More

    6 บัญชี ‘เงินฝากประจำปลอดภาษี’ ดอกเบี้ยสูง ไว้พักเงินช่วง ศก.ผันผวน

    ทั่วโลกกำลังเจอกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ หุ้นตก ไม่ว่าจะซื้ออะไร ลงทุนแบบไหนก็ติดลบเต็มกระดาน อสังหาฯ ก็ยังไม่นิ่ง พักความเสี่ยง แล้ว ‘ฝากเงิน’ ไว้ที่ปลอดภัย เน้นสภาพคล่องไว้ แต่ให้พักเงินทั้งที ก็ควรได้ผลตอบแทนให้งอกเงยบ้าง “เงินฝากประจำปลอดภาษี” ที่ดอกเบี้ยสูง ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ

    6 อันดับเงินฝากปลอดภาษี ที่จ่ายดอกเบี้ยสูงสุด

    ธนาคาร อัตราดอกเบี้ย/ปี หมายเหตุ
    24 เดือน 36 เดือน
    ไทยเครดิตฯ 1.90 2.00
    ไอซีบีซี (ไทย) 1.75 1.90
    ซีไอเอ็มบีไทย 1.60 1.60 คุ้มครองอุบัติเหตุ
    ส่วนบุคคลฟรี
    ยูโอบี 1.50 1.50 คุ้มครองอุบัติเหตุ
    ส่วนบุคคลฟรี
    แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ 1.45 1.70
    ไทยพาณิชย์ 1.35 1.60

    แนะนำบัญชี ‘เงินฝากประจำปลอดภาษี’ ดอกเบี้ยสูง

    1. ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย

    เงินฝากประจำปลอดภาษี Tax Free Account

    ดอกเบี้ย : 1.90% (24เดือน), 2.00% (36เดือน)

    อ้างอิงประกาศอัตราดอกเบี้ยวันที่ 22 สิงหาคม 2565 ทั้งนี้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ข้อมูลล่าสุดดูได้ ที่นี่

    เงื่อนไข

    • เปิดบัญชีปลอดภาษีได้เพียง 1 บัญชี ต่อ 1 ท่าน
    • แบบ 24 เดือน จำนวนเงินฝากต่อครั้งตั้งแต่ 1,000 – 25,000 บาท
    • แบบ 36 เดือน จำนวนเงินฝากต่อครั้งตั้งแต่ 1,000 – 16,500 บาท
    • ยอดเงินฝากรวมเมื่อถึงกำหนดต้องไม่เกิน 600,000 บาท
    • ฝากล่าช้าได้ไม่เกิน 2 งวด แต่ต้องฝากให้ครบ 24 หรือ 36 เดือนภายในระยะเวลาที่เลือกไว้
    • ฝากไม่ถึง 3 เดือนแล้วถอน : ไม่ปรับ แต่ไม่ได้รับดอกเบี้ยเลย
    • ฝากเกิน 3 เดือนแต่ไม่ครบกำหนดแล้วถอน : อดได้ดอกเบี้ยสูงๆ แต่ได้แค่ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไป

    2. ธนาคารไอซีบีซี (ไทย)

    เงินฝากประจำปลอดภาษี ออมเงินสบายใจ ไม่เสียภาษี

    ดอกเบี้ย : 1.75% (24เดือน), 1.90% (36เดือน)

    อัตราดอกเบี้ยอาจเปลี่ยนแปลงได้ ดูข้อมูลอัตราดอกเบี้ยล่าสุดได้ ที่นี่

    เงื่อนไข

    • แบบ 24 เดือน จำนวนเงินฝากต่อครั้งตั้งแต่ 1,000 – 25,000 บาท
    • แบบ 36 เดือน จำนวนเงินฝากต่อครั้งตั้งแต่ 1,000 – 16,500 บาท
    • ยอดเงินฝากรวมเมื่อถึงกำหนดต้องไม่เกิน 600,000 บาท
    • ฝากไม่ถึง 3 เดือนแล้วถอน : ไม่ปรับ แต่ไม่ได้รับดอกเบี้ยเลย
    • ฝากเกิน 3 เดือนแต่ไม่ครบกำหนดแล้วถอน : ได้แค่ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไป
    • ฝากล่าช้าได้ไม่เกิน 2 งวด แต่ต้องฝากให้ครบ 24 หรือ 36 เดือนภายในระยะเวลาที่เลือกไว้
    • ขาดฝากได้ไม่เกิน 2 เดือน ลูกค้าถึงยังคงได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ และสิทธิ์ยกเว้นภาษีรายได้ดอกเบี้ย

    เงินฝากประจำปลอดภาษี-ฝากเงิน-เก็บเงิน

    3. ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย

    บัญชีเงินฝากประจำ “เงินฝากเพิ่มค่าสบายใจ PLUS”

    ดอกเบี้ย : 1.60% (24 เดือน , 36 เดือน)

    อัตราดอกเบี้ยอาจเปลี่ยนแปลงได้ ดูข้อมูลอัตราดอกเบี้ยล่าสุดได้ ที่นี่

    เงื่อนไข

    • แบบ 24 เดือน จำนวนเงินฝากต่อครั้งตั้งแต่ 1,000 – 25,000 บาท
    • แบบ 36 เดือน 1,000 – 16,500 บาท
    • ยอดเงินฝากรายเดือนต้องเท่ากับยอดเงินเปิดบัญชี โดยฝากเงินขั้นละ 500 บาท เช่น 1,500 บาท 2,000 บาท 2,500 บาท เป็นต้น
    • ขาดฝากเงินได้ไม่เกิน 2 เดือนติดต่อกัน
    • หากขาดฝากเงินเกิน 2 เดือน ได้รับอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ตามประกาศของธนาคารในแต่ละวัน พร้อมทั้งหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ตามที่สรรพากรกำหนดไว้
    • ถอนเงินฝากก่อน 3 เดือน ธนาคารจะไม่จ่ายดอกเบี้ยเงินฝาก
    • ฝากไม่ถึง 3 เดือนแล้วถอน : ไม่ปรับ แต่ไม่ได้รับดอกเบี้ยเลย
    • ฝากเกิน 3 เดือนแต่ไม่ครบกำหนดแล้วถอน : ได้แค่ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไป พร้อมทั้งหักภาษี ณ ที่จ่าย15% ตามที่สรรพากรกำหนดไว้

    ได้ประกันอุบัติเหตุพ่วงด้วย!

    รับความคุ้มครองอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) ตลอดระยะเวลาของการ ฝากเงิน โดยไม่ต้องเสียค่าเบี้ยประกัน ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดทั่วโลก วงเงินคุ้มครองเท่ากับวงเงินที่ผู้ฝากมีความประสงค์ในการฝากจนครบระยะเวลาฝาก แต่ไม่เกิน 600,000 บาท

    4. ธนาคารยูโอบี

    บัญชียูโอบี ปลอดภาษี ทวีสิน

    ดอกเบี้ย : 1.50-2.00% (24 เดือน), 1.50% (36 เดือน)

    ดูรายละเอียดเงื่อนไขผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ ที่นี่

    เงื่อนไข

    • อายุขั้นต่ำในการขอเปิดบัญชี : 15 ปีบริบูรณ์
    • ระยะเวลาฝาก : 24, 36, 48, 60 เดือน ยอดเงินฝากรวมกันไม่เกิน 600,000 บาท
    • หากครบกำหนดการฝาก แต่ไม่แจ้งปิดบัญชี ธนาคารจะรับฝากต่ออัตโนมัติ เป็นบัญชีฝากประจำ 12 เดือน
    • ฝากล่าช้าได้ไม่เกิน 2 งวด แต่ต้องฝากให้ครบ 24, 36, 48, 60 เดือนที่เลือกไว้
    • ฝากไม่ถึง 3 เดือนแล้วถอน : ไม่ปรับ แต่ไม่ได้รับดอกเบี้ยเลย
    • ฝากเกิน 3 เดือนแต่ไม่ครบกำหนดแล้วถอน : ได้แค่ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไป พร้อมเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย

    ได้ประกันอุบัติเหตุพ่วงด้วย!

    รับความคุ้มครองอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) ตลอดระยะเวลาของการ ฝากเงิน โดยไม่ต้องเสียค่าเบี้ยประกัน ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดทั่วโลก ด้วยวงเงิน 2 เท่าของจำนวนเงินที่ท่านจะต้องฝาก ต่อในบัญชีหลังจากวันที่เกิดอุบัติเหตุ หรือสูงสุดถึง 1,180,000 บาท ต่อบัญชี (ระยะเวลาฝาก 60 เดือนๆ ละ 10,000 บาท)

    เงินฝากประจำปลอดภาษี-ฝากเงิน-เก็บเงิน

    5. ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์

    • เงินฝากประจำปลอดภาษี 24 เดือน LH Smart Kids
    • เงินฝากปลอดภาษี 36 เดือน ทวีค่า

    ดอกเบี้ย : 1.45% (24 เดือน) ,1.70% (36 เดือน)

    เงื่อนไข

    • สำหรับบุคคลธรรมดาอายุ 7 ปีขึ้นไป และบุคคลต่างชาติที่มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี
    • เปิดบัญชีปลอดภาษีได้เพียง 1 บัญชี ต่อ 1 ท่าน
    • แบบ 24 เดือน จำนวนเงินฝากต่อครั้งตั้งแต่ 1,000 -25,000 บาท
    • แบบ 36 เดือน จำนวนเงินฝากต่อครั้งตั้งแต่ 1,000 -16,500 บาท
    • ฝากไม่ถึง 3 เดือนแล้วถอน : ไม่ได้รับดอกเบี้ย
    • กรณีขาดฝาก 1-2 งวด แนะนำให้ฝากทบงวดที่ขาดฝากทันที
    • ขาดฝากเกิน 2 งวด จะไม่สามารถ ‘ฝากเงิน’ เข้าบัญชีต่อได้ ต้องมาดำเนินการปิดบัญชีเท่านั้น และได้รับดอกเบี้ยแบบเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไป
    • ปิดบัญชีก่อน 6 เดือน มีค่าธรรมเนียม 100 บาท

    6. ธนาคารไทยพาณิชย์

    บัญชีเงินฝากโบนัส : แบบไม่มีสมุดคู่ฝาก (E Passbook)

    ดอกเบี้ย : 1.35% -1.60% กรณีฝาก 24 เดือน อิงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน (ปัจจุบันอยู่ที่ 0.40%) บวก 0.95%

    จะซับซ้อนนิดหนึ่ง แต่สามารถเปิดบัญชีผ่านแอปพลิเคชัน SCB EASY ได้

    เช็กเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ ที่นี่

    เงื่อนไข

    • กรณีฝาก 36 เดือน อิงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน (ปัจจุบันอยู่ที่ 0.40%) + 1.20%
    • ฝากเริ่มต้นเพียง 500 บาทต่อเดือน (ฝากเพิ่มขั้นละ 500 บาท) สูงสุด 16,500 บาท
    • กรณีฝากไม่เกิน 3 เดือน ไม่ได้ดอกเบี้ย
    • ฝากเกิน 3 เดือน แต่ไม่ครบระยะเวลาฝาก ได้รับดอกเบี้ยในอัตราเงินฝากออมทรัพย์ขั้นต่ำ พร้อมหักภาษี ณ ที่จ่าย และไม่ทบต้น
    • ขาดฝากเกิน 2 ครั้ง จะไม่ได้สิทธิยกเว้นภาษีดอกเบี้ย
    • ขาดฝากเกิน 4 ครั้ง ไม่สามารถฝากต่อได้อีก ต้องมาถอนเงินและปิดบัญชีเท่านั้น หากไม่มาดำเนินการจะได้รับดอกเบี้ยต่ำสุดของเงินฝากออมทรัพย์ ณ วันที่ถอนเพื่อปิดบัญชี โดยคำนวณตามระยะเวลาการฝาก และดอกเบี้ยจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย

    เงินฝากประจำปลอดภาษี-ฝากเงิน-เก็บเงิน

    บทความน่าสนใจ

    และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีออมเงินอย่างฉลาด นอกจากนี้ เราสามารถพักเงินในที่ที่มีความเสี่ยงต่ำในกองทุนตราสารหนี้ พันธบัตรรัฐบาล สลากออมทรัพย์ อย่างสลากออมสิน หรือสลาก ธกส. ก็ได้เช่นกัน

    แต่ในความไม่แน่นอนแบบนี้ สภาพคล่องที่เราจะสามารถถอนเงินสดออกมาใช้จ่ายได้ทุกเมื่อ คือสิ่งสำคัญที่สุด ดังนั้นขอให้มีเงินสำรองฉุกเฉินไว้เสมอนะคะ

    ที่มา thansettakij.com


    อัปเดตคอนเทนต์ใหม่ ๆ ทาง LINE ฟรี
    Add friend ที่ ID : @inzpy (มี@นำ)

    เพิ่มเพื่อน

    IAMMAI
    IAMMAI
    อย่าเรียกงก ให้เรียกระมัดระวังเรื่องการใช้จ่าย ยืนหนึ่งเรื่อง Property เพราะยืนคนเดียว ไม่มีใครยืนด้วย

    Related Post