More
    spot_img

    นอนน้อย แต่อาจได้โรคแถมมาเยอะ

    ปกติแล้วการนอนหลับที่มีประสิทธิภาพคือการนอนให้ครบ 6-8 ชม.ต่อวัน แต่ใครที่มีไลฟ์สไตล์ ”นอนน้อยแต่นอนนะ” ต้องระวังเอาไว้ให้ดี เพราะภาวะที่ร่างกายนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ จะส่งผลต่ออารมณ์หรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งการนอนน้อยไม่ใช่แค่ทำให้ง่วงเท่านั้น แต่การนอนน้อยยังส่งผลเสียต่อสุขภาพเป็นอย่างมากและเป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ ที่จะตามมา

    แบบไหนถึงเรียก นอนน้อย

    นอนน้อย คือ การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ โดยระยะเวลาการนอนที่เหมาะสมจะแตกต่างกันในแต่ละช่วงวัย ดังนี้

    • เด็กแรกเกิด ควรนอนหลับวันละ 20 ชั่วโมง
    • ขวบปีแรก ควรนอนหลับวันละ 12 ชั่วโมง
    • วัยเรียน ควรนอนหลับวันละ 9-11 ชั่วโมง
    • อายุ 18-25 ปี ควรนอนหลับวันละ 7-9 ชั่วโมง
    • อายุ 26-64 ปี ควรนอนหลับวันละ 7-9 ชั่วโมง
    • วัย 65 ปีขึ้นไป ควรนอนหลับวันละ 7-8 ชั่วโมง

    นอนน้อย

    ปัญหาที่ทำให้เกิดการนอนน้อย

    สาเหตุของการทำให้นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ

    1. การนอนน้อยจากการนอนไม่หลับ
    2. การทำงาน, การอ่านหนังสือสอบ, การสังสรรค์
    3. สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่น มีแสงสว่างมากเกินไป หรือมีเสียงดังเกินไป
    4. ผลกระทบจากยาและแอลกอฮอล์
    5. เจ็ตแล็ก (Jet lag)

    และเมื่อนอนพักผ่อนไม่เพียงพอสะสมนานวันเข้าก็จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย ไม่ว่าจะตื่นสาย, กลิ่นตัวแรง, ความเครียด, หงุดหงิดง่าย และสุดท้ายก็คืออาการนอนไม่หลับเรื้อรัง เพราะร่างกายและสมองชินต่อการนอนดึก จนทำให้เกิดปัญหาสุขภาพด้านอื่นตามมา

    นอนน้อยได้โรคอะไรบ้าง?

      • โรคมะเร็งลำไส้ โรคที่มักเกิดกับคนที่มีไลฟ์สไตล์ นอนดึกแต่ต้องตื่นเช้าไปทำงานหรือไปเรียน ไม่ทานอาหารเช้าหรือทานแต่อาหารไม่มีประโยชน์ ไม่ออกกำลังกาย จนทำให้เกิดความเสื่อมของระบบภายในโดยเฉพาะลำไส้ จนกลายเป็นลำไส้อักเสบและลุกลามจนกลายเป็นมะเร็งลำไส้ไปในทึ่สุด จะเห็นได้ว่าจุดเริ่มต้นของโรคนี้นั่นคือการนอนดึกนั่นเอง
      • โรคหัวใจ ร่างกายจะหลั่งสารโปรตีนขึ้นในหัวใจเมื่อเวลาเราตื่นโดยธรรมชาติ หากไม่ได้นอนหรือนอนดึก ร่างกายจะผลิตโปรตีนออกมาซ้ำ ๆ จนโปรตีนเหล่านั้นจะเข้าไปเกาะที่หลอดเลือดหัวใจ ทำให้หลอดเลือดอุดตันและเกิดเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในที่สุด
      • โรคเบาหวาน ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานอยู่แล้วจะได้รับผลกระทบโดยตรง เมื่อคนเป็นเบาหวานพักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายจะผลิตสารกลูโคส และอินซูลินออกมาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการดื้ออินซูลินได้
      • โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง ผู้ป่วยจะต้องใช้เวลาเกินกว่า 30 นาที ถึงจะสามารถหลับได้ หรืออาจมีอาการหลับๆ ตื่นๆ ทั้งคืน บางครั้งอาจสะดุ้งตื่นขึ้นกลางดึก แล้วจะไม่สามารถหลับได้อีกเลย และโรคนอนไม่หลับ ยังส่งผลต่อการเข้าห้องน้ำบ่อยทั้งคืนเพราะร่างกายต้องการดูดซับน้ำมากกว่าคนปกติ ซึ่งจะต้องมีอาการแบบนี้เกิน 1 เดือนจึงจะเรียกว่าการนอนไม่หลับแบบเรื้อรัง
      • โรคซึมเศร้า การนอนไม่หลับเป็นหนึ่งในอาการที่พบได้เป็นอันดับแรกของโรคซึมเศร้า เพราะการนอนดึกจะส่งผลเสียต่ออารมณ์หลังตื่นนอน บางคนอาจมีอาการหงุดหงิด และมีอารมณ์แปรปรวนง่าย
      • สมรรถภาพทางเพศเสื่อมลง มักจะมีสาเหตุมาจากการพักผ่อนน้อย หรือนอนไม่หลับเลยทั้งคืน เพราะการนอนไม่หลับจะทำให้ฮอร์โมน “เทสโทสเทอโรน” ต่ำลง ซึ่งทำให้ความต้องการทางเพศลดต่ำลงไปด้วย
      • โรคอ้วน การนอนน้อยจะกระตุ้นให้รู้สึกหิวอาหารที่มีไขมันและคาร์โบไฮเดรตสูงขึ้น
      • ระบบร่างกายรวน ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดอาการท้องอืด, ท้องเฟ้อ, อาหารย่อยไม่ดี และการถ่ายอุจจาระไม่เป็นปกติ บางครั้งท้องเสียแต่บางครั้งก็อาจท้องผูกขึ้นมากระทัน เพราะกระเพาะอาหารเกิดการล้าจึงทำให้ย่อยอาหารได้ไม่ดีเท่าที่ควร
      • อารมณ์แปรปรวนง่าย เมื่อนอนไม่หลับสมองก็ไม่ได้พักไปด้วย ทำให้สมองทำงานได้อย่างไม่เต็มที่ ตื่นเช้ามาจึงมีอาการอ่อนเพลีย ไม่กระปรี้กระเปร่า หงุดหงิดอารมณ์เสียง่ายกว่าปกติ และยังทำให้การตัดสินใจผิดพลาด และเมื่อเกิดความเครียดก็จะตามมาด้วยกลิ่นตัวตามจุดต่าง ๆ ของร่างกายที่จะแรงขึ้นอีกด้วย

    นอนน้อย

    ปรับพฤติกรรมเพื่อให้ได้การนอนที่มีคุณภาพ

    เริ่มต้นการนอนพักผ่อนให้เพียงพอด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือกิจวัตรประจำวันเพื่อให้เราสุขภาพที่ดีทั้งภายใน และภายนอก

    • เข้านอนให้เป็นเวลาสม่ำเสมอ
    • อาบน้ำชำระร่างกายให้สดชื่นก่อนเข้านอน และไม่ออกกำลังกายก่อนเข้านอน
    • รับแสงธรรมชาติให้เพียงพอระหว่างวัน
    • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรืออาหารที่มีปริมาณไขมัน และน้ำตาลสูงก่อนนอน
    • ปรับเปลี่ยนบรรยากาศในห้องนอนให้เหมาะแก่การนอนหลับ เช่น เย็นสบาย มืดสลัว และเงียบสงบ
    • ไม่ควรนอนเวลากลางวัน หรือนอนกลางวันไม่เกิน 1 ชั่วโมง เพราะอาจจะทำให้กลางคืนนอนไม่หลับ

    ซึ่งความจริงแล้วเราไม่จำเป็นต้องนอนหลับให้ครบ 8 ชั่วโมงเสมอไป เพราะการนอนเพียง 5-6 ชั่วโมงที่หลับลึก และไม่มีการสะดุ้งตื่นบ่อยก็ทำให้รู้สึกสดชื่น และกระปรี้กระเปร่าได้ไม่น้อยไปกว่าการนอนครบ 8 ชั่วโมง

    หลับอย่างไรถึงจะเรียกว่าได้คุณภาพ

    เพิ่มคุณภาพและปรับสมดุลการนอนด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Becoplus

    ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบำรุงสมองและปรับสมดุลการนอน สกัดจากธรรมชาติแท้ 100% จากสารสกัดคุณภาพกว่า 11 ชนิด ทางเลือกของการนอนหลับที่ไม่พึ่งสารเคมี ช่วยให้คุณหลับได้สนิท หลับได้ลึก และหลับได้ต่อเนื่องยิ่งขึ้น เพื่อให้สมองและร่างกายได้รับการฟื้นฟูอย่างเต็มที่

    นอนน้อย

    หลับง่ายขึ้นด้วยสารสกัดจากธรรมชาติใน Becoplus

    พรมมิ : คลายความกังวล นอนหลับง่ายขึ้น
    แอลธิอะนิน : นอนหลับง่ายขึ้นและหลับลึกขึ้น
    ผงเชอร์รี่ทาร์ต : ปรับสมดุลการนอน หลับสบาย ลดความเครียด
    เลมอนบาล์ม : นอนหลับง่าย ผ่อนคลาย ขจัดความเหนื่อยล้า

    จะเห็นได้ว่าการนอนน้อย และนอนดึกนั้นส่งผลต่อสุขภาพร่างกายเป็นอย่างมาก เริ่มต้นดูแลตัวเองตั้งแต่วันนี้ หันมาใส่ใจเรื่องการนอนหลับพักผ่อนให้มากขึ้นเพื่อสุขภาพที่ดี และห่างไกลจากโรคร้ายกันนะคะ


    สนใจ Becoplus (บีโคพลัส) สอบถามได้ที่

    www.beauraz.com

    shop.beauraz.com

    Related Post

    Most Popular

    Recommended