More

    Mario Tamagno สถาปนิกแห่งสยาม

    Mario Tamagno สถาปนิกแห่งสยาม

    หลายๆคนอาจะรู้จัก อ.ศิลป์ พีระศรี แต่น้อยคนก็ยังไม่รู้จักบุคคลนี้ ผู้ซึ่งสร้างสรรค์หลายๆ สถานที่ระดับแลนด์มาร์คของประเทศไทย เช่น พระราชวัง พระที่นั่ง วัด สถานที่ราชการ สะพาน ทำเนียบรัฐบาลฯ วันนี้ผมจะพาทุกคนไปรู้จักกับบุคคลผู้สร้างคนนี้เอง

    Mario Tamagno สถาปนิกแห่งสยาม
    คุณ Mario Tamagno

    เมื่อครั้งในหลวง ร.5 เสด็จประพาสยุโรปในปี พ.ศ.2440 ความงดงามของบ้านเมืองเขา และศิลปกรรม เป็นเสน่ห์ให้ในหลวง ร.5 ตัดสินใจจ้างชาวต่างประเทศเข้ามาทำการออกแบบและก่อสร้าง เพื่อให้สยามมีความเจริญก้าวหน้า ทันสมัย มีอารย ทั้งสถาปนิก วิศวกร ประติมากร จิตรกร มัณฑนากร เข้ามาทำงานในราชสำนัก เป็นครั้งแรกที่สยามจ้างช่างที่มาจากชาติเดียวกันเกือบทั้งหมด เพื่อออกแบบกรุงเทพฯให้สง่างามเหมือนเมืองใหญ่ในยุโรป ในบรรดาสถาปนิกที่เข้ามาทำงานในสยาม ที่ต้องจารึกชื่อไว้ในแผ่นดิน ท่านเป็นที่สุดของที่สุดในยุคนั้นแล้ว มาริโอ ตามัญโญ (Mario Tamagno)

    .

    มาริโอ เกิดเมื่อ 19 มิถุนายน พ.ศ.2420 ที่เมืองตูริน เรียนจบสถาปัตยกรรมจากสถาบันศิลปะอัลแบร์ทีน (Albertina Academy) ระหว่างศึกษาเขามีผลการเรียนยอดเยี่ยม และได้รับเหรียญรางวัลจนนับไม่ไหว จึงได้รับทุนการศึกษามาตลอด หลังจบการศึกษาในปี พ.ศ.2438 ทำงานเป็นอาจารย์ จนกระทั่งสถาปนิกรุ่นพี่ชื่อ คาร์โอ เซปปี แนะนำให้มาทำงานในสยามซึ่งกำลังจะสร้างกรุงเทพฯ ใหม่สไตล์ตะวันตก 11 มิถุนายน พ.ศ.2443 มาริโอออกเดินทางด้วยเรือชื่อ “โคนิก อัลเบิร์ต” (Konig Albert) มากรุงเทพฯ ซึ่งในขณะนั้นมีกลุ่มสถาปนิกอิตาเลียนทำงานอยู่บ้างแล้ว มาริโอ เซ็นสัญญาเข้ารับราชการในกรมโยธาธิการ ตำแหน่งผู้ช่วยฝ่ายสถาปัตยกรรม ใน พ.ศ.2446 มีเงินเดือน เดือนละ 48 ปอนด์ เป็นระยะเวลา 25 ปี ผู้เขียนขอแทรกความรู้เรื่องงานศิลปกรรมของโลกในยุคนั้น ซึ่งต้องยอมรับว่า อิตาลี เป็นดินแดนที่รวมเอาอัจฉริยะของโลกด้านศิลปะไว้ เช่น ไมเคิล แอนเจโล, ดาร์วินชี, ราฟาเอล นอกจากนั้นชาวอิตาเลียนมีความรักและพรสวรรค์ในงานด้านศิลปะ ที่อยู่สายเลือดมาเกิด จนเกิดทฤษฎีชื่อว่า “ลักษณะแบบอิตาลี” (Italianate Architecture)

    .

    Mario Tamagno สถาปนิกแห่งสยาม
    ภาพ : tnews

    พระที่นั่งอนันตสมาคม ออกแบบร่วมกับ มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบนีโอเรอเนสซองส์ (Neo Renaissance) และนีโอคลาสสิก (Neo classic)

    Mario Tamagno สถาปนิกแห่งสยาม
    ภาพ : หนังสือทำเนียบรัฐบาล โดยสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

    บ้านนรสิงห์(ตึกไทยคู่ฟ้า) ออกแบบร่วมกับ อันนิบาล ริกอตติ (Annibale Rigotti) สถาปัตยกรรมนีโอกอทิกแบบเวนิส (Neo-Venetian Gothic)

    Mario Tamagno สถาปนิกแห่งสยาม
    ภาพ : สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร

    สะพานมัฆวานรังสรรค์ สร้างตามสถาปัตยกรรมอิตาลีและสเปน ซึ่งเลียนแบบภูมิสถาปัตย์จากสะพานอเล็กซานเดอร์ที่3 (Pont Alexandre III) จากประเทศฝรั่งเศส ที่ใช้ข้ามแม่น้ำเซน เมื่อมองผ่านสะพานก็จะเห็นยอดโดมสีทองเลแซงวาลิด (Les Invalides (Napoleon’s Tomb)

    Mario Tamagno สถาปนิกแห่งสยาม
    ภาพ : การรถไฟแห่งประเทศไทย

    สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) มีแบบก่อสร้างเป็นรูปโดมสไตล์อิตาเลียนผสมผสานกับศิลปะยุคเรอเนสซองมีลักษณะคล้ายกับรถไฟเมืองแฟรงค์เฟิร์ตในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันอีกทั้งวัสดุในการก่อสร้างก็เป็นวัสดุสำเร็จรูปจากเยอรมันนี

    Mario Tamagno สถาปนิกแห่งสยามวังปารุสกวัน หรือย่อว่า วังปารุสก์ ออกแบบร่วมกับ สก็อตส์ และ เบย์โรเลรี  สถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิก(Neoclassical architecture)

    เมื่อหมดสัญญาจ้างงาน 25 ปี มาริโอ และครอบครัวเดินทางกลับไปบ้านเกิดที่อิตาลี มาริโอยังคงประกอบวิชาชีพสถาปนิก มาริโอเสียชีวิตในปี พ.ศ.2484 ด้วยโรคมะเร็ง อายุ 64 ปี

    พอจะรู้จัก มาริโอ ตามัญโญ มากขึ้นรึยังครับอันนี้ผมแค่ยกตัวอย่างมาให้ดูกันนะครับผลงานของเขายังมีมากขอบคุณที่ติดตามนะครับ


    อัปเดตคอนเทนต์ใหม่ ๆ ทาง LINE ฟรี
    Add friend ที่ ID : @inzpy (มี@นำ)เพิ่มเพื่อน

    Related Post