ธุรกิจแฟชั่น เกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่อผู้บริโภครักษ์โลก แบรนด์ที่ไม่อยากถูกทิ้งก็ต้องปรับตัวเองให้ได้ใจผู้บริโภคบริโภค และธุรกิจแฟชั่นที่ผู้บริโภคสายกรีนบางส่วนมองว่าเป็นอุตสาหกรรมฟุ่มเฟือยด้วยแล้ว ถ้าไม่เร่งปรับตัวก็อาจจะไม่ต่อไม่ได้ เพราะเป็นธุรกิจที่มีรูปแบบการผลิตสินค้าจำนวนมาก ถ้าขายไม่ออกเหลือเยอะก็ต้องมีการกำจัดทิ้งในปริมาณมากตามไปด้วย เลยถูกสังคมเพ่งเล็งเป็นพิเศษ
แบรนด์ใหญ่ๆ โดยเฉพาะในกลุ่ม Fast Fashion ที่มีการผลิตจำนวนมากเพื่อป้อนเชนร้านในเครือ และมีสินค้าออกมาถี่กว่าบรรดาไฮแฟชั่นด้วยแล้ว จึงเป็นจำเลยในเรื่องนี้ได้ดี ฉะนั้นเลยไม่แปลกที่บริษัทผู้ผลิตแฟชั่นกลุ่มนี้จะออกมาแอคชั่นแสดงให้ผู้บริโภคเห็นถึงความตระหนักในสิ่งแวดล้อมมากขึ้นก่อนใคร
เรียงแถวกันมาเลย ตั้งแต่ UNIQLO ที่เปิดตัว UNIQLO+ หรือ ยูนิโคล่พลัสเมื่อเดือนมิถุนายนปีนี้ เพื่อจำหน่ายสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จากการนำเทคโนโลยีของบริษัท TORAY ใช้เส้นใยโพลีเอสเตอร์ที่มีส่วนผสมของวัสดุจากพืชมาผลิตสินค้าเป็นครั้งแรก และยังนำวิธีการทอแจ็คเก็ตจากเส้นด้ายมาใช้เพื่อไม่ให้มีเศษวัสดุที่ต้องทิ้ง
H&M แบรนด์จากสวีเดน ที่มีร้านในบ้านเราหลายสาขาพอ ๆ กับยูนิโคล่ ก็มีนโยบายเปลี่ยนมาใช้วัสดุรีไซเคิลทั้งหมดภายในปี 2573 และสินค้าบางรุ่นในปีนี้ก็มีที่ทำมาจากเส้นใยเมล็ดพันธุ์พืชที่ผ่านการบีบน้ำมันออก และรองเท้าจากเปลือกองุ่นที่ทิ้งจากกระบวนการผลิตไวน์มาประยุกต์ใช้ด้วย
ในญี่ปุ่น บริษัท sitateru Inc. ที่เป็นสื่อกลางระหว่างโรงงานตัดเย็นผ้าและแบรนด์เครื่องแต่งกายต่าง ๆ ก็ร่วมมือกับบริษัท KURABO Industries Ltd. ผู้ผลิตและจำหน่ายเส้นด้ายรายใหญ่ นำเส้นดายที่เสียจากกระบวนการผลิตมาสลายแล้วมาทำเป็นผ้าเดนิม เป็นวัตถุดิบรีไซเคิลส่งให้แบรนด์เสื้อผ้าที่เป็นเอสเอ็มีใช้ผลิตเสื้อผ้า
กระแสที่ธุรกิจแฟชั่น หันมาตอบรับการใช้ผ้าจากวัสดุรีไซเคิลเพราะผู้บริโภครักษ์โลก จึงเกิดขึ้นทั้งกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำอย่างผู้บริโภค
Tennis Skirt แฟชั่นชุดกีฬาที่ไม่ต้องเล่นกีฬาก็ใส่ได้ คลิกเลย