ปัญหาขยะเป็นปัญหาสำคัญของโลกและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากยุคปัจจุบันการบริโภค พฤติกรรมที่สร้างขยะกันมากขึ้น ประเภทของขยะก็เช่นกันมีทั้งย่อยสลายเองได้และย่อยสลายยาก ต้องมีวิธีกำจัดแบบเฉพาะ Inzpy จะพาไปดูว่าแต่ละประเทศเขามีการแยกหรือทิ้งขยะกันยังไงกันบ้าง
เยอรมนี
ตามข้อมูลที่ในปี 2021 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีการรีไซเคิลขยะมากที่สุดในโลก ซึ่งรัฐบาลมีส่วนผลักดันและกำหนดทิศทางของการจัดการขยะ นั่นคือการออกกฎหมายและมีนโยบายที่เข็มแข็ง ใช้ระบบคัดแยกขยะด้วยถังขยะ 6 สี แยกกันตามประเภทของขยะ สำหรับแบตเตอรี่ไม่สามารถทิ้งได้ ต้องทิ้งตามจุดที่กำหนดเท่านั้น เช่น ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านจำหน่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
นอกจากนี้ยังมีศูนย์รีไซเคิล ตั้งอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งคอยทำหน้าที่แยกขยะประเภทต่างๆ
โครงการฝากขวด
มีโครงการ Pfand หรือ Deposit Refund System สร้างเเรงจูงใจให้คนมารีไซเคิลขยะ ผู้บริโภคที่ซื้อขวดน้ำจากซูเปอร์มาร์เก็ตหรือจุดจำหน่ายขนาดเล็ก (Kiosk) พวกเขาต้องจ่าย ‘ค่ามัดจำ’ เพิ่มเติมจากค่าเครื่องดื่ม และจะได้ค่ามัดจำคืนเมื่อนำขวดไปคืนที่ร้านค้าหรือเครื่องรับคืนขวดอัตโนมัติทั่วประเทศ ซึ่งในไทยเองก็มีตู้แบบนี้รับเฉพาะขวด PET เเละใช้ระบบสแกน QR Code ผ่านสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตเพื่อลงทะเบียนสมัครสมาชิก
สวีเดน
ประเทศที่ถือเป็นต้นแบบในการจัดการขยะ ตัวอย่างเมืองเอสคิลส์ตูน่า (Eskilstuna) เมืองเล็ก ๆ ไม่ไกลจากรุงสต็อกโฮล์ม เริ่มจัดการขยะในช่วงต้นปี 2021 โดยใช้ระบบแยกขยะด้วย ถุงขยะสีรุ้ง แยกขยะแต่ละชนิดอย่าง สีเขียวใส่เศษอาหาร สีชมพูใส่เศษผ้า สีเทาใส่ชิ้นส่วนโลหะ สีเหลืองใส่กระดาษ สีฟ้าใส่หนังสือพิมพ์ สีส้มใส่พลาสติก และสีดำใส่ขยะอื่น ๆ มื่อทุกครัวเรือนจัดการได้แบบนี้ก็จะนำไปสู่ขั้นตอนต่อไปคือการคัดแยกเพื่อนำไปทำประโยชน์อื่นต่อไป
ญี่ปุ่น
ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีความเป็นระเบียบวินัยสูง โดยจะแบ่งประเภทขยะออกเป็น 4 ประเภท
1.ขยะเผาได้ พวกเศษอาหาร ภาชนะประะเภทพลาสติก
2.ขยะเผาไม่ได้ เช่น เหล็ก อะลูมิเนียม หลอดไฟ เเบตเตอรี่เเละเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เตารีดก็จัดอยุ่ในหมวดนี้เช่นกัน
3.ขยะรีไซเคิล ขวดแก้ว กระป๋อง ขวดพลาสติก หนังสือ
4.ขยะชิ้นใหญ่ เฟอร์นิเจอร์อย่าง ตู้ โต๊ะ ทีวี รวมถึงขยะชิ้นใหญ่ที่ไม่สามารถใส่ถุงได้
เงื่อนไขในเรื่องเวลาการทิ้งขยะ วันและเวลาในแต่ละสัปดาห์ถูกกำหนดให้ทิ้งขยะแต่ละประเภทได้
โดยกำหนดว่าขยะสดทิ้ง 3 วัน/สัปดาห์
ขยะรีไซเคิล 1 วันต่อสัปดาห์
ขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ 2 วันต่อเดือน
รวมถึงเวลาของรถเก็บขยะที่จะมาตรงเวลาประมาณ 8-9 โมงเช้า ดังนั้นควรจัดเตรียมทั้งขยะไม่เกิน 8 โมงเช้า โดยในแต่ละจังหวัดเเต่ละเขตจะมีการแบ่งประเภทที่แตกต่างกันไป สามารถดูได้ทางเว็บไซต์หรือป้ายประกาศตามอาคาร
เกาหลีใต้
รัฐบาลเกาหลีใต้ใส่ใจเเละจริงจังกับการจัดการขยะมาก โดถังขยะและถุงขยะจะแบ่งออกเป็น 6 สี 6 ประเภท ความแตกต่างจากประเทศอื่น ๆ คือถุงขยะทุกใบต้องซื้อใช้ถุงธรรมดาไม่ได้
ต้องซื้อถุงที่รัฐบาลจำหน่ายเท่านั้น ราคาขึ้นอยู่กับขนาดและประเภท ถุงขยะโซลยังใช้ที่ปูซานไม่ได้ด้วย
หากมีเศษอาหารต้องล้างทำความสะอาดก่อนทิ้ง หากทิ้งขยะเสียเงิน โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท ขยะที่สามารถทิ้งได้ฟรี สามารถนำกลับมารีไซเคิลใหม่ได้ จะต้องเสียเงินก็คือ เศษอาหาร ขยะที่สามารถเผาได้ และเฟอร์นิเจอร์ ถ้าเป็นขยะชิ้นใหญ่ พวกเฟอร์นิเจอร์ เตียง โซฟา ตู้ สามารถนำไปทิ้งได้ ซึ่งราคาก็จะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับขนาดของชิ้นนั้นๆ ยิ่งชิ้นใหญ่ ยิ่งแพง แต่ละพื้นที่จะมีข้อกำหนดของวันที่สามารถทิ้งได้แตกต่างกัน เช่น เขตซูวอนสามารถทิ้งได้เฉพาะวันอังคาร ไม่สามารถทิ้งได้ทุกวัน
การจัดการปัญหาขยะไม่ได้เกิดจากใครหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หากเราปฏิบัติตามกฎและร่วมมือกันรวมถึงภาครัฐบาลที่เข้ามาช่วยเป็นกำลังใหญ่จัดระเบียบขยะ ก็จะส่งผลต่อการจัดการขยะที่ดีขึ้นค่ะ