อปดีมีคืน แต่ในปี2567 นี้ ทางรัฐบาลชุดใหม่ได้ออกมาตรการ Easy E-Receipt มาแทน แล้วแบบเก่ากับแบบใหม่มันต่างกันตรงไหนบ้าง Inzpy ได้รวบรวมข้อมูลสรุปมาให้ฟังง่าย ๆ แล้วค่ะ

    Easy E-Receipt (e-Refund) ต่างจาก ช้อปดีมีคืน อย่างไร?

    ทั้งสองมาตรการนี้คล้ายกันมาก เพราะต่างช่วยกระตุ้นการใช้จ่าย สำหรับบุคคลที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ยกเว้นนิติบุคคล) แล้วจะนำจำนวนเงินที่ซื้อสินค้าและบริการ มาใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามจำนวนที่จ่ายจริงเหมือนกัน

    แต่แบบใหม้แตกต่างกับช้อปดีมีคืน ตรงรูปแบบใบกำกับภาษีที่ใช้เป็นหลักฐาน และจำนวนวงเงินที่ใช้ลดหย่อนภาษีที่เพิ่มขึ้น ลดหย่อนภาษีให้สูงสุดถึง 50,000 บาทเลยเชียว

    e-Refund (Easy E-Receipt) ต่างจาก ช้อปดีมีคืน อย่างไร?

    Easy E-Receipt (e-Refund) ช้อปดีมีคืน (แบบเก่า)
    ซื้อสินค้า หรือบริการจากร้านค้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และต้องสามารถออกใบกำกับภาษี e-Tax ให้ได้เท่านั้น ซื้อสินค้า หรือบริการจากร้านค้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
    หากร้านค้าไม่จดทะเบียนภาษี จะต้องเป็นการซื้อสินค้าและบริการที่เป็นหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารทุกรูปแบบ หรือเป็นสินค้าจากโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่ลงทะเบียนกับกรมพัฒนาชุมชนแล้วเท่านั้น หากร้านค้าไม่จดทะเบียนภาษี จะต้องเป็นการซื้อสินค้าและบริการที่เป็นหนังสือ *ยกเว้นหนังสือพิมพ์ และนิตยสาร* หรือเป็นสินค้าจากโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่ลงทะเบียนกับกรมพัฒนาชุมชนแล้วเท่านั้น
    การซื้อสินค้า ทางร้านค้าจะต้องออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่ม แบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt เท่านั้น เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการขอลดหย่อนภาษี *ไม่สามารถใช้รูปแบบกระดาษได้* ทางร้านค้าจะต้องออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มเต็มรูปแบบ ได้ทั้งแบบกระดาษ และแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt
    สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 50,000 บาท สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 40,000 บาท โดย 30,000 แรกจะต้องมีใบกำกับภาษีกระดาษหรืออิเล็กทรอนิกส์ ส่วน 10,000 ที่เหลือจะต้องเป็นใบกำกับรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น
    ใช้ลดหย่อนภาษีในปีภาษี 2567 ที่จะเก็บในช่วงต้นปี 2568 เท่านั้น ใช้ลดหย่อนภาษีในปีภาษี 2566 ที่จะเก็บในช่วงต้นปี 2567 เท่านั้น

    วิธีขอใบกำกับภาษี/ใบรับอิเล็กทรอนิกส์จากร้านค้า

    • ก่อนซื้อสินค้า ให้เช็กก่อนว่าร้านค้านั้นสามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) ได้ไหม อาจเช็กก่อนช้อปด้วยตนเอง ผ่านเว็บไซต์ https://etax.rd.go.th เลือกเมนู ‘ผู้มีสิทธิจัดทำ’

    • เมื่อไปซื้อสินค้าที่หน้าร้าน แล้วได้รับใบกำกับภาษีอย่างย่อรูปแบบกระดาษ (ใบเสร็จรับเงิน) ที่เครื่องแคชเชียร์ ให้นำใบเสร็จนั้นไปขอรับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ที่จุดบริการลูกค้าที่ห้างสรรพสินค้า หรือร้านค้านั้น ๆ กำหนดไว้
    • เมื่อไปถึงจุดให้บริการ ให้แจ้งอีเมลของคุณที่ใช้สำหรับรับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ให้กับพนักงาน เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอน ร้านค้าจะส่งเอกสารใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ให้ในรูปแบบไฟล์ PDF หรืออื่น ๆ
    • สำหรับการซื้อสินค้าผ่าน Lazada/Shopee หรือช่องทางออนไลน์ ให้สังเกตร้านที่มีสัญลักษณ์ Easy E-Receipt หรือ e-Tax ก็สามารถแจ้งขอใบกำกับภาษีได้เลย โดยส่วนมากจะให้แจ้งข้อมูลที่ใช้ออกใบกำกับภาษีและอีเมล ผ่านทางช่องทางแชทของร้านค้า

    สรุปแล้ว Easy E-Receipt เป็นการปรับปรุงจากช้อปดีมีคืน โดยเพิ่มวงเงินในการลดหย่อนภาษีเป็น 50,000 บาท และขยายระยะเวลาในการเข้าร่วมมาตรการเป็น 15 กุมภาพันธ์ 2567

    นอกจากเงื่อนไขที่เปลี่ยนไปนิดหน่อย Easy E-Receipt ยังกำหนดให้ใบกำกับภาษีที่ใช้เป็นหลักฐานในการลดหย่อนภาษีต้องเป็นใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) เท่านั้น

    IAMMAI
    IAMMAI
    อย่าเรียกงก ให้เรียกระมัดระวังเรื่องการใช้จ่าย ยืนหนึ่งเรื่อง Property เพราะยืนคนเดียว ไม่มีใครยืนด้วย

    Related Post