More
    spot_img

    Playstation เครื่องเกมคอนโซลระดับตำนาน ที่ไม่จำเป็นต้องง้อใคร

    สำหรับคอเกมแน่นอนแหละว่าจะต้องเคยผ่านการเล่น Playstation มาก่อนแน่นอน โดยเฉพาะเหล่าเด็กยุค 90 ทั้งหลายที่มักจะมีเครื่อง แฟมิคอม หรือไม่ก็เครื่อง PS1 เป็นจุดเริ่มของการเข้าสู่วงการเกม

    ซึ่งในวันนี้ 3 ธันวาคม ถือว่าเป็นวันครบรอบการวางจำหน่ายเครื่อง เพลย์สเตชั่น 1 รุ่นแรก วันแรก และครั้งแรก ฉะนั้นวันนี้เปรียบสเมือนวันเกิดของ เครื่องเกมที่เป็นจุดเริ่มต้นของตำนานกว่า 25 ปี ของ Sony วันนี้เราเลยจะพาย้อนกลับไปค้นหาจุดเริ่มต้น และดูพัฒนาการของเจ้าเครื่อง PS กัน

    Playstatoin

    ต้นกำเนิด Playstation ที่เริ่มมาจากการแตกหัก

    ในอดีตนั้นมันเคยเป็นยุคของเครื่องเกมที่ถูกเรียกว่า “ซูเปอร์แฟมิคอม” หรืออีกชื่อคือเครื่อง “ซูเปอร์นินเทนโดเอ็นเตอร์เทรนเมนต์ซิสเตม” ของบริษัทนินเทนโด (ผู้ผลิตนินเทนโดสวิชต์ในปัจจุบัน) ซึ่งในช่วงท้ายของเจ้าเครื่องซูเปอร์แฟมิคอมนี้ ทางบริษัทนินเทนโดได้สนใจในสื่อรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า CD-ROM

    ซึ่งทางโซนี่เองก็สนใจที่จะผลิตเครื่องเกมแบบใหม่ที่สามารถเล่นเกมได้ทั้งแบบตลับและจากแผ่น CD-ROM สุดท้ายทั้งสองจึงได้เซ็นสัญญาร่วมกัน

    แต่! ก็ได้เกิดเหตุการณ์ที่เป็นจุดแตกหักเกิดขึ้น เมื่อประธานบริษัทนินเทนโด ในขณะนั้นไม่พอใจในเนื้อหาของข้อตกลงในสัญญาฉบับกับที่เคยทำไว้กับโซนี่ ในเงื่อนไขที่ว่า โซนี่จะได้สิทธิในเกมทุกเกมที่ผลิตออกมาในรูปแบบ CD-ROM ทุกเกม! สุดท้ายทางนินเทนโดจึงตัดสินใจที่จะยกเลิกข้อตกลงที่จะพัฒนาร่วมกับโซนี่ทั้งลงทั้งหมด และไปเซ็นสัญญากับฟิลิปป์แทน

    อย่างไรก็ตามทางโซนี่ ไม่ถอดใจแต่อย่างใด แม้สัญญาและการพัฒนาต่าง ๆ จะถูกยกเลิกกะทันหัน แต่พวกก็นำสิ่งที่เหลือจากโครงการที่ยุบไปมาพัฒนาต่อ ซึ่งทางนินเทนโดก็ยังตามมาฟ้องร้อง แต่ศาลไม่รับฟ้อง ทำให้เครื่อง Playstation รุ่นต้นแบบถูกผลิตออกมาจนได้ในปี 1991 ในชื่อ PSX

    ตรงนี้ต้องขอเพิ่มเติมหน่อยว่า ทาง sony ได้ยื่นข้อเสนอร่วมมือกับ SEGA หนึ่งในผู้ผลิตเกมในยุคนั้นเหมือนกัน แต่สุดท้ายก็ถูกปฏิเสธ

    แต่ด้วยความที่ไร้ประสบการณ์ เพราะนี่คือครั้งแรกที่ Sony เข้ามาสู่วงการเกม คอนเน็คชั่นจึงไม่สามารถสู้ทาง Nintendo และ SEGA ได้เลย และมันทำให้พวกเขาต้องพยายามมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งพวกเขาก็หาทางที่จะทำให้ผู้พัฒนาเกมผลิตเกมลงบนPlaystation ให้ได้ง่ายที่สุดเท่าที่จะทำได้ และยังได้ช่วยเหลือผู้สร้างเกมในการลดเวลาการพัฒนาเกมลง

    โดยโปรแกรมสร้างเกมลงบนเครื่องเพลย์สเตชั่นนั้น สามารถได้งานได้ดีโดยใช้เครื่องพีซีเพียง 2 เครื่องเท่านั้น ทำให้การพัฒนาเกมลง PS1 นั้นง่ายมาก ๆ

    ซึ่งจากความพยายามตรงนี้ พวกเขาก็ได้มีพันธมิตรเป็นค่ายเกมต่าง ๆ ที่จะทำเกมมาลงในเครื่องเล่นตัวใหม่ของพวกเขากว่า 250 ค่าย โดยมีทั้ง Konami และ Namco ที่ร่วมสร้างเกมดังอย่าง Ridge Racer เกมที่เปิดตัวเครื่องคอนโซลเครื่องนี้

    Playstatoin

    สเปกเบา ๆ กับองค์ประกอบแสนเรียบง่าย สู่การเปิดตัวที่ไม่คาดคิด

    ในปัจจุบันเราคงจะรู้ว่า เครื่องPlaystation นั้นถูกพัฒนามาจนแรงสุดขั้ว สามารถรองรับความคมชัดระดับ 4K ได้แล้ว แต่ใครจะรู้ว่าในยุคนั้น เครื่อง PS1 มีสเปกที่ธรรมดามาก ๆ อยู่ที่ระดับ 32 Bit CPU R3000 ความเร็ว 33MHz RAM 2MB และ VRAM 1 MB

    ซึ่งมันแตกต่างจากคู่แข่งอย่าง Nintendo 64 ที่ใช้เป็น 64 Bit แต่ด้วยความที่เข้าถึงง่ายของผู้สร้าง และต้นทุนที่ต่ำกว่า รวมไปถึงชื่อเสียงของโซนี่ ที่โด่งดังอยู่แล้ว แม้จะเป็นน้องใหม่ของวงการเกม มันก็คงไม่ยากจนเกินไปที่ใคร ๆ จะเชื่อใจ และลองเสี่ยงดู

    อีกหนึ่งสิ่งที่เรียกว่า เป็นของคู่กันมากัน PS เลยคือจอยสติ๊ก! หรือคอนโทรลเลอร์ที่ใช้สำหรับการเล่นเกมต่าง ๆ ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง มีดีไซส์และพัฒนาฟังชั่นใหม่ ๆ เพิ่มเติมเข้าไปในทุกยุค ทุกสมัย ซึ่งคุณ Teiyu Goto คุณเจ้าของไอเดียปุ่ม กากบาท วงกลม สามเหลี่ยม และสี่เหลี่ยม ซึ่งมันคือเอกลักษณ์ที่แทบจะเป็นลิขสิทธิ์ของ PS

    และทั้งหมดก็นำมาสู่วันที่ 3 ธันวาคม ปี 1994 ที่ตัวเกมคอนโซลตัวใหม่ล่าสุดอย่างเพลย์สเตชั่นวัน ได้วางจำหน่ายในญี่ปุ่น ในราคา 10,000 บาท หรือ 37,000 เยน (ไม่แพงในตอนนั้น) และสามารถทำยอดขายได้ถึง 1,000,000 เครื่องในเวลาเพียงหนึ่งเดือน

    เรียกว่า sony เองก็ช็อคกับสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งท้ายที่สุดจนเครื่อง PS 1 นี้ก็สามารถทำยอดขายได้เกินกว่า 100 ล้านเครื่อง และเป็นการตบหน้า Nintendo ที่แพ้ในด้านยอดขายแบบกระจุยกระจายเลยทีเดียว

    Playstatoin

    เกมขึ้นชื่อของตระกูล PS

    ในปัจจุบันคงไม่ต้องมีคำถามใด ๆ แม้จะมีคู่แข่งอย่างเครื่อง X-BOX หรือแม้แต่คู่แข่งเก่ากับเครื่อง Switch Nintendo แต่ Sony ยังคงยืนหนึ่งในวงการเกมคอนโซล โดยเฉพาะในช่วงที่ Playstation 4 วางจำหน่าย เรียกว่า เอาชนะทุกคู่แข่ง ปราบทุกคู่ค้า ยืนอยู่บนจุดสูงสุดแต่เพียงผู้เดียว

    ซึ่งจากที่เล่ามา เราคงไม่ต้องแปลกใจที่ทำไม sony ถึงกล้าทำเกมที่เป็น Exclusive เป็นของตัวเองออกมามากมาย โดยไม่มีความคิดที่จะให้มีการข้ามแพลตฟอร์ม หรือการคอลแลปต่าง ๆ เกิดขึ้น เพราะในอดีตพวกเขาดิ้นรนมาด้วยตัวเอง และพวกเขาปังด้วยตัวเอง โดยที่ไม่ต้องง้อใคร

    และแน่นอนว่า ในแต่ละยุค แต่ละสมัยของเครื่อง PS นั้น ก็มีเกมที่เป็นจุดขาย จุดเด่น เป็นเอกลักษณ์ อย่างในยุคสมัย PS1 พวกเกมอย่าง Final Fantasy หรือ Pepsi Man และ Chokobo Racing นั้นเป็นที่สนใจและรับการพูดถึงเป็นอย่างมาก นี่ยังไม่รวมถึงเกมตระกูล Resident Evil หรือ Bio Hazard ที่อยู่คู่กันมาอย่างยาวนาน

    ยิ่งข้ามมาในยุคของ เพลย์ทู หรือ PS2 ด้วยแล้วล่ะก็ ยิ่งแล้วใหญ่ มันเหมือนการติดปีกให้กับ Sony เกมอย่าง Winning Eleven ที่จริง ๆ ดังมาตั้งแต่สมัยเพลย์ 1 แล้ว ยิ่งโด่งดัง และได้รับความนิยมมากขึ้นไปอีก โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่เล่นกันทั่วบ้านทั่วเมือง มีตู้หยอดเหรียญเพลย์สเตชั่นอยู่เต็มไปหมดในทุกห้างสรรพสินค้า

    นอกจากนี้ พวกเกมเนื้อเรื่อง เกมภาพสวยต่าง ๆ หรือที่ใคร ๆ มักจะเรียกกันว่าเกมภาษา ก็ถูกพัฒนามาโดยตลอด อย่างเช่น Uncharted ที่ถูกวางจำหน่ายในยุคของ PS3 (ยุคที่ห่วยที่สุดของ PS) ซึ่งถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนถึง PS4 นอกจากนี้ Monters Hunter หากพวกคุณยังจำกันได้ เกมที่ออกมาภาคไหน ก็ทำยอดขายกระจายในภาคนั้น

    ส่วนในปัจจุบันก็มีการอย่าง FIFA ที่แม้จะมีในทุกแพลตฟอร์ม แต่เราต้องยอมรับว่า คอมมูนิตี้ของเกมนี้กว้างขวาง และใหญ่ที่สุดในแพลตฟอร์มของฝั่ง PS เลยทีเดียว

    ก็อยากให้มาร่วมกันสุขสันต์วันเกิดให้กับเครื่องเกมที่อยู่คู่กับโลกของเรามาอย่างยาวนาน และยังคงครองตลาดและเป็นที่นิยมที่สุดอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงในอนาคตอย่างน้อย ๆ ก็ 5 หรือ 10 ปี ส่วนใครที่ไม่อยากตกเทรนด์ หรืออยากอัพเดตเกมใหม่ ๆ ข่าวสารต่าง ๆ ในวงการเกมหรืออีสปอร์ต ก็ให้ติดตามพวกเรา Inzpy กันเอาไว้ครับ

    Related Post

    Most Popular

    Recommended