ช่วงเดือนเทศกาลอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยส่วนมากมีสาเหตุมาจากผู้ขับรถมีอาการเมาแล้วขับ ไม่ว่าจะเป็นการดื่มแอลกอฮอล์เพียงเล็กน้อยไป หรือไปจนกระทั่งเมาไม่ได้สติ เพราะว่าแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ในการกดประสาท ทำให้สติสัมปัญชัญญะในการตัดสินใจลดน้อยลง บวกกับตาลายทำให้เกิดอุบัติเหตุแล้วถ้าเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา โทษของการกระทำนั้นมีเช่นไร วันนี้เรามาดูกัน
Highlights
- ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดไม่เกิน 50 มิลลิกรัม
- ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี (ครั้งแรก) ถึง 3 ปี
- ปรับตั้งแต่ 5,000 – 200,000 บาท
- ประกันไม่รับผิดชอบ กรณีเกิดอุบัติเหตุ
ระดับปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด (มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ หน่วยวัด)
- 30 มีอาการสนุกสนาน ร่าเริงกว่าปกติ การยับยั้งชั่งใจลดลง
- 50 การมองเห็นลดลง ความสามารถในการควบคุมร่างกายช้าลง
- 100 คลื่นไส้ อาเจียน เดินเซ พูดไม่รู้เรื่อง การตอบสนองและตัดสินใจช้าลง
- 200 สูญเสียความจำบางส่วน เศร้า อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย
- 300 มองไม่ชัด มึนงง ควบคุมสติไม่ได้ หายใจลำบาก หัวใจเต้นผิดปกติ
- 400 ตาพร่า ขาดสติโดยสมบูรณ์ หมดสติ อาจถึงขั้นเสียชีวิต
ปริมาณแอลกอฮอล์สำหรับผู้ขับขี่ตามกฎหมายต้องไม่เกิน 50 มก.% หรือหมายถึง - การดื่มเหล้า 3 ฝา (ฝาละ 10 มล.)
- เบียร์ 1 กระป๋อง (330 มล..)
- ไวน์ ครึ่งแก้ว (150 มล.)
โดยปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับเพศ ส่วนสูง และน้ำหนัก
เกณฑ์การวัดแอลกอฮอล์
ผู้ขับขี่มีอายุน้อยกว่า 20 ปีบริบูรณ์ หรือมีใบอนุญาตขับรถชั่วคราว หรือมีใบขับขี่สำหรับรถประเภทอื่น หรือไม่มีใบอนุญาตขับขี่ หรือถูกพักใบอนุญาตขับขี่ ถ้ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ให้ถือว่าเมาสุราเลย
แต่ถ้าเป็นผู้ที่อายุมากกว่า 20 แล้วมีใบขับขี่ปริมาณเแอลกอฮอล์ในเลือด 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ก็ถือว่าเมาสุราเช่นกัน
โทษ เมาแล้วขับ ตามกฎหมาย
1.ปฏิเสธเป่าแอลกอฮอล์ ถือว่าเมาแล้วขับ โทษ : จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับสูงสุด 20,000 บาท และถูกพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ
2.ผู้ขับขี่ทั่วไป โทษ : จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5,000 – 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
3.เมาแล้วขับรถ ชนคนอื่น ชนและบาดเจ็บ โทษ : จำคุกตั้งแต่ 1 – 5 ปี ปรับ 20,000 – 100,000 บาท และถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
4.เมาแล้วขับ ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย มีโทษจำคุก 3 – 10 ปีปรับตั้งแต่ 60,000 – 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับและศาลสามารถสั่งเพิกถอนใบขับขี่เลย
ประกัน
อีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญ คือ ถ้าเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่ผู้ขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์ เกินกว่ากำหนด ทางประกันจะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น จะเป็นค่าสินไหมทดแทน ค่าประกันตัว หรือค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีทางศาล โดยผู้ขับขี่จะต้องเป็นผู้จ่ายเองทั้งสิ้น
ทั้งนี้ การขับรถบนท้องถนน เป็นสิ่งที่ทุกคนควรร่วมกันรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เราควรท่องไว้ในใจเสมอว่า ตั้งสติ ก่อนสตาร์ท เมาแล้วไม่ขับรถ จาก สสส. ล้อเล่นนะครับ แต่เมาไม่ขับนะครับ!