หากสังเกตการก่อสร้างจะเห็นว่า รถไฟฟ้า ถูกเปลี่ยนมาเป็น โมโนเรล (Monorail) หรือระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว จากเดิมที่ใช้เป็นรถไฟฟ้าแบบ Heavy Rail ที่มีขนาดใหญ่หรือก็คือ BTS สายสีม่วงและน้ําเงิน
และทำไมต้องเป็น โมโนเรล เรามาดูความแตกต่างระหว่างแบบเก่าและแบบใหม่กันค่ะ สำหรับประเทศไทย มี 2 สาย ได้แก่
- สายสีเหลือง เส้นทางลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร เปิดให้บริการแล้วเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2566 (เปิดให้ทดลองใช้บริการแล้ว)
- สายสีชมพู เส้นทางแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร อยู่ระหว่างก่อสร้าง คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2568
(และส่วนต่อขยายเมืองทองธานี, อิมแพ็ค เมืองทองธานี, ทะเลสาบเมืองทองธานี)
ซึ่งของไทยเป็นสายสีชมพูเลือกใช้ รุ่น อินโนเวีย โมโนเรล 300 จากอัลสตอม (บอมบาร์ดิเอร์ เดิม) ผลิตโดยซีอาร์ซี ผู่เจิ้น อัลสตอม ทรานสปอร์เทชัน เท็ม (CRRC-PATS) ในมณฑลฮุย ประเทศจีน ขนาดกว้าง 3.147 เมตร ยาว 11.8-13.2 เมตร สูง 4.06 เมตร (เมื่อคอมรางทั้งหมด) จุผู้โดยสารสูงสุด 356 คนต่อตู้ร่อน
ระบบเดินรถ
ในการเดินรถไฟฟ้าได้นําระบบอาณัติสัญญาณ CITYFLO 650 ซึ่งเป็นระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการควบคุมการเดินรถโดยอัตโนมัติ เพื่อให้การบริการมีประสิทธิภาพ, สะดวกรวดเร็ว, ปลอดภัยสูงสุด และรองรับการเดินรถไฟฟ้าแบบไม่ใช่คนควบคุมขบวนรถ (Driverless Operation)
(https://th.wikipedia.org/)
การทำงานขอมันก็จะวิ่งบนรางเหล็ก คอนกรีต จะเป็นรางเดี่ยวหรือรางคู่ก็ได้ ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ส่งกำลังผ่านล้อยางไปยังรางรถไฟฟ้า และข้อดีก็มีเยอะมาก ๆ อีกด้วย เช่น
- ไร้คนขับเพราะควบคุมผ่านระบบราง
- กินพื้นที่น้อยกว่ารถไฟฟ้าประเภทอื่น ๆ จึงสามารถก่อสร้างบนพื้นที่จำกัดได้
- เลี้ยววงแคบได้ จึงสามารถวิ่งไปตามเส้นทางที่มีสิ่งกีดขวางได้
- ประหยัดพลังงานมากกว่ารถไฟฟ้าประเภทอื่น ๆ
- เพิ่มคุณภาพชีวิตคนเมืองให้สะดวกสบายยิ่งขึ้น
แต่ใช้ว่าจะมีแต่ข้อดี เพราะข้อเสียก็มีเหมือนกัน เพราะว่าขบวนที่เล็กลง จึงทำให้รองรับผู้โดยสารได้น้อย และอาจจะมีข้อบำรุงรักษาค่อนข้างสูง
รถไฟฟ้า โมโนเรล เป็นระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงาน เหมาะสำหรับเส้นทางที่มีพื้นที่จำกัดหรือเส้นทางที่มีสิ่งกีดขวาง
บทความอื่น ๆ