ทั่วโลกกำลังเจอกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ หุ้นตก ไม่ว่าจะซื้ออะไร ลงทุนแบบไหนก็ติดลบเต็มกระดาน อสังหาฯ ก็ยังไม่นิ่ง พักความเสี่ยง แล้ว ‘ฝากเงิน’ ไว้ที่ปลอดภัย เน้นสภาพคล่องไว้ แต่ให้พักเงินทั้งที ก็ควรได้ผลตอบแทนให้งอกเงยบ้าง “เงินฝากประจำปลอดภาษี” ที่ดอกเบี้ยสูง ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ
6 อันดับเงินฝากปลอดภาษี ที่จ่ายดอกเบี้ยสูงสุด
ธนาคาร | อัตราดอกเบี้ย/ปี | หมายเหตุ | |
24 เดือน | 36 เดือน | ||
ไทยเครดิตฯ | 1.90 | 2.00 | – |
ไอซีบีซี (ไทย) | 1.75 | 1.90 | – |
ซีไอเอ็มบีไทย | 1.60 | 1.60 | คุ้มครองอุบัติเหตุ ส่วนบุคคลฟรี |
ยูโอบี | 1.50 | 1.50 | คุ้มครองอุบัติเหตุ ส่วนบุคคลฟรี |
แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ | 1.45 | 1.70 | – |
ไทยพาณิชย์ | 1.35 | 1.60 | – |
แนะนำบัญชี ‘เงินฝากประจำปลอดภาษี’ ดอกเบี้ยสูง
1. ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย
เงินฝากประจำปลอดภาษี Tax Free Account
ดอกเบี้ย : 1.90% (24เดือน), 2.00% (36เดือน)
อ้างอิงประกาศอัตราดอกเบี้ยวันที่ 22 สิงหาคม 2565 ทั้งนี้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ข้อมูลล่าสุดดูได้ ที่นี่
เงื่อนไข
- เปิดบัญชีปลอดภาษีได้เพียง 1 บัญชี ต่อ 1 ท่าน
- แบบ 24 เดือน จำนวนเงินฝากต่อครั้งตั้งแต่ 1,000 – 25,000 บาท
- แบบ 36 เดือน จำนวนเงินฝากต่อครั้งตั้งแต่ 1,000 – 16,500 บาท
- ยอดเงินฝากรวมเมื่อถึงกำหนดต้องไม่เกิน 600,000 บาท
- ฝากล่าช้าได้ไม่เกิน 2 งวด แต่ต้องฝากให้ครบ 24 หรือ 36 เดือนภายในระยะเวลาที่เลือกไว้
- ฝากไม่ถึง 3 เดือนแล้วถอน : ไม่ปรับ แต่ไม่ได้รับดอกเบี้ยเลย
- ฝากเกิน 3 เดือนแต่ไม่ครบกำหนดแล้วถอน : อดได้ดอกเบี้ยสูงๆ แต่ได้แค่ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไป
2. ธนาคารไอซีบีซี (ไทย)
เงินฝากประจำปลอดภาษี ออมเงินสบายใจ ไม่เสียภาษี
ดอกเบี้ย : 1.75% (24เดือน), 1.90% (36เดือน)
อัตราดอกเบี้ยอาจเปลี่ยนแปลงได้ ดูข้อมูลอัตราดอกเบี้ยล่าสุดได้ ที่นี่
เงื่อนไข
- แบบ 24 เดือน จำนวนเงินฝากต่อครั้งตั้งแต่ 1,000 – 25,000 บาท
- แบบ 36 เดือน จำนวนเงินฝากต่อครั้งตั้งแต่ 1,000 – 16,500 บาท
- ยอดเงินฝากรวมเมื่อถึงกำหนดต้องไม่เกิน 600,000 บาท
- ฝากไม่ถึง 3 เดือนแล้วถอน : ไม่ปรับ แต่ไม่ได้รับดอกเบี้ยเลย
- ฝากเกิน 3 เดือนแต่ไม่ครบกำหนดแล้วถอน : ได้แค่ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไป
- ฝากล่าช้าได้ไม่เกิน 2 งวด แต่ต้องฝากให้ครบ 24 หรือ 36 เดือนภายในระยะเวลาที่เลือกไว้
- ขาดฝากได้ไม่เกิน 2 เดือน ลูกค้าถึงยังคงได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ และสิทธิ์ยกเว้นภาษีรายได้ดอกเบี้ย
3. ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย
บัญชีเงินฝากประจำ “เงินฝากเพิ่มค่าสบายใจ PLUS”
ดอกเบี้ย : 1.60% (24 เดือน , 36 เดือน)
อัตราดอกเบี้ยอาจเปลี่ยนแปลงได้ ดูข้อมูลอัตราดอกเบี้ยล่าสุดได้ ที่นี่
เงื่อนไข
- แบบ 24 เดือน จำนวนเงินฝากต่อครั้งตั้งแต่ 1,000 – 25,000 บาท
- แบบ 36 เดือน 1,000 – 16,500 บาท
- ยอดเงินฝากรายเดือนต้องเท่ากับยอดเงินเปิดบัญชี โดยฝากเงินขั้นละ 500 บาท เช่น 1,500 บาท 2,000 บาท 2,500 บาท เป็นต้น
- ขาดฝากเงินได้ไม่เกิน 2 เดือนติดต่อกัน
- หากขาดฝากเงินเกิน 2 เดือน ได้รับอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ตามประกาศของธนาคารในแต่ละวัน พร้อมทั้งหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ตามที่สรรพากรกำหนดไว้
- ถอนเงินฝากก่อน 3 เดือน ธนาคารจะไม่จ่ายดอกเบี้ยเงินฝาก
- ฝากไม่ถึง 3 เดือนแล้วถอน : ไม่ปรับ แต่ไม่ได้รับดอกเบี้ยเลย
- ฝากเกิน 3 เดือนแต่ไม่ครบกำหนดแล้วถอน : ได้แค่ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไป พร้อมทั้งหักภาษี ณ ที่จ่าย15% ตามที่สรรพากรกำหนดไว้
ได้ประกันอุบัติเหตุพ่วงด้วย!
รับความคุ้มครองอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) ตลอดระยะเวลาของการ ฝากเงิน โดยไม่ต้องเสียค่าเบี้ยประกัน ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดทั่วโลก วงเงินคุ้มครองเท่ากับวงเงินที่ผู้ฝากมีความประสงค์ในการฝากจนครบระยะเวลาฝาก แต่ไม่เกิน 600,000 บาท
4. ธนาคารยูโอบี
บัญชียูโอบี ปลอดภาษี ทวีสิน
ดอกเบี้ย : 1.50-2.00% (24 เดือน), 1.50% (36 เดือน)
ดูรายละเอียดเงื่อนไขผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ ที่นี่
เงื่อนไข
- อายุขั้นต่ำในการขอเปิดบัญชี : 15 ปีบริบูรณ์
- ระยะเวลาฝาก : 24, 36, 48, 60 เดือน ยอดเงินฝากรวมกันไม่เกิน 600,000 บาท
- หากครบกำหนดการฝาก แต่ไม่แจ้งปิดบัญชี ธนาคารจะรับฝากต่ออัตโนมัติ เป็นบัญชีฝากประจำ 12 เดือน
- ฝากล่าช้าได้ไม่เกิน 2 งวด แต่ต้องฝากให้ครบ 24, 36, 48, 60 เดือนที่เลือกไว้
- ฝากไม่ถึง 3 เดือนแล้วถอน : ไม่ปรับ แต่ไม่ได้รับดอกเบี้ยเลย
- ฝากเกิน 3 เดือนแต่ไม่ครบกำหนดแล้วถอน : ได้แค่ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไป พร้อมเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ได้ประกันอุบัติเหตุพ่วงด้วย!
รับความคุ้มครองอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) ตลอดระยะเวลาของการ ฝากเงิน โดยไม่ต้องเสียค่าเบี้ยประกัน ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดทั่วโลก ด้วยวงเงิน 2 เท่าของจำนวนเงินที่ท่านจะต้องฝาก ต่อในบัญชีหลังจากวันที่เกิดอุบัติเหตุ หรือสูงสุดถึง 1,180,000 บาท ต่อบัญชี (ระยะเวลาฝาก 60 เดือนๆ ละ 10,000 บาท)
5. ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
- เงินฝากประจำปลอดภาษี 24 เดือน LH Smart Kids
- เงินฝากปลอดภาษี 36 เดือน ทวีค่า
ดอกเบี้ย : 1.45% (24 เดือน) ,1.70% (36 เดือน)
เงื่อนไข
- สำหรับบุคคลธรรมดาอายุ 7 ปีขึ้นไป และบุคคลต่างชาติที่มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี
- เปิดบัญชีปลอดภาษีได้เพียง 1 บัญชี ต่อ 1 ท่าน
- แบบ 24 เดือน จำนวนเงินฝากต่อครั้งตั้งแต่ 1,000 -25,000 บาท
- แบบ 36 เดือน จำนวนเงินฝากต่อครั้งตั้งแต่ 1,000 -16,500 บาท
- ฝากไม่ถึง 3 เดือนแล้วถอน : ไม่ได้รับดอกเบี้ย
- กรณีขาดฝาก 1-2 งวด แนะนำให้ฝากทบงวดที่ขาดฝากทันที
- ขาดฝากเกิน 2 งวด จะไม่สามารถ ‘ฝากเงิน’ เข้าบัญชีต่อได้ ต้องมาดำเนินการปิดบัญชีเท่านั้น และได้รับดอกเบี้ยแบบเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไป
- ปิดบัญชีก่อน 6 เดือน มีค่าธรรมเนียม 100 บาท
6. ธนาคารไทยพาณิชย์
บัญชีเงินฝากโบนัส : แบบไม่มีสมุดคู่ฝาก (E Passbook)
ดอกเบี้ย : 1.35% -1.60% กรณีฝาก 24 เดือน อิงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน (ปัจจุบันอยู่ที่ 0.40%) บวก 0.95%
จะซับซ้อนนิดหนึ่ง แต่สามารถเปิดบัญชีผ่านแอปพลิเคชัน SCB EASY ได้
เช็กเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ ที่นี่
เงื่อนไข
- กรณีฝาก 36 เดือน อิงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน (ปัจจุบันอยู่ที่ 0.40%) + 1.20%
- ฝากเริ่มต้นเพียง 500 บาทต่อเดือน (ฝากเพิ่มขั้นละ 500 บาท) สูงสุด 16,500 บาท
- กรณีฝากไม่เกิน 3 เดือน ไม่ได้ดอกเบี้ย
- ฝากเกิน 3 เดือน แต่ไม่ครบระยะเวลาฝาก ได้รับดอกเบี้ยในอัตราเงินฝากออมทรัพย์ขั้นต่ำ พร้อมหักภาษี ณ ที่จ่าย และไม่ทบต้น
- ขาดฝากเกิน 2 ครั้ง จะไม่ได้สิทธิยกเว้นภาษีดอกเบี้ย
- ขาดฝากเกิน 4 ครั้ง ไม่สามารถฝากต่อได้อีก ต้องมาถอนเงินและปิดบัญชีเท่านั้น หากไม่มาดำเนินการจะได้รับดอกเบี้ยต่ำสุดของเงินฝากออมทรัพย์ ณ วันที่ถอนเพื่อปิดบัญชี โดยคำนวณตามระยะเวลาการฝาก และดอกเบี้ยจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
บทความน่าสนใจ
- มีเงิน 5 แสนก็ซื้อ “บ้านราคาถูก” ได้ พร้อมวิธีลงทุนอสังหาฯ ฉบับคนงบน้อย
- 10 สัญญาณที่บ่งบอกว่าชาตินี้จะไม่มีวัน “รวย”
- Update: อัตราดอกเบี้ย สินเชื่อบ้าน-คอนโด สิงหาคม 2565
และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีออมเงินอย่างฉลาด นอกจากนี้ เราสามารถพักเงินในที่ที่มีความเสี่ยงต่ำในกองทุนตราสารหนี้ พันธบัตรรัฐบาล สลากออมทรัพย์ อย่างสลากออมสิน หรือสลาก ธกส. ก็ได้เช่นกัน
แต่ในความไม่แน่นอนแบบนี้ สภาพคล่องที่เราจะสามารถถอนเงินสดออกมาใช้จ่ายได้ทุกเมื่อ คือสิ่งสำคัญที่สุด ดังนั้นขอให้มีเงินสำรองฉุกเฉินไว้เสมอนะคะ
ที่มา thansettakij.com
อัปเดตคอนเทนต์ใหม่ ๆ ทาง LINE ฟรี
Add friend ที่ ID : @inzpy (มี@นำ)