More

    นิทรรศการ “Weaving the Ocean” ศิลปะพื้นบ้านจากขยะ โดย “ศิลปิน อาริ บายูอาจิ

    นิทรรศการ “Weaving the Ocean” ศิลปะพื้นบ้านจากขยะ โดย “ศิลปิน อาริ บายูอาจิ

    Expo นิทรรศการ “Weaving the Ocean” ศิลปะพื้นบ้านจากขยะ โดย “ศิลปิน อาริ บายูอาจิ จากชาวอินโดนีเซียที่ได้ไปใช้ชีวิตอยู่ที่เกาะ ทำให้เขาเห็นถึงปัญหาผลกระทบจากชายหาด ในด้านอุตสาหกรรมที่เต็มไปด้วยมลพิษที่ทำลายสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม จนเกิดความคิดในด้านอาร์ต ศิลปะเข้ามาในหัว โดยการสร้างสรรค์สิ่งทอ จากขยะพลาสติกมารังสรรค์ผลงานให้นั่นยั่งยืน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วยexpo

    โครงนิทรรศการของ “Weaving the Ocean เริ่มจากความคิดที่จะทดแทนวัสดุธรรมชาติที่กำลังหายไป ด้วยวัสดุ “ธรรมชาติ” ใหม่ ที่หาได้ง่าย วันหนึ่ง ผมค้นพบเชือกพลาสติกจำนวนมากติดอยู่กับรากโกงกาง ใกล้ๆ หาดซานูร์ ชายฝั่งของบาหลี มันยึดโยงยุ่งเหยิงอยู่กับราก ราวกับเป็นส่วนหนึ่งตามธรรมชาติของต้นไม้ นี่เป็นแรงบันดาลใจให้ผมใช้ด้ายพลาสติกเป็นวัสดุทอ” ศิลปินระบุผ่านเว็บไซต์

    อาริ ศิลปินผู้รักษ์โลก ได้เริ่มหันมาสนใจปัญหาเรื่องขยะพลาสติกในช่วงปี 2558 ตอนที่เขาถ่ายภาพต้นโกงกางที่ถูกปกคลุม ไปด้วยขยะพลาสติก ในระหว่างที่พักอยู่ในบาหลีนั้น เขามักจะเห็นขดเชือกพลาสติกหลากสีพันอยู่กับ พืชพันธุ์ต่างๆ ตามชายหาด ถูกคลื่นซัดขึ้นมาตามชายฝั่งบ้าง หรือติดมากับวัตถุต่างๆ บ้าง แม้กระทั่ง ติดมากับสัตว์ทะเล และปะการัง เชือกพลาสติกที่ใช้กับแหอวนจับปลาเหล่านี้มักจะถูกคลื่นซัดขึ้นมา ตามชายฝั่งทะเลเป็นจำนวนมหาศาลด้วยขยะมลพิษพลาสติกเป็นอีกวิกฤตทางสิ่งแวดล้อมที่ประเทศหมู่เกาะนี้กำลังเผชิญ อินโดนีเซียปล่อยขยะพลาสติกเป็นอันดับที่สองของโลกรองจากจีน และจากสถิติเกาะบาหลีผลิตขยะถึง 1.6 ล้านตันต่อปี 1 ใน 5 ของขยะทั้งหมดเป็นพลาสติก

    expo

    อย่างไรก็ตาม ในปี 2560 รัฐบาลอินโดนีเซียประกาศใช้แผนปฏิบัติการระดับชาติ ทุ่มงบประมาณกว่า 1,000 ล้าน เหรียญสหรัฐ เพื่อลดขยะพลาสติกให้ได้ 70% ภายในปี 2568 เกาะบาหลีก็แบนพลาสติกใช้ครั้งเดียวอย่างถุงพลาสติก หลอด และโฟม ตั้งแต่ปี 2562 “โปรเจกต์นี้เป็นการส่งสารถึงชาวบาหลี ว่าเราสามารถทำอะไรกันได้บ้าง ในวันที่ธุรกิจจากการท่องเที่ยวต้องหยุดลง คำตอบนั้นอยู่ในธรรมชาติ” อาริกล่าวบนเว็บไซต์

    expo

    ศิลปะกับจิตวิณญาณ

    ชาวบาหลีให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการสร้างสมดุลย์ระหว่างแสง และเงา ยึดถือการประนีประนอมระหว่างสิ่งดีและสิ่งชั่วร้ายผ่านพิธีกรรมและการบูชาต่างๆ ในทำนองเดียวกัน Weaving the Ocean เปลี่ยนซากปรักหักพังของการทำลายล้างสภาพแวดล้อมเป็นสิ่งที่เอื้อประโยชน์ต่อชุมชนในวงกว้าง เพื่อสร้างสมดุลอย่างสุนทรีย์

    ความเชื่อตามแบบวัฒนธรรมบาหลี มอบบทบาทให้ท้องทะเลเป็นศูนย์รวมแห่งจิตวิญญาณ ศาสนาของชาวบาหลีมีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับสายน้ำ ผสมผสานกับความเชื่อทางศาสนาฮินดู ความเชื่อในเรื่องวิญญาณ มีการประกอบพิธีกรรมอย่างแพร่หลายทั่วทั้งเกาะ ซึ่งมักจะถูกพูดถึงในฐานะ Agama Tirtha หรือ ศาสนาแห่งสายน้ำ

    ในพิธีกรรมต่างๆ ของชาวบาหลี ท้องทะเลคือตัวแทนของความบริสุทธิ์ และศักดิ์สิทธิ์ เสื้อคลุมที่จัดแสดงในนิทรรศการ มีที่มาจากเสื้อผ้า และเครื่องแต่งกายจริงที่ใช้สวมใส่ในการประกอบพิธีบนชายหาด ซึ่งศิลปินมีโอกาสได้สัมผัสอย่างใกล้ชิดท่ามกลางซากปรักหักพังของสิ่งแวดล้อมในบริเวณนั้นอีกด้วย

    โปรเจกต์ Weaving the Ocean

    Expo Weaving the Ocean เริ่มต้นในช่วงต้นปี 2563 เป็นการผสานความงดงามของวัฒนธรรมพื้นถิ่น “บาหลี” เข้ากับสิ่งแปดเปื้อนอย่าง “ขยะพลาสติก” เพื่อบอกเล่าปัญหาวิกฤตมลพิษพลาสติกทางทะเล และฟื้นฟูชีวิตช่างฝีมือของชมุชนในสถานการณ์โรคระบาด ผ่านฝีมือของอาริ บายูอาจิ

    ประวัติศิลปิน

    อาริ ศิลปินชาวอินโดนีเซียวัย 47 จบการศึกษาด้านวิศวกรรมโยธาและทำงานในอินโดนีเซียก่อนจะย้ายถิ่นฐานไปอยู่แคนาดาในปี 2548 ที่ซึ่งเขาเริ่มต้นชีวิตด้านศิลปะ เขาเข้าเรียนวิจิตรศิลป์ในมหาวิทยาลัยคอนคอร์เดีย (Concordia University) มอนทรีออล จนถึงปี 2553 ปัจจุบันใช้ชีวิตไปมาอยู่ทั้งมอนทรีออลและบาหลี อาริเป็นที่รู้จักกว้างขวางกับผลงานศิลปะจัดวางที่ผสานวัสดุที่เขาพบจากที่ต่าง ๆ ในโลก ในฐานะตัวแทนหลากวัฒนธรรม

    อาริ มีความเชี่ยวชาญในการถ่ายทอดแง่มุมต่างๆ ของวิถีชีวิต ผลงานของเขามักจะแสดงถึง การมองเห็นคุณค่าทางศิลปะในวิถีชีวิตที่ถูกเมิน ผ่านวัตถุหลากหลาย สถานที่ต่างๆ และบทบาทที่สิ่งเหล่านั้นถูกวางไว้ในสังคม ศิลปินเลือกใช้ของเก่าที่พบจากทั่วทุกมุมโลกมาใช้เป็นองค์ประกอบ และเป็นประเด็นหลักในงานเกือบทุกชิ้นของเขา แม้วัตถุเหล่านี้จะเป็นของเก่า แต่กลับกลายเป็นของใหม่ เมื่อถูกนำมาใช้เป็นวัสดุในการสร้างสรรค์งานศิลปะ งานที่ถ่ายทอดความรู้สึกของศิลปินที่มีความมุ่งมั่น ในการแก้ไขสถานการ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

    งานของอาริได้จัดแสดงในนิทรรศการเดี่ยวมาแล้วหลายที่ทั่วโลก ได้แก่ Esplanade – Theatres on the Bay ประเทศสิงคโปร์ในปี 2557 และ 2562, Nunu Fine Art Taipei ประเทศไต้หวัน ในปี 2561 และ ปี 2564, Parkhaus im Malkastenpark เมืองดัสเซลคอร์ฟ ประเทศเยอรมนี ปี 2561, Agnès B. Foundation Paris ที่ Sainte-Alvère ประเทศฝรั่งเศส ปี 2560, Redbase Foundation Jogjakarta ประเทศอินโดนีเซีย ปี 2559 และ Kunsthal Rotterdam ประเทศเนเธอร์แลนด์ ปี 2559อีกด้วย

    Related Post