เรียกว่ากระแสภาคแรกได้การตอบรับเป็นอย่างดีกับภาพยนตร์ Animation ของดิสนีย์อย่าง Inside Out ชื่อภาษาไทย “มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง” นับว่าเป็นงานชิ้นโบว์แดงจากค่าย Pixar
ที่ได้ออกฉายไปในปี 2558 ถึงแม้ผ่านมาหลายปีแล้ว เชื่อว่าภาพยนตร์ Animation เรื่องนี้ยังคงครองใจ และกลายเป็นเรื่องโปรดของใครหลาย ๆ คน เนื่องจากภาพยนตร์ได้หยิบเอาเรื่องของอารมณ์และการทำงานของสมอง มาเล่าได้อย่างลึกซึ้งและเข้าใจง่าย
ต่อมา Disney ได้ประกาศเปิดโปรเจกต์สร้าง Inside Out ภาคต่อ ผู้กำกับอย่าง Pete Doctor ได้ออกมาเผยความคืบหน้า เกี่ยวกับแผนการขยายจักรวาลอารมณ์อลเวงเอาไว้ว่าในภาคต่อนี้ จะมีการพูดถึงอารมณ์อื่น ๆ เพิ่มมากขึ้นมากกว่าภาคแรกที่มีเพียง 5 อารมณ์ จากทั้งหมด 27 อารมณ์ที่พวกเขาค้นพบผ่านการวิจัย
ซึ่งภาค 2 จะถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางขึ้น โดยภาคนี้ได้ Kelsey Mann รับหน้าที่กำกับ และ Meg LeFauve จากภาคแรกรับหน้าที่เขียนบทเหมือนเดิม โดยมีกำหนดฉายในปี 2024
เรื่องย่อ (ภาคแรก)
จะเล่าเรื่องราวของ “ไรลีย์” เด็กหญิงวัย 11 ขวบ ที่เติบโตมาในชีวิตแบบตะวันตกตอนกลาง เธอต้องย้ายบ้านตามพ่อแม่มายังเมืองซานฟรานซิสโก ซึ่งเป็นสถานที่ที่เธอไม่คุ้นเคย การเริ่มต้นชีวิตใหม่ของเธอจึงเป็นเรื่องแปลกใหม่ ไรลีย์ต้องปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างออกไป และต้องเผชิญกับอารมณ์มากมายที่เข้ามาในช่วงวัยของเธอ หลังจากการเปลี่ยนแปลงชีวิตครั้งนี้ของไรลีย์
นำมาซึ่งการแสดงออกทางอารมณ์ต่าง ๆ ทั้ง 5 อารมณ์ ได้แก่ ความสุข (Joy) ความกลัว (Fear) ความโกรธ (Anger) ความน่ารังเกียจ (Disgust) และความเศร้า (Sadness) อารมณ์ทั้งหมดล้วนภายใต้การควบคุมจิตใจของ “ไรลีย์” ที่เธอต้องควบคุมมัน
ตัวละคร
Joy ผู้คอยควบคุมอารมณ์พื้นฐานของไรลีย์ เป้าหมาย คือการดูแลริลีย์ ให้มีความสุข
Anger อารมณ์โกรธ คอยทวงความเป็นธรรมให้กับไรลีย์
Fear อารมณ์กลัว คอยให้ริลีย์รู้จักระวังอันตรายที่จะเกิดขึ้น
Disgust อารมณ์ขยะแขยง ที่ช่วยป้องกันริลีย์ออกจากสิ่งที่เป็นพิษต่อร่างกาย
Sadness อารมณ์ความเศร้า เป็นตัวละครเพียงตัวเดียวที่มีการออกแบบที่ซับซ้อนมาก ๆ เนื่องจาก Sadness เป็นอารมณ์ความเศร้า แต่เป็นตัวละครที่มักจะมีความคิดและข้อคิดดี ๆ มาซัพพอร์ตไรลีย์ให้รู้สึกดีขึ้นตลอดเวลา
ตารางบอกอารมณ์
สิ่งที่ได้จากการดู (ส่วนบุคคล)
1.การที่เรามีมุมอ่อนแอไม่ใช่เรื่องที่แย่เสียทั้งหมด
2.บางครั้งเราไม่จำเป็นต้องรู้สึกผิดเวลาที่ตัวเองโกรธ เพราะความโกรธบางทีก็ไม่ใช่เรื่องแย่เสมอไปเสียหมด บางครั้งมันอาจจะเป็นกลไกทางอารมณ์ที่ช่วยป้องกันเรา จากการโดนเอารัดเอาเปรียบในชีวิตก็ได้
3.การมีความุขไม่ใช่การร่าเริงอยู่เสมอ
4.การเปลี่ยนแปลงคือเรื่องธรรมชาติที่ไม่อาจควบคุมได้
ข้อมูล : https://movies.disney.co.th/inside-out/emotions
ติดตาม Inzpy ได้ที่
Website: https://inzpy.com/
Youtube: https://www.youtube.com/c/Inzpy
Facebook: https://www.facebook.com/inzpyth