More

    มกราาาาาาา เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ว่าทำไม เดือนมกราคมนานจัง

    พฤศจิกา ธันวา มกราาาาาาาาาา เดือนนี้มี 31 วันแน่นะ ฉันรู้สึกเหมือนมี 150 วัน! ทำไมสมองถึงรู้สึกว่า เดือนมกราคมนานจัง? รู้ไหม สาเหตุนี้เกิดขึ้นจากหลายปัจจัย ทั้งในเชิงวิทยาศาสตร์และเชิงจิตวิทยา

    ทำไม เดือนมกราคมนานจัง

    เหตุผลทางวิทยาศาสตร์

    ปัจจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ส่งผลต่อความรู้สึกว่าเดือนมกราคมยาวนานนั้น ได้แก่

    ปริมาณสารโดปามีน

    ปัจจัยทางชีววิทยานั้นเกี่ยวข้องกับการหลั่งสารโดปามีนในสมอง สารโดปามีนเป็นสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับความคาดหวังและความพึงพอใจ เมื่อเรามีความคาดหวังหรือความพึงพอใจสูง จะทำให้เรารู้สึกว่าเวลาผ่านไปเร็วขึ้น

    ในทางกลับกัน เมื่อเรามีความคาดหวังหรือความพึงพอใจต่ำ จะทำให้เรารู้สึกว่าเวลาผ่านไปช้าลง

    เมื่อสิ้นสุดช่วงวันหยุดยาว กิจกรรมต่าง ๆ ก็กลับเข้าสู่ภาวะปกติ สมองก็หลั่งโดปามีนออกมาน้อยลง ส่งผลให้เรารู้สึกเบื่อหน่ายและขาดแรงบันดาลใจ ทำให้เรารู้สึกว่าเวลาผ่านไปอย่างช้า ๆ และยาวนาน

    เหตุผลทางจิตวิทยา

    1. อารมณ์และความรู้สึก

    ในเดือนมกราคม ผู้คนมักจะรู้สึกเหนื่อยล้าหลังจากสิ้นสุดช่วงวันหยุดยาว

    หลายคนอาจรู้สึกเศร้าหรือเหงาเพราะต้องกลับเข้าสู่โลกแห่งความเป็นจริงอีกครั้ง ความรู้สึกเหล่านี้ล้วนส่งผลให้เรารู้สึกว่าเวลาผ่านไปอย่างช้า ๆ และยาวนาน

    1. ความคาดหวัง ในเดือนมกราคม

    ปัจจัยทางสังคมก็มีส่วนทำให้รู้สึกได้ว่าเดือนมกราคมยาวนานขึ้นเช่นกัน ในช่วงเดือนมกราคม หลายคนมักมีภาระหน้าที่มากขึ้น เช่น การเริ่มต้นทำงานใหม่ การกลับไปเรียนหนังสือ การวางแผนทำงานและเรียนต่อในปีใหม่ เป็นต้น ภาระหน้าที่เหล่านี้อาจทำให้รู้สึกเครียด กดดัน และเหนื่อยล้า ส่งผลให้รู้สึกได้ว่าเวลาผ่านไปช้าลง

    หลายคนมักจะตั้งเป้าหมายและคาดหวังกับสิ่งใหม่ ๆ มากมาย แต่เมื่อถึงเวลาที่ต้องลงมือทำจริง หลายคนอาจพบว่าเป้าหมายเหล่านั้นยากเกินกว่าจะทำสำเร็จ ส่งผลให้เกิดความเครียดและความท้อแท้ ส่งผลให้รู้สึกเหมือนเวลาผ่านไปช้าลง

    3. ใช้เงินเดือนของเดือนมกราคมหมดแล้ว!

    เงินเดือนมกราคมหมดตั้งแต่ธันวาคมที่แล้ว! เนื่องจากสิ้นปีเราต้องมีการให้ของขวัญ นัดสังสรรค์ ปาร์ตี้ เที่ยวพักผ่อน ฯลฯ ทำให้หลายคนมีเกณฑ์ใช้เงินเยอะตั้งแต่สิ้นเดือนธันวาคมที่แล้ว เป็นผลให้เดือนมกราคมต้องทนจำกัดจำเขี่ย สิ้นเดือนเหมือนสิ้นใจนั่นเอง

    โอ๊ย…เมื่อไหร่จะหมดมกราคมนะ เงินเดือนจะได้ออก

    ดังนั้น ความรู้สึกว่า เดือนมกราคมนานจัง เป็นผลมาจากปัจจัยทั้งทางวิทยาศาสตร์และเชิงจิตวิทยาร่วมกัน เราสามารถลดความรู้สึกนี้ได้โดยพยายามสร้างสิ่งใหม่ ๆ ให้กับตัวเอง เช่น ตั้งเป้าหมายที่ท้าทายแต่สามารถทำได้จริง

    หากิจกรรมใหม่ ๆ ที่ทำแล้วมีความสุข ออกกำลังกายเป็นประจำ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

    สุดท้ายนี้ฝากติดตามเพจ inzpy.com เพื่อรับข่าวสารดี ๆ ไอเดีย และแรงบันดาลกันนะคะ


    บทความน่าสนใจ

    IAMMAI
    IAMMAI
    อย่าเรียกงก ให้เรียกระมัดระวังเรื่องการใช้จ่าย ยืนหนึ่งเรื่อง Property เพราะยืนคนเดียว ไม่มีใครยืนด้วย

    Related Post