การกระโดดเข้าลงทุนโดยไม่ทันระวัง มักทำให้นักลงทุนมือใหม่ติดดอยกันนักต่อหนัก ผลคือขาดทุนหนัก กินไม่ได้ นอนไม่หลับ จะถัวเพิ่มก็กลัว จะขายก็ไม่กล้า ก่อนที่จะเจ็บหนักนักลงทุนต้องระวังอาการนี้ไว้ให้ดี ว่าแล้วก็ลองประเมินตามเช็กลิสต์นี้ ว่าคุณมีนิสัยที่เสี่ยง “ติดดอย” อยู่หรือไม่ ?
ติดดอยคืออะไร
ติดดอย เป็นคำสแลงของนักเล่นหุ้น หมายถึง การที่เราเข้าไปซื้อหุ้นที่ ณ ราคาหนึ่ง แต่จากนั้นราคาหุ้นก็ปรับตัวลง ลง ลง ลง มาเรื่อย ๆ กลายเป็นว่าเราซื้อหุ้นในราคาแพงมาก ๆ ที่จุดสูงสุด (เปรียบเสมือนยอดเขา)
7 นิสัยที่คน “ติดดอย” มีเหมือนกันแทบทุกคน
- ขาดวินัย
นักลงทุนและเทรดเดอร์จำนวนมากขาดวินัยและการควบคุมอารมณ์ ซึ่งอาจนำไปสู่การตัดสินใจอย่างหุนหันพลันแล่น เทรดด้วยความรู้สึกสัญชาตญาณ และไม่ยึดติดกับแผนการเทรดของพวกเขา
- ขาดจิตวิทยาการลงทุน ให้อารมณ์พาไป
อารมณ์อาจทำให้การตัดสินใจของเทรดเดอร์ขุ่นมัวและนำไปสู่การตัดสินใจที่ไม่ดี นักลงทุนที่อ่อนไหวมากเกินไปอาจยึดติดกับหุ้นตัวนั้นมาก เชื่อคนง่าย เขาว่าดีฉันก็ว่าดี และไม่สามารถตัดสินใจอย่างมีเหตุผลได้
- Overtrading
Overtrading เกิดขึ้นเมื่อผู้ซื้อขายทำการซื้อขายมากเกินไปโดยไม่มีกลยุทธ์หรือเหตุผลที่ชัดเจน สิ่งนี้สามารถนำไปสู่การขาดทุน และประสิทธิภาพของพอร์ตไม่ดีเมื่อเวลาผ่านไป วิธีป้องกันการติดดอย คือควรกระจายความเสี่ยง อย่าซื้อตูมเดียวทีละเยอะ ๆ เลยค่ะ
- ไม่ยอม Cut loss ไม่ใช้คำสั่ง Stop Loss
หลายคนที่ติดดอยเชื่อว่า “ไม่ขาย = ไม่ขาดทุน” เลยไม่ยอมขายขาดทุนเลย ผลคือขาดทุนหนักกว่าเดิม และเสียโอกาสที่จะเอาเงินก่อนนั้นไปลงทุนอย่างอื่นที่มีประโยชน์กว่า
นักลงทุนที่ไม่ Cut loss / Stop Loss มักต้องรับความเสี่ยงที่ไม่จำเป็นและอาจประสบกับการสูญเสียครั้งใหญ่
- ไม่มีแผนการลงทุน
แผนการลงทุนมีความสำคัญในการกำหนดกลยุทธ์ของเทรดเดอร์ / นักลงทุน และสรุปจุดเข้าและออก นักลงทุนที่ไม่มีแผน ก็ไม่ต่างอะไรกับเล่นการพนัน
- ขาดการจัดการความเสี่ยง
การจัดการความเสี่ยงเป็นสิ่งสำคัญในการเทรด และเป็น วิธีป้องกันการติดดอย เทรดเดอร์ที่ไม่จัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสมอาจประสบความสูญเสียจำนวนมาก
- การเพิกเฉยต่อปัจจัยพื้นฐาน
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเป็นส่วนสำคัญของการเทรด และเทรดเดอร์ที่เพิกเฉยอาจพลาดเหตุการณ์สำคัญที่ตลาดเคลื่อนไหวและตัดสินใจซื้อขายได้ไม่ดี
วิธีป้องกันการติดดอย
วิธีแก้อาการติดดอยนั่นมีหลากหลายวิธี และไม่ได้การันตีว่าวิธีไหนดีที่สุด แต่จะขอยกตัวอย่าง วิธีป้องกันการติดดอย ที่คนนิยมใช้กัน ดังนี้
- รู้จักการยอมขายขาดทุน (Stop Loss) เมื่อราคาหุ้นไม่เป็นไปอย่างที่คิด ก่อนที่จะเสียมากกว่านี้
- แบ่งซื้อเป็นไม้ๆ หรือการแบ่งซื้อครั้งละน้อย ๆ เพื่อลดแรงปะทะจากอาการติดดอย ช่วยกระจายความเสี่ยงให้เราได้ราคาเฉลี่ย แทนที่จะได้ราคาเดียวที่อาจเป็นราคาที่ดอยก็ได้
- ซื้อหุ้นพื้นฐานดี เพราะแม้จะติดดอยในหุ้นพื้นฐานดีก็มักจะติดไม่นาน เพราะเมื่อวันเวลาผ่านไป ราคาหุ้นจะปรับสู่มูลค่าที่แท้จริงของมันเอง
สุดท้ายนี้ฝากกดไลค์ กดติดตาม เพจ inzpy.com และ INZPY JOY เพื่อรับไอเดียดี ๆ และไลฟ์สไตล์เรื่องบ้าน ๆ กันนะคะ
บทความน่าสนใจ