More

    เสริมความเฮง ด้วยบอนสีราชินีไม้มงคลต้องมีอยู่ในบ้าน

    เสริมความเฮง ด้วยบอนสีราชินีไม้มงคลต้องมีอยู่ในบ้าน

    เสริมความเฮง ด้วยบอนสีราชินีไม้มงคลต้องมีอยู่ในบ้าน ความสวยงามของ “บอนสี” กลายเป็นไม้ประดับตกแต่งบ้านที่หลาย ๆ บ้านต้องมี ด้วยสีสันอันสวยงามของใบที่เด่นชัดเป็นเอกลักษณ์สุด ๆ กลายเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งคนนิยมเอามาปลูก และ เพาะพันธุ์ขยายหารายได้เพิ่มเสริม วันนี้ Inzpy ได้นำต้นบอนสีมาแนะนำเพื่อน ๆ รู้จักกันว่ามีสายพันธุ์อะไรกันบ้าง ไปดูกันเลย…

    เสริมความเฮง

    ลักษณะ บอนสีทั่วไป

    บอนสี เป็นพืชในตระกูล Caladium มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศในแถบเขตร้อน เช่น อเมริกาใต้ อินเดีย และอินโดนีเซีย ว่ากันว่าบอนสีเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในอดีตเรียกกันว่า ‘บอนฝรั่ง’ ลักษณะทั่วไปของบอนสี คือ เป็นไม้ประดับล้มลุก มีหัวสะสมอาหารอยู่ใต้ดินคล้ายมันฝรั่ง อวบน้ำ ใบแตกเป็นกอ มีหลายขนาด และหลายรูปแบบ ใบบอนสีแต่ละแบบจะมีสีสัน และลวดลายแตกต่างกันออกไป บอนสีเป็นพืชที่ชอบความชื้น และ แสงแดดแบบรำไร เติบโตได้ดีในอุณหภูมิประมาณ 21-35 องศาเซลเซียส

    วิธีการปลูกบอนสี

    การปลูกบอนสีนิยมปลูกในกระถาง โดยเฉพาะในกระถางดินเผา เพราะสามารถควบคุมความชื้นในดินได้ง่ายกว่าการปลูกลงดิน สำหรับการปลูกต้องกลบดินให้มิดบริเวณหัวบอน หรือฝังหัวบอนลงดินให้ลึกราว ๆ 3 เซนติเมตร หากต้องการให้บอนสีแตกพุ่ม ออกมาสวย ๆ อาจหาไม้ค้ำใบบอนเอาไว้ และหมั่นเช็ดใบบอนให้สะอาด จะช่วยให้ใบมีสีสดใสอยู่ตลอดเวลา ดินสำหรับปลูกบอนสี ควรเป็นดินที่อุ้มน้ำได้ แต่ก็ต้องร่วนซุยพอมีช่องว่างให้อากาศระบายได้ เพื่อเติมออกซิเจนในดิน ช่วยไม่ให้ราก และหัวบอนสีเน่า เช่น ดินผสมกากมะพร้าว และการรดน้ำ ควรรดให้ชุ่มวันละครั้งตอนเช้า ไม่ควรรดที่โคนต้นโดยตรง เพราะอาจทำให้โคนหักได้ กระถางควรมีจานรองเพื่อกักน้ำเอาไว้ไม่ให้แห้ง เนื่องจากบอนเป็นไม้ที่ชอบความชื้น และต้องการน้ำมากพอสมควร

    เสริมความเฮง

    บอนสีมีทั้งหมด มีกี่ประเภท…

    บอนใบไทย ลักษณะใบเป็นรูปหัวใจ หูใบแบบยาว ปลายใบมีลักษณะแหลมเว้าลึกเกือบถึงสะดือ (ส่วนปลายก้านใบที่จรดกับเส้นกลางใบ) ก้านใบอยู่กึ่งกลางใบ มีทั้งปลายใบแหลมและปลายใบมนขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ใบแผ่กว้าง มีขนาดใหญ่ สีสันสวยงาม ใบดก และไม่ทิ้งใบ เช่น สายพันธุ์เทพทรงศีล ภูพิงค์ พลายชุมพล

    บอนใบกลม ใบลักษณะค่อนข้างกลม หรือ มนแล้วมีติ่งแหลม สายพันธุ์บอนสีที่พัฒนามาจากบอนใบไทย ลักษณะใบกลมหรือรี หูใบสั้น ปลายใบมน และก้านใบกลมอยู่กึ่งกลางใบ คล้ายกับใบบัว เช่น สายพันธุ์รัตนาธิเบศร์ เมืองอุบล

    บอนใบยาว ลักษณะใบทรงหัวใจคล้ายกับบอนใบไทยเช่นเดียวกัน แต่แตกต่างกันที่ใบของบอนสีใบยาวจะเรียวยาว และ มีปลายใบแหลมกว่า หูใบยาวฉีกถึงสะดือ และสามารถแยกได้อีก 3 ลักษณะย่อยคือ บอนใบยาวธรรมดา บอนใบยาวรูปหอก และบอนใบยาวรูปใบไผ่ เช่น สายพันธุ์ดอนเจดีย์ เทพธิดา เจ้าหญิง

    บอนใบกาบ ลักษณะคล้ายกับบอนใบไทย แต่บอนใบกาบจะมีก้านใบที่แผ่แบนตั้งแต่โคนใบไปถึงแข้ง (ใบขนาดเล็กที่ยื่นออกจากกาบใบ อยู่กึ่งกลางของก้านหรือต่ำกว่าใบจริงเล็กน้อย) เช่น สายพันธุ์รัชมงคล ฤาษีมงคล เทพพิทักษ์

    เสริมความเฮง

     

    นอกจากแบ่งตามประเภทใบแล้ว ยังสามารถจำแนกบอนสีออกได้ตามสีสันบนใบบอน ได้แก่

    บอนไม่กัดสี คือบอนที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสีของใบ ว่าง่าย ๆ คือใบอ่อนสีไหน ใบโตเต็มวัยก็จะมีสีเดียวกัน หรือเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เช่น สายพันธุ์นายจันหนวดเขี้ยว หรือ บอนสีตับวีรชน

    บอนกัดสี คือบอนที่มีการเปลี่ยนแปลงสีสันบนใบ สีสันของใบจะเปลี่ยนเมื่อบอนโตเต็มวัย เช่น ใบอ่อนมีสีเขียว เมื่อโตเต็มที่ใบจะเปลี่ยนเป็นสีแดง หรือชมพู หรือมีจุดสีแต้มอยู่ที่ใบ

    บอนป้าย คือบอนที่มีแถบสีแดงพาดอยู่บนพื้นใบสีเขียว เช่น สายพันธุ์อัปสรสวรรค์

    บอนด่าง คือบอนที่มีด่างสีขาวอมเขียว ด่างสีขาวอมแดง หรือด่างเหลือง อยู่บนพื้นใบสีเขียว

    ทั้งหมดนี้ก็คือวิธีการการดูแล ‘บอนสีราชินีต้นไม้ ไม้ประดับที่มีความสวยงาม ที่หลายคนต่างอยากจะได้มาครอบครอบ วันนี้เราก็ได้นำวิธีการดูแล วิธีการปลูกบอนสีให้เพื่อน ๆ ได้พอเป็นไอเดียเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้กับคนรักบ้าน และ สวนได้บ้างน้า… แต่หากเพื่อน ๆ คนไหนอยากจะปลูกเพื่อเสริมรายได้ก็ลองศึกษาข้อมูลดูอีกทีก็ได้จ้า

    Related Post