ปราสาทเขาพนมรุ้ง ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้ง ในเขตอำเภอ เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ติดกับชายแดนไทย กัมพูชา เป็นปราสาทหินสีชมพู ที่สวยที่สุดในประเทศไทย เพราะเกิดจากการประทุของภูเขาไฟ ทำให้หินบริเวณนั้นผสมผสานให้เกิดสีออกแดง อมชมพู
ปราสาทเขาพนมรุ้ง นี้ได้ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนากันมาโดยตลอด เป็นลัทธิความเชื่อที่สำคัญ ของลัทธิไศวนิกาย ที่ได้กล่าวถึงการสร้างรูปเทพเจ้าองค์พระศิวะ ดังจะเห็นได้จากศิวลึงค์ ที่มาประกอบพิธีภายในปราสาทแห่งนี้ รวมถึงยอดของระเบียงคดจะมี บราลี ศิลาทราย ปักอยู่บนสันหลัง
ส่วนทางด้านสถาปัตยกรรมของปราสาทเขาพนมรุ้ง ประกอบด้วย ศิลาทราย และ ศิลาแลง 5 หลัง 1 ทางเดิน ระเบียงคด และ กำแพงล้อมรอบ รวมทั้ง ซากของฐานอาคารก่อด้วยอิฐอีก 2 หลัง ทางเดินขึ้นจะมีนาคปรก โดยองค์ประกอบทั้งหมดตั้งบนไหล่เขา และบนยอดภูเขาที่มองเห็นทิวทัศน์ได้กว้างไกล
เครื่องประดับตกแต่งสถาปัตยกรรมที่สำคัญของปราสาท มีหลายส่วนมาก แต่ ที่สำคัญ คือ เสาติดกับผนัง (pilastre) เสาประดับกรอบประตู (colonnette) ทับหลัง (lintel) และ หน้าบัน (pediment) ซึ่งหน้าบันที่สำคัญ คือ รูป ศิวนาฎราช บนหน้าบันด้านทิศตะวันออกของมณฑป ผู้นับถือศาสนาฮินดูเชื่อว่าจังหวะของการร่ายรำของพระศิวะ อาจบันดาลให้เกิดผลดี และ ผลร้ายแก่โลกได้ จึงจะต้องอ้อนวอนให้พระองค์ฟ้อนรำในจังหวะที่พอดี โลกจึงจะร่มเย็นเป็นสุข
ประติมากรรมของปราสาทเขาพนมรุ้ง แยกออกเป็น 2 ประเภท คือ ประติมากรรมลอยตัว และ ประติมากรรมนูนต่ำ ส่วนใหญ่จะเก็บอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ส่วนอีกส่วนจะถูกเก็บรักษาไว้ ณ อาคารชั่วคราวที่ปราสาทเขาพนมรุ้ง และ บางชิ้นถูกลักลอบออกนอกประเทศ ส่วนประติมากรรมลอยตัว ที่เห็นในภาพคือ โคนนที (Nandi) ที่ประดิษฐานตรงใจกลางมณฎปของปราสาทประธาน
ปราสาทเขาพนมรุ้งจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับชุมชนทางชายแดนไทย กัมพูชา มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากความเชื่อทางด้านศาสนา ความเป็นอยู่ และ การติดต่อระหว่างเมืองพระนคร (Angkor) กับปราสาทพิมายบนที่ราบสูงโคราช นั่นเอง
พิกัด: ปราสาทเขาพนมรุ้ง คลิกเลย
ถ้ำเขาขนาบน้ำ มีงานศิลปะระดับโลก คลิกเลย