More

    7 เทรนด์ ธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม เทรนด์รักษ์โลกที่กำลังมาแรง

    ธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม ถือว่ากำลังเติบโตได้ดีใน ปี 2023 และช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เป็นปีแห่ง Sustainability Trend  หรือ “เทรนด์แห่งความยั่งยืน” หลังจากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สั่งสมมานานเริ่มสะท้อนให้เห็นผลลัพธ์มากขึ้น ผู้คนจึงเริ่มกลับมาตระหนักถึงสภาพแวดล้อมกันอย่างมาก จนเกิดเป็นเทรนด์ที่ผู้บริโภคพร้อมสนับสนุนแบรนด์ที่รักษ์สิ่งแวดล้อม วันนี้เลยขอชวนมาดูไอเดียธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและได้ใจผู้บริโภคไปพร้อม ๆ กัน

    7 เทรนด์ ธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม

    • ธุรกิจผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ (Eco Product)

    ธุรกิจ Eco product เป็นธุรกิจที่เติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ธุรกิจนี้ครอบคลุมผลิตภัณฑ์หลากหลายประเภท ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันไปจนถึงผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมจึงมีทางเลือกในตลาดอยู่มาก 

    ประเภทของ Eco product ที่นิยม ได้แก่

    • บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ เช่น ถุงกระดาษ ถุงพลาสติกย่อยสลายได้ กล่องกระดาษ กล่องอาหารย่อยสลายได้
    • ผลิตภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย ไม้ กระดาษ ชานอ้อย สาหร่าย
    • ผลิตภัณฑ์ประหยัดพลังงาน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน รถยนต์พลังงานไฟฟ้า
    • ผลิตภัณฑ์รีไซเคิล เช่น แก้วน้ำรีไซเคิล เสื้อผ้ารีไซเคิล

    ธุรกิจ Eco product มีโอกาสเติบโตสูง เนื่องจากผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ประกอบกับในหลาย ๆ ภาครัฐเริ่มมีการส่งเสริมให้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างเช่นที่ประเทศไทยมีนโยบายลดการใช้ถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง และส่งเสริมการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้

    ธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม

    • ธุรกิจรีฟิลสินค้า

    ธุรกิจ รีฟิล เป็นธุรกิจที่ให้บริการเติมผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้กับผู้บริโภค โดยผู้บริโภคสามารถนำบรรจุภัณฑ์เดิมมาเติมผลิตภัณฑ์ได้ โดยไม่ต้องซื้อบรรจุภัณฑ์ใหม่ ธุรกิจนี้เกิดขึ้นจากความตระหนักของผู้บริโภคเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปริมาณขยะพลาสติกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจยังเห็นได้ไม่มากแต่ถือเป็นธุรกิจที่ผู้บริโภคหันมาสนใจมากขึ้น 

    ประเภทของ ธุรกิจรีฟิลสินค้า ได้แก่

    • ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เช่น แชมพู สบู่ น้ำยาซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาล้างจาน
    • ผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย เช่น ครีมอาบน้ำ โลชั่น ครีมบำรุงผิว
    • ผลิตภัณฑ์อาหารและขนม เช่น ข้าวสาร น้ำดื่ม น้ำมันพืช ธัญพืชต่าง ๆ
    • ผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น กาแฟ ชา 

    ธุรกิจ refill มีโอกาสเติบโตสูง เนื่องจากผู้บริโภคมีความต้องการลดปริมาณขยะพลาสติกมากขึ้น ประกอบกับภาครัฐมีการส่งเสริมการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ ตัวอย่างเช่น ประเทศไทยมีนโยบายลดการใช้ถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง และส่งเสริมการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้

    ธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม

    • ธุรกิจผลิตภัณฑ์ออแกร์นิค

    ธุรกิจรักษ์สิ่งแวดล้อม Organic Product เป็นธุรกิจที่ผลิตสินค้าจากวัตถุดิบธรรมชาติโดยไม่ใช้สารเคมีหรือยาฆ่าแมลง ธุรกิจนี้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นไม่ใช่เพียงแค่คนหันมาใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมเพียงเท่านั้น แต่คนยังหันมาใส่ใจสุขภาพตัวเองมากขึ้น ผลิตภัณฑ์ถือเป็นทางเลือกที่ดีเพราะดีต่อโลกและต่อผู้บริโภคเองด้วย 

    ประเภทของ ธุรกิจผลิตภัณฑ์ออแกร์นิค ได้แก่

    • อาหาร เช่น ข้าว ผัก ผลไม้ นม ไข่
    • เครื่องดื่ม เช่น ชา กาแฟ น้ำผลไม้
    • ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เช่น แชมพู สบู่ น้ำยาซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม
    • ผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย เช่น ครีมอาบน้ำ โลชั่น ครีมบำรุงผิว
    • ผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น ผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดตัว

    ธุรกิจ Organic Product มีโอกาสเติบโตสูง เนื่องจากผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าจากธรรมชาติมากขึ้น ประกอบกับภาครัฐมีการส่งเสริมการใช้สินค้าจากธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น ประเทศไทยมีนโยบายสนับสนุนเกษตรอินทรีย์ ธุรกิจ Organic Product เป็นหนึ่งในธุรกิจที่จะช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยช่วยลดการใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลงในการผลิตสินค้า ซึ่งจะช่วยลดมลพิษและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

    ธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม

    • ธุรกิจรีไซเคิลโปรดักส์

    ธุรกิจรักษ์โลก Recycle Product เป็นธุรกิจที่ผลิตสินค้าจากวัสดุรีไซเคิล ธุรกิจนี้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เริ่มมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยที่คุณภาพสินค้าไม่ได้ถูกทำให้ลดลง ถือเป็นการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ที่กำลังเป็นเทรนด์และหลายบริษัทเริ่มเปลี่ยนแปลงมากขึ้น

    ประเภทของ ธุรกิจรีไซเคิลโปรดักส์ ได้แก่

    • บรรจุภัณฑ์ เช่น ถุงพลาสติก กล่องกระดาษ แก้วน้ำ
    • ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า โทรทัศน์
    • ผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เตียง
    • ผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ

    ธุรกิจ Recycle Product มีโอกาสเติบโตสูง เนื่องจากผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าจากวัสดุรีไซเคิลมากขึ้น ประกอบกับภาครัฐมีการส่งเสริมการใช้วัสดุรีไซเคิล ตัวอย่างเช่น ประเทศไทยมีนโยบายให้หน่วยงานภาครัฐใช้วัสดุรีไซเคิลในการจัดซื้อจัดจ้าง

    ธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม

    • ธุรกิจของมือ 2 

    ธุรกิจของมือสองถือเป็นธุรกิจที่มีมาอย่างยาวนาน แต่ในช่วงแรกส่วนใหญ่จะเป็นคนเฉพาะกลุ่มที่สนใจหรือบริโภคสินค้าเหล่านี้เป็นหลัก แต่ในปัจจุบัน ภาวะสิ่งแวดล้อมทำให้คนหันมาสนใจสินค้ามือสองมากขึ้น ภาคธุรกิจมีการปรับตัว โดยจะเริ่มเห็นธุรกิจที่สร้างพื้นที่ให้เราแลกเปลี่ยนหรือขายสินค้ามือสองมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในธุรกิจด้านแฟชั่น ที่สิ้นค้ามือองกลับมาคุกคักอีกครั้ง 

    ประเภทของ ธุรกิจของมือสอง ได้แก่

    • เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า
    • รถยนต์ รถจักรยานยนต์
    • อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
    • ของสะสม

    การเริ่มต้นธุรกิจของมือสองสามารถทำได้หลายช่องทาง เช่น การเปิดร้านขายของมือสอง ขายสินค้าผ่านออนไลน์ หรือเข้าร่วมตลาดนัดสินค้ามือสอง หากต้องการเริ่มต้นธุรกิจของมือสองแบบไม่ต้องลงทุนมากนัก สามารถเริ่มต้นจากการขายสินค้ามือสองที่เรามีอยู่แล้ว ตัวอย่างเช่น เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า ของใช้ในบ้าน เป็นต้น เมื่อมีรายได้จากการขายสินค้ามือสองแล้ว ก็สามารถนำมาต่อยอดเพื่อขยายธุรกิจได้

    ธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม

    • ธุรกิจเช่าสินค้า

    ธุรกิจให้เช่าของ อาจเป็นธุรกิจที่มีเป้าหมายเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของผู้บริโภค แต่ถือเป็นธุรกิจที่ช่วยลดการใช้ทรัพยากรในการผลิตลงได้อย่างมาก ในผลิตภัณฑ์ที่มีราคาสูงและมีความคงทน ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ในการทำธุรกิจประเภทเช่า

    ประเภทของ ธุรกิจเช่าสินค้า ได้แก่

    • เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า 
    • ของแบรนด์เนม
    • รถยนต์ รถจักรยานยนต์
    • อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
    • สินค้าบันเทิง เช่น หนังสือ หรือ เครื่องเล่นดนตรีต่าง ๆ

    ธุรกิจให้เช่าของจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคปัจจุบันที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจหมุนเวียน

    ธุรกิจให้เช่าของเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพในการเติบโต เนื่องจากมีความต้องการสินค้ามือสองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลและวางแผนอย่างรอบคอบ เพื่อประสบความสำเร็จในธุรกิจนี้

    • ธุรกิจพลังงานทดแทน

    ถือว่าเป็นธุรกิจที่กำลังเติบโตในยุคสมัยปัจจุบัน ในสมัยก่อนพลังงานทดแทนอย่าง แผงโซล่าเซลล์ หรือรถยนต์ไฟฟ้า ดูยังเป็นเรื่องไกลตัวและเข้าถึงได้ยากด้วยราคาที่สูง แต่ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้นทำให้สินค้าจากพลังงานทดแทนอยู่ในราคาที่สามารถเอื้อมถึงได้ และที่สำคัญคือช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้บริโภคในระยะยาวและยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

    ประเภทของ ธุรกิจพลังงานทดแทน ได้แก่

    • รถยนต์ไฟฟ้า
    • แผงโซล่าเซลล์
    • จักรยานไฟฟ้า จักรยานยนต์ไฟฟ้า
    • จุดชาร์จยานพาหนะไฟฟ้า (EV Charge Station)

    ติดตามข่าวสารจากเราได้ที่
    Website : https://inzpy.com/
    Youtube : https://www.youtube.com/c/Inzpy
    Facebook : https://www.facebook.com/inzpyth
    Facebook : https://www.facebook.com/inzpyjoy

    Chaipow
    Chaipow
    ชอบเที่ยว ชอบกิน ชอบสังสรรค์ ปัจจุบันเป็นความดันกับเบาหวาน

    Related Post