More

    สำรวจโครงสร้าง วัดอรุณฯ กับสถาปัตยกรรมแห่งกรุงรัตนาโกสินทร์

    ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับความนิยมในการท่องเที่ยวจากต่างชาติ แลนด์มาร์คนึงอย่าง วัดอรุณฯ หรือชื่อเต็ม วัดอรุณราชวราราม ก็เป็นมุดหมายหนึ่งของนักท่องเที่ยว

    ที่มาของชื่อที่มาการเปลี่ยนถึง 4 ครั้ง

    สำรวจโครงสร้าง วัดอรุณฯ กับสถาปัตยกรรมแห่งกรุงรัตนาโกสินทร์

    เดิมวัดอรุณฯ ชาวบ้านเรียกว่า วัดมะกอกนอก ต่อมาหลังจากอยุธยาเสียกรุงครั้งที่ 2 เสียหายนักมาก พระเจ้าตากสินได้สถาปนากรุงธนบุรีได้โปรดบูรณะวัดแจ้ง ที่ถูกเปลี่ยนชื่อเดิมเพราะเสด็จตามลำน้ำเจ้าพระยาจนถึงวัดมะกอกนอกในเวลารุ่งแจ้ง เพื่อไปนมัสการพระปรางค์ภายในวัด และถูกพระราขทานชื่อใหม่ในรัชกาลที่ 2 ว่า วัดอรุณราชธาราม จนถึงรัชกาลที่ 4 เป็น วันอรุณราชวราราม ที่หมายถึง วัดแห่งรุ่งอรุณ The Temple of Dawn

    จุดรวมของศิลปะชั้นเอกของต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ผสมผสานอย่างหลากหลายทั้ง ไทย จีนและเทศ

    สำรวจโครงสร้าง วัดอรุณฯ กับสถาปัตยกรรมแห่งกรุงรัตนาโกสินทร์

    ลักษณะของพระปรางศ์ เป็นได้รับอิทธิพลขอมของอยุธยา ต้วยความที่มีฐานกว้าง ค่อยเรียวเล็กไปจนถึงยอดแบบ “ทรงจอมแห” ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสี เปลือกหอย เครื่องถ้วยชามเบญจรงศ์ที่นำเข้ามาจากประเทศจีน รวมถึงลวดลายดอกไม้แลัใบไม้ที่เป็นเอกลักษณ์ของศิลปะสมัยรัชการที่ 3 

    สำรวจโครงสร้าง วัดอรุณฯ กับสถาปัตยกรรมแห่งกรุงรัตนาโกสินทร์
    ที่มาภาพ : หนังสือ แบบสำรวจรังวัดสถาปัตยกรรมวัดอรุณราชวราราม เป็นหนังสือเล่มล่าสุดในชุด “อัศจรรย์วัดอรุณ”

    หนังสือ แบบสำรวจรังวัดสถาปัตยกรรมวัดอรุณราชวราราม เป็นหนังสือเล่มล่าสุดในชุด “อัศจรรย์วัดอรุณ” การสร้างนำเรื่องราวไตรภูมิมาจำลองไว้ในสถาปัตยกรรม ตัวรั้วเปรียบเสมือนกำแพงของจักรวาล พื้นลานกว้างเป็นท้องทะเลสีสันทร กลางทะเลมีเขาพระสุเมรุนั่นก็คือองค์พระปรางค์

    • ภาพด้านข้างของตัว พระปรางศ์
    •  รอบข้างเป็นปรางค์ 4 ทิศ แทนที่ 4 ทวีป บริเวณฐานประดับด้วยสัตว์หิมพานต์ ขึ้นไปส่วนยอด ที่เป็นที่ตั้งของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในไตรภูมิประดับด้วยนภกุล อาวุธของพระอินทร์เป็นฝัก 9 แฉก เหนือเป็นมงกุฎซึ่งรัชกาลที่ 3 นำมาจากเศียรของพระประธานในโบสถ์วัดนางนอน ย่านบางขุนเทียนมีการบูรณะหลายครั้งในช่วงรัชกาลที่ 1- 5 โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 2 ที่โปรดเกล้าให้บูรณะความสูงจากเดิม 16 เมตร เป็น 81 เมตร เพื่อให้เป็นพระธาตุประจำพระนคร แต่ก่อสร้างเสร็จช่วงรัชกาลที่ 3 เป็นรูปแบบศิลปะแบบ ศิลปะพระราชนิยม 

     

    สำรวจโครงสร้าง วัดอรุณฯ กับสถาปัตยกรรมแห่งกรุงรัตนาโกสินทร์
    ที่มาภาพ : https://www.facebook.com/UnseenThailand/posts/1902789979733405/?locale=th_TH

    อีกสิ่งหนึ่งที่ถือว่าเป็นตำนานคือ ยักษ์วัดแจ้งฝั่งธนบุรี(สีขาว) และ ยักษ์วัดโพธิ์พระนคร(สีเขียว) ว่ากันว่าเดิมยักษ์ทั้งสองเป็นเพื่อนรักกันแต่ผิดใจเพราะยักษ์วัดโพธิ์ข้ามฝั่งมายืมเงินวัดยักษ์แจ้งแล้วไม่คืน จึงทำให้เกิดการทะเลาะกันบริเวณพระนครเรียบเตียน เป็นที่มาของชื่อ “ท่าเตียน” ในปัจจุบัน

    ถือว่าเป็นตำนานเล่าขานสนุก ๆ ของคนยุคก่อนแต่กลายเป็นประวัติศาสตร์ของคนรุ่นใหม่ หากใครได้ไปวัดแห่งนี้ก็อย่าถ่ายรูปเพลิน เพราะมีศิลปะและสถาปัตยกรรมสวยทางประวัติศาสตร์ให้ไปชื่นชมกันค่ะ

    ที่มา : หนังสือ แบบสำรวจรังวัดสถาปัตยกรรมวัดอรุณราชวราราม ราคาเล่มละ 5,000 บาท, จำหน่ายช่องทางออนไลน์  www.asiabooks.com www.chulabook.com และ www.naiin.com นิตยสารสารคดี ฉบับมีนาคม 2538 และ ฉบับเดือนตุลาคม 2553

    benz
    benz
    ชอบส่องงานดีไซน์ ตกแต่งบ้าน ขับเคลื่อนชีวิตด้วย น้ำหวาน!

    Related Post