ศิลปะร่วมสมัย 4 สถานที่ตามรอยงานศิลป์ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี
ศิลปะร่วมสมัย เหล่าบรรดานักศิลปะ และ คนรุ่นหลังจะต้องรู้จัก ท่านดีเมื่อพูดถึงบุคคลสำคัญในแวดวงศิลปะไทย ‘ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี’ หรือ คอร์ราโด เฟโรชี ก็เป็นชื่อแรก ๆ ที่หลายคนนึกถึง เขาคืออาจารย์ศิลปะผู้วาง
รากฐานวงการศิลปะไทยสมัยใหม่ และได้สร้างผลงานด้านศิลปะไว้มากมาย ผลงานด้านประติมากรรมสำคัญระดับชาติ ได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยของไทย และยังเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากรที่เราเคารพนับถือ
และชื่นชม และเพื่อเป็นการรำลึก 126 ปีของ ‘ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี’ ในปีนี้หากมีโอกาสแวะมาเยี่ยมชมบ้านหลังแรกของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ที่ถูกชุบชีวิตปัดฝุ่นใหม่ให้กลายเป็นคาเฟ่น่านั่งไว้เช็กอินสุดสัปดาห์กัน วันนี้ Inzpy จึง
อยากชวนมาร่วมตามรอย สถานที่ที่จะพาเราไปย้อนรอย และ ทำความรู้จักกับศิลปะในแบบนายช่างฝรั่งศิลป์ พีระศรีกันดีกว่า…
Craftsman x บ้านอาจารย์ฝรั่ง
ปัจจุบันบ้านอาจาย์ฝรั่ง ชุบชีวิตปัดฝุ่นใหม่ให้กลายเป็นร้านกาแฟกลิ่นหอมกรุ่นสาขาใหม่ของทีมงาน Craftsman Roastery ที่ยังคงไม่ทิ้งลายยกร้านกาแฟมาอยู่ในบรรยากาศบ้านหลังเก่าอันแสนเงียบสงบ ‘บ้านอาจารย์ฝรั่ง’
ตึกสีเหลือง 2 ชั้น ศิลปะร่วมสมัย สไตล์วิคตอเรีย เรอเนสซองซ์ ที่มีกลิ่นอายความคลาสสิกเบา ๆ ภายในร้านออกแบบตกแต่งคงสภาพเดิมของบ้านไม้กึ่งปูน ชั้นล่างเป็นพื้นที่ของร้านกาแฟและที่นั่ง ส่วนชั้นสองเป็นนิทรรศการผลงานของอาจารย์
ศิลป์ พีระศรี และงานศิลปะหมุนเวียนตามโอกาสต่างๆ นอกจากได้จิบกาแฟแล้ว ยังได้สัมผัสกับบรรยากาศของบ้านเก่าที่ซุกซ่อนเรื่องราวของประวัติศาสตร์และศิลปะที่มารวมตัวกันอยู่ในบ้านไว้อย่างกลมกลืน แค่มาเก็บบรรยากาศก็คุ้ม
แล้ว ปัจจุบันได้รับการบูรณะปรับปรุง และจัดแสดงแกลลอรีผลงานของอาจารย์ศิลป์ พีระศรีและลูกศิษย์บนชั้นสองของบ้าน ในทุกเดือนจะมีนิทรรศการหมุนเวียนกันมาให้ชมอยู่เสมอ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์
ดนตรีเสียงเพลงคลาสสิกแว่วมาให้ได้ยินเป็นการต้อนรับเข้าสู่ห้องเก็บเรื่องราวของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ภายในตึกสีเหลืองโทนเดียวกันกับบ้านพัก และ บานประตูสีเขียวที่เปิดออกรอเข้าไปสัมผัสบรรยากาศ และ เรื่องราวในอดีตยัง
ด้านในที่เคยเป็นห้องทำงาน และห้องปฎิบัติการสอนเดิมของท่าน ภายในพิพิธภัณฑ์แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกจัดแสดงผลงานประติมากรรม จิตรกรรม และ ภาพพิมพ์ชิ้นสำคัญของบรรดาลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิด
ได้แก่ นายเฟื้อ หริพิทักษ์, นายประยูร อุลุชาฎะ, นายชลูด นิ่มเสมอ, นายสนั่น ศิลากรณ์ ฯลฯ ที่กลายเป็นศิลปินชั้นเยี่ยมของประเทศไทย ผลงานส่วนใหญ่เป็นงานศิลปกรรมในยุคเริ่มแรกของศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย ซึ่งดำเนิน
รอยตามแนวทางการสร้างสรรค์ ศิลปะร่วมสมัย ตามหลักวิชาการของศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ให้ได้ชมกันอย่างใกล้ชิด และ เห็นถึงทุกรายละเอียดของความตั้งใจในงานศิลปะ
หอประติมากรรมต้นแบบ
หอประติมากรรมต้นแบบ (Hall of Sculpture) อาคาร 2 ชั้นทรงสูงที่ติดกระจกโดยรอบ ออกแบบมาเพื่อให้ได้รับแสงสว่าง ถูกก่อตั้งมาในปี 2499 โรงปั้นหล่อนี้เป็นอาคารประวัติศาสตร์ ซึ่งศิลปินชั้นครูมากมายได้สร้างสรรค์งาน
ประติมากรรมอันทรงคุณค่าไว้เป็นศิลปะสมบัติของชาติจำนวนมาก รวมถึงผลงานสำคัญของอาจารย์ศิลป์ พีระศรีและลูกศิษย์เอกของท่าน จัดแสดงต้นแบบพระบรมรูปพระเจ้าแผ่นดินในอดีต พระพุทธรูปสำคัญ และรูปปั้นอื่น ๆ อีกมากมาย เรียกว่าเป็นศิลปะร่วมสมัย ที่มีความประณีตสวยงาม ตามยุคสมัยในปัจจุบันก็ว่าได้
มหาวิทยาลัยศิลปากร
มหาวิทยาลัยศิลปากร หนึ่งในสถานที่ที่ทำให้เรานึกถึงชื่อของอาจารย์ฝรั่งศิลป์ พีระศรีคนนี้ ในยุคสมัยนั้น ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้เห็นความสำคัญของการศึกษาวิชาศิลปะ จึงเริ่มวางหลักสูตรวิชาจิตรกรรม และ
ประติมากรรมให้มีมาตรฐานเดียวกับโรงเรียนศิลปะในยุโรป จึงจัดตั้งโรงเรียนประณีตศิลปกรรม ก่อนจะเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากรดังปัจจุบัน โดยมีคณะจิตรกรรมประติมากรรมเป็นคณะเดียวของมหาวิทยาลัย เปิดสอนเพียง 2
สาขาวิชาคือ สาขาจิตรกรรม และสาขาประติมากรรม และกลายเป็นมหาวิทยาลัยที่สอนศิลปะแห่งแรกในประเทศไทย ที่เริ่มก่อตั้งในยุคแรก ๆ นั้นอีกด้วย
Imagined Landscape ป๊อปอัพอีเว้นท์สุดต๊าช… ยืนตัวงดงามบนเกาะเชจู คลิกเลย