More

    ของไหว้ พระพิฆเนศ พร้อมคาถาบูชา และวันไหว้ ประจำปี 2566

    จะเตรียม ของไหว้ พระพิฆเนศ ต้องเตรียมอะไรบ้าง ไหว้แล้วส่งผลด้านใด หรือมีอะไรที่ไม่ควรนำมาถวาย พร้อมคาถาบูชา เพื่อให้พรสัมฤทธิผล 

    อย่างที่หลายคนทราบการบูชา พระพิฆเนศ นั้น เป็นการบูชาที่ไม่ต้องมีหลักเกณฑ์อะไรมาก ของไหว้ สามารถเลือกไหว้ได้เมื่อมีโอกาส ไม่ต้องท่องบทสวดทุกวันก็คือ ยึดตามความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน จึงทำให้เป็นเทพที่มีผู้คนนับถือศรัทธา และเลือกที่จะบูชามากที่สุด

    ของไหว้ พระพิฆเนศ พร้อมคาถาบูชา และวันไหว้ ประจำปี 2566

    ของไหว้ พระพิฆเนศ

    ขนมลาดู โมทกะ ขนมที่พระพิฆเนศโปรดปรานมากที่สุด
    นมวัว ควรเป็นนมรสจืด หรือนมโคแท้ 100%
    นมเปรี้ยว โยเกิร์ต ถือเป็นกรรมวิธีถนอมอาหารที่ได้จากนมสามารถนำมาถวายได้เช่นกัน
    น้ำเปล่าสะอาด เป็นตัวกลางระหว่างมนุษย์ และเทพ รวมถึงเป็นธาตุตั้งต้นที่บริสุทธิ์
    ผลไม้สุก (กล้วย อ้อย มะพร้าว มะม่วงสุก) พระพิฆเนศไม่โปรดการคร่าชีวิตผู้อื่น จึงบำเพ็ญเพียรด้วยการทานมังสวิรัติ
    ดอกไม้สด หญ้าแพรก ส่วนใหญ่จะถวายด้วยดอกดาวเรือง ดอกบัว ดอกกุหลาบ
    ข้าวสาร 9 สี เป็นการเสริมบารมีองค์เทพ และตัวผู้บูชา
    ธัญพืช นอกจากผัก ผลไม้แล้ว ธัญพืชก็ถือเป็นอาหารมังสวิรัติ แถมยังหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ด้วย
    เนยกี ทำมาจากนมวัว ถือเป็นของบริสุทธิ์สูง เป็นน้ำปัญจอมฤต
    หนูมุสิกะ พาหนะของพระฆเนศ
    ธูป หรือกำยาน เทียน ประทีป กลิ่นหอม และควันเป็นสื่อนำให้คำอธิษฐานจิตของมนุษย์ส่งถึงเทพ
    ถวายไฟ อารตี เชื่อว่าเป็นการขจัดปัดเป่าความมืดมิดออกไปจากชีวิต
    น้ำผึ้ง ถือเป็นหนึ่งในน้ำปัญจอมฤต เป็นน้ำบริสุทธิ์

    (ไม่จำเป็นต้องจัดเตรียมของไหว้ทั้งหมดที่กล่าวมา สามารถถวายสลับกันไปได้ตามความสะดวก)

    สิ่งที่ไม่ควรนำมาถวาย

    เนื้อสัตว์ทุกชนิด, ขนมที่มีส่วนผสมของไข่ และดอกไม้ที่มีกลิ่นฉุน

    ของไหว้ พระพิฆเนศ พร้อมคาถาบูชา และวันไหว้ ประจำปี 2566

    คาถาบูชาองค์พระพิฆเนศ

    สำหรับคาถาในการบูชาองค์พระพิฆเนศนั้นมีหลายบทสวดด้วยกัน ผู้บูชาสามารถเลือกสวดบทที่ถนัด และสวดได้ 3, 5, 7 หรือ 9 รอบจบ ได้ตามสะดวก แต่ต้องพึงระลึกไว้เสมอว่าต้องทำจิตใจให้สงบก่อนสวดคาถาบูชา แล้วจึงตามด้วยการขอพรอธิษฐาน

    บทสวดหลัก (สำหรับผู้เริ่มต้นบูชา/ต้องการสวดแบบย่อ)

     “โอม ศรี คะเณศายะ นะมะหะ”

    บทสวดอัญเชิญพระพิฆเนศ (สำหรับถวายเครื่องบูชาสักการะ)

    “วักกระตุณทะ มหากายา
    สุริยาโกติ สมาปราภา
    นิรวิกนัม คุรุเมเทวะ
    สาระวะการะ เยสุ สาระวะทา”

    บทสวดพระพิฆเนศ (บทสวดที่ได้รับความนิยมในไทย)

    “โอม พระพิฆเณศวร สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ
    ทุติยัมปิ พระพิฆเณศวร สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ
    ตะติยัมปิ พระพิฆเณศวร สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ”

    บทสวดขอพรพระพิฆเนศ 8 บท (บทสวดพร้อมคำอธิษฐานภาษาไทย)

    “โอม พูตายะ นะมะหะ
    ขอพระพิฆเนศวรโปรดประทานความบริสุทธิ์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด
    โอม ภัคตะวิฆนะ วินาศิเน นะมะหะ
    ขอพระพิฆเนศวรโปรดทำลายความทุกข์ร้อนแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด
    โอม วิฆะณะราชายะ นะมะฮหะ
    ขอพระพิฆเนศวรโปรดขจัดอุปสรรคทั้งปวงอันจะเกิดแก่ชีวิตของข้าพเจ้าด้วยเถิด
    โอม ศุธิปริยายะ นะมะหะ
    ขอพระพิฆเนศวรโปรดประทานสติปัญญาในการประกอบอาชีพแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด
    โอม ศริษายะ นะมะหะ
    ขอพระพิฆเนศวรโปรดประทานทรัพย์สมบัติและความอุดมสมบูรณ์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด
    โอม สธิรายะ นะมะหะ
    ขอพระพิฆเนศวรโปรดประทานความมั่นคงแก่ชีวิตข้าพเจ้าด้วยเถิด
    โอม สมาหิตายะ นะมะหะ
    ขอพระพิฆเนศวรโปรดประทานสุขภาพพลานามัยที่ดีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด
    โอม สมุยายะ นะมะหะ
    ขอพระพิฆเนศวรโปรดประทานความสงบสุขแก่ชีวิตข้าพเจ้าด้วยเถิด”

    ซึ่งโดยปกตินิยมถวาย ของไหว้ ในวันประสูติขององค์พระพิฆเนศ หรือที่เรียกกันว่า “วันคเณศชยันตี” ขึ้น 4 ค่ำ เดือนมาฆะ ตามปฏิทินฮินดู 

    ของไหว้ พระพิฆเนศ พร้อมคาถาบูชา และวันไหว้ ประจำปี 2566

    วันสังกัษฏี คเณศจตุรถี (วันคล้ายวันเกิดขององค์พระพิฆเนศ) จะมีทุกเดือน อ้างอิงจาก ปฏิทินวัดแขกสีลม

    วันอังคารที่ 10 มกราคม 2566
    วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566
    วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม 2566
    วันอาทิตย์ที่ 9 เมษายน  2566
    วันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม 2566
    วันพุธที่ 7 มิถุนายน 2566
    วันพฤหัสบดีที่ 6 กรกฎาคม 2566
    วันเสาร์ที่ 5 สิงหาคม 2566
    วันจันทร์ที่ 4 กันยายน 2566
    วันอังคารที่ 19 กันยายน 2566 วันประสูติองค์พระพิฆเนศวร (Vinayagar Charthurthi)
    วันอังคารที่ 3 ตุลาคม 2566
    วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤศจิกายน 2566
    วันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม 2566

    สามารถไหว้ขอพรพระพิฆเนศได้ตาม จุดไหว้ ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล อยู่หลายแห่ง ส่วนการบูชาพระพิฆเนศนั้นส่วนใหญ่จะเลือกบูชาตามด้านการงานสายอาชีพที่ทำ หรือเลือกตาม ปางที่คนไทยนิยมบูชา ก็ได้ 

    ถ้าชอบความมินิมอล ลองดู ร้านบูชาองค์พระพิฆเนศสายมูนิมอล ได้ตามนี้เลยค่ะ แต่จริง ๆ สำหรับใครที่ยังไม่พร้อมบูชาไว้ที่บ้านก็เพียงแค่ ตั้งจิตระลึกถึงองค์พระพิฆเนศด้วยความศรัทธาจากใจจริง ตั้งใจสวดมนต์ภาวนาก็สัมฤทธิผลได้เช่นกัน

    _____

    ติดตาม Inzpy ได้ที่
    Website:
    https://inzpy.com/travel/
    Youtube:
    https://www.youtube.com/c/Inzpy
    Facebook:
    https://www.facebook.com/inzpyth

    Related Post