สิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับภาวะหัวใจล้มเหลว
คงมีคนเคยได้ยิน ภาวะหัวใจล้มเหลว หรือคำศัพท์ต่าง ๆ เช่น อาการหัวใจวาย ภาวะหัวใจหยุดเต้น และภาวะหัวใจล้มเหลวกันมาบ้างแล้วใช่มั้ยคะ โรคหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของผู้ใหญ่โดยคร่าชีวิตผู้คนไปประมาณ 610,000 รายต่อปี สิ่งสำคัญคือต้องทำความเข้าใจเพื่อที่คุณจะได้เตรียมตัวให้ดีที่สุดในกรณีที่คุณหรือคนที่เรารักมีปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้น
เป็นโรคหัวใจวาย หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน หรือหัวใจล้มเหลว?
มันจะมีความแตกต่างที่สำคัญระหว่างแต่ละเหตุการณ์ รวมถึงอาการ อัตราการรอดชีวิต และการรักษา
หัวใจวาย
อาการหัวใจวายเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการไหลเวียนของเลือดไม่เพียงพอและออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อหัวใจอาจเกิดจากการอุดตันในหลอดเลือดแดงอย่างน้อยหนึ่งเส้น อาการนี้อาจเกิดขึ้นอย่างกะทันหันหรือปรากฏขึ้นในช่วง 2 – 3 วัน เช่น แน่นหรือหนักที่หน้าอก คอ หรือแขนค่ะ
ภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน
ภาวะหัวใจหยุดเต้นเกิดขึ้นเมื่อหัวใจหยุดเต้น ถ้าหัวใจทำงานผิดปกติ อาการของภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหันเกิดขึ้นทันทีและรวมถึงการล้มลง ไม่มีชีพจร และไม่หายใจ มักส่งผลให้คนหมดสติ
แต่บางครั้งอาการเหนื่อยล้า เป็นลม และเจ็บหน้าอกจะนำไปสู่ภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหันได้นะคะ และภาวะนี้มักเกิดขึ้นโดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ในกรณีของอาการหัวใจวาย การเข้ารับการรักษาในทันทีสามารถลดความเสียหายของหัวใจได้ ในกรณีที่หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ต้องช่วยชีวิตทันทีเพื่อความอยู่รอด มีเพียง 12 เปอร์เซ็นต์ของผู้คนที่รอดชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้น
ภาวะหัวใจล้มเหลว
ภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นภาวะที่หัวใจอ่อนแอเกินกว่าจะสูบฉีดเลือดไปทั่วร่างกายได้เพียงพอ
อาการมีดังนี้ค่ะ
- หายใจถี่
- ความเหนื่อยล้า
- ความอ่อนแอ
- อาการบวมที่ท้องหรือขา ข้อเท้า และเท้า
- หัวใจเต้นเร็วหรือผิดปกติ
- ออกกำลังกายได้น้อยลง
- ไอเรื้อรังหรือหายใจมีเสียงหวีด
- จำเป็นต้องปัสสาวะเพิ่มขึ้น
- เบื่ออาหาร
- คลื่นไส้
- สมาธิลำบาก
- เจ็บหน้าอก
3 วิธีรับมือต่อเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับหัวใจ
หากคุณหรือคนที่เรารักมีอาการที่เกี่ยวข้องกับอาการหัวใจวาย ให้เข้ารับการรักษาโดยเร็วที่สุดนะคะ เพราะเวลาเป็นสิ่งสำคัญเมื่อคุณต้องรับมือกับอาการหัวใจวายและภาวะหัวใจหยุดเต้นโดยทันทีค่ะ
- หากสงสัยว่าหัวใจวายให้โทรเรียกรถพยาบาล บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินสามารถช่วยให้การรักษาระหว่างทางไปโรงพยาบาล
- กรณีหัวใจหยุดเต้นให้เรียกรถพยาบาล แล้วเริ่ม CPR ทันที
- อาการหัวใจล้มเหลว เช่น เหนื่อยล้าเพิ่มขึ้นหรือหายใจลำบาก ควรปรึกแพทย์โดยทันที เพื่อที่แพทย์จะได้เช็คเรื่องหัวใจอย่างละเอียดค่ะ
ป้องกันโรคหัวใจด้วยการเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวัน
สุขภาพหัวใจและหลอดเลือดมีความสำคัญต่อสุขภาพโดยรวมของเรา คนรอบข้าง และการจัดการสภาพของหัวใจสามารถช่วยปกป้องคุณจากปัญหาในอนาคตได้ เช่น
- ไม่สูบบุหรี่หรือเลิกสูบบุหรี่
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 20 นาที 3 วันต่อสัปดาห์ ก็จะช่วยให้การสูบฉีดเลือดไหลเวียนได้ดีแล้วค่ะ
- กินอาหารในให้สมดุลกับร่างกาย
- มีทัศนคติที่ดี หรือหาอะไรที่มันดีต่อใจ เช่น หาเรื่องน่าขำในทุก ๆ วัน แต่อย่าไปขำคนเดียวตอนทำงานนะคะ 555
- นี่เป็นข้อมูลและวิธีการรับมือเบื้องต้นที่เราต้องคอยเช็คและสังเกตอาการนี้ไว้ให้ดี เพราะมันเป็นอาจจะเป็นเรื่องใกล้ตัวเรา หรือครอบครัวของเราก็ได้ เป็นเรื่องที่สำคัญรวมถึงอันตรายมาก ๆ ฉะนั้นแล้ว ตามที่ได้กล่าวข้างต้นไป ว่าถ้าคุณหรือคนรอบข้างของคุณมีอาการ อย่าลืมรีบพบแพทย์โดยด่วนนะคะ
5 วิธีลดอายุให้ดูเด็ก คลิกเลย