ไม่ว่าคู่รักแบบไหน จะเป็น ญ-ช ช-ช ญ-ญ หรือไม่ ก็ย่อมอยากวาดอนาคตกับคนรักด้วยกันทั้งนั้น ในยุคปัจจุบันที่เปิดกว้างเรื่องความหลากหลายทางเพศ ก็เริ่มมีข่าวดีเพื่อความเท่าเทียมกันแล้ว Inzpy จะมาแชร์ เทคนิคการ กู้ร่วม สำหรับคู่รัก LGBTQ+ และเปิดโพย 5 ธนาคารที่ให้กู้ “สินเชื่อบ้าน” สำหรับคู่รักสีรุ้งกัน
กู้ร่วม คืออะไร?
กู้ร่วม คือ การเป็นหนี้กันคนละครึ่ง ผู้กู้ร่วมจะต้องช่วยกันชำระหนี้ตามกำหนดจนครบ เหมาะสำหรับการที่ตัวผู้กู้มีรายได้ที่ไม่เพียงพอ หรือมีภาระค่าใช้จ่ายอย่างอื่นอยู่ แต่ต้องการซื้อบ้านหรือคอนโด เพื่อให้กู้ผ่านจึงจะต้องนำผู้อื่นมากู้ร่วมด้วย
ข้อควรรู้ ก่อนคู่รัก LGBTQ+ กู้ร่วม “สินเชื่อบ้าน”
-
เช็กธนาคารที่ให้กู้สินเชื่อบ้านสำหรับคู่รัก LGBTQ
ตรวจสอบรายชื่อธนาคารที่ให้ LGBTQ กู้ร่วม และเปรียบเทียบข้อเสนอและโปรโมชันสินเชื่อบ้านก่อนตัดสินใจ ศึกษาแผนสำรองอื่นๆ สำหรับการยื่นกู้สินเชื่อไว้ด้วยนะ
-
เตรียมความพร้อมก่อนยื่น “กู้ร่วม” สินเชื่อบ้าน
- ความพร้อมของสถานะทางการเงิน และอย่าลืมว่าธนาคารพิจารณาจากเงินเดือนหรือรายรับ/ภาระหนี้ และอายุขั้นต่ำ ด้วย ควรวางแผนไว้แต่เนิ่น ๆ เพื่อให้กู้สินเชื่อง่ายขึ้น
- เตรียมเอกสารที่ใช้ในการขอกู้สินเชื่อบ้าน สำหรับคู่รัก LGBTQ เช่น เอกสารส่วนตัว เอกสารทางการเงิน เอกสารหลักทรัพย์ ฯลฯ
-
รวบรวมหลักฐานแสดงสถานะความเป็นคู่รัก
แม้ไม่มีทะเบียนสมรส เราก็มีหลักฐานแสดงความสัมพันธ์ได้นะ เช่น
- บัญชีเงินฝากที่เปิดร่วมกัน
- เอกสารกู้ร่วมซื้อรถยนต์ร่วมกัน (หากมี)
- รูปภาพที่ยืนยันว่าเป็นคู่รักกันจริงๆ เช่น รูปแต่งงาน
- ทะเบียนบ้านที่อยู่ด้วยกัน
- เอกสารที่มีการเซ็นรับรองว่าอยู่ร่วมกัน
- เอกสารอื่นๆ ที่ยืนยันว่าทำธุรกิจร่วมกัน
โดยต้องเป็นเอกสารที่ระบุระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี และต้องระบุในใบสมัครกู้สินเชื่อบ้านว่า ผู้กู้ร่วมมีความสัมพันธ์เป็น “คู่รัก” กับผู้กู้หลัก ให้ชัดเจนด้วย
-
เตรียมทางออกเพื่อรับมือในวันที่คู่รักกลายเป็นอดีต
ไม่ใช่ไม่เชื่อใจ แต่อะไร ๆ ก็ไม่แน่นอน ไม่ว่าจะเหตุผลใดก็ตามที่ทำให้คุณสองคนผ่อนด้วยกันต่อไม่ได้ แม้ในวันที่ความรักไม่ได้ไปต่อ เราก็ต้องมีสภาพคล่องทางการเงินต่อไปอยู่ดี ลองมาดูทางออกเป็นกรณีไปนะคะ
ต้องการผ่อนต่อคนเดียว : ต้องให้ผู้กู้ร่วมอีกฝ่ายเซ็นยินยอม และผู้ที่กู้ต่อต้องผ่านการ จึงสามารถผ่อนต่อคนเดียวได้ และจะได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวเมื่อผ่อนครบ
ต้องการผ่อนต่อคนเดียว แต่ไม่ผ่านการประเมินจากธนาคาร : ใช้วิธีรีไฟแนนซ์ โดยเปลี่ยนชื่อผู้กู้ร่วมให้เป็นชื่อคนในครอบครัวแทน
แบกผ่อนต่อคนเดียวจนครบ โดยไม่ได้รีไฟแนนซ์ ไม่ได้คุยกับธนาคาร : ระวัง ถ้าทำแบบนี้จนผ่อนครบแล้ว กรรมสิทธิ์จะกลายเป็นของทั้ง 2 คนที่กู้ร่วมกันแต่แรก
ถ้าอีกฝ่ายก็ไม่ยอมเสียสิทธิ ตกลงกันไม่ได้ จนผู้ที่ผ่อนต่อจนหมดต้องมีการจ้างทนายฟ้องร้องถอนชื่ออีกฝ่ายออกตามกฎหมาย
ไม่สามารถผ่อนต่อได้ทั้งคู่ หรือไม่ต้องการเก็บสินทรัพย์นั้นไว้ : อาจต้องขายทรัพย์สินนั้นทิ้งไป
ทำประกันความเสี่ยงสินเชื่อบ้านไว้ : หากผ่อนต่อไม่ไหว บริษัทประกันจะช่วยจ่ายเงินกู้ที่ค้างให้กับคุณ ถ้าเหลือส่วนต่างก็สามารถมอบให้ผู้รับผลประโยชน์ที่ระบุไว้ตอนทำประกันได้อีก (บรรทัดนี้ สปอนเซอร์ต้องเข้าแล้วล่ะ อิอิ)
5 ธนาคารที่ให้ คู่รัก LGBTQ+ กู้ร่วมได้แล้ว (อัปเดต ต.ค. 2565)
ธนาคาร |
เงินเดือนขั้นต่ำ | อายุขั้นต่ำ |
วงเงินที่อนุมัติสูงสุด* |
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา |
50,000 |
30 ปีขึ้นไป และไม่เกิน 65 ปี | ไม่ระบุ |
ธนาคารไทยพาณิชย์ |
ไม่ระบุ |
20 ปีขึ้นไป | 100%* ของราคาประเมินหลักประกัน |
ธนาคารกสิกรไทย |
15,000 |
20 ปีขึ้นไป | ไม่เกิน 90% ของราคาซื้อขาย |
ธนาคารยูโอบี |
20,000 |
21 ปี รวมระยะเวลากู้ | – บ้านใหม่ 95-100% – บ้านมือสอง สูงสุด 95-100% – ก่อสร้างบ้าน สูงสุด 85% |
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด |
ไม่ระบุ |
20 ปีขึ้นไป | ไม่ระบุ |
ข้อมูล 5 ธนาคารข้างต้นนี้เป็นเพียงการสำรวจข้อมูลเบื้องต้น ใครที่สนใจจะ ‘กู้ร่วม’ ลองติดต่อสอบถามธนาคารอีกครั้ง เพราะแต่ละธนาคารจะมีเงื่อนไข โปรโมชั่น และการขอเอกสารที่แตกต่างกันไป ขอให้ทุกคนโชคดี และเริ่มต้นชีวิตคู่ได้อย่างแฮปปี้นะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง
- เครดิตบูโร สำคัญไฉน… เมื่อกู้ซื้อบ้าน?
- มีเงิน 5 แสนก็ซื้อ “บ้านราคาถูก” ได้ พร้อมวิธีลงทุนอสังหาฯ ฉบับคนงบน้อย
- AP Thai: จัดแคมเปญ มาซื้อบ้านเราป่าว?
- Update: อัตราดอกเบี้ย สินเชื่อบ้าน-คอนโด สิงหาคม 2565
ขอขอบคุณข้อมูลจาก grandunity.co.th, Facebook Houseandcondoshow – มหกรรมบ้านและคอนโด, checkraka.com