มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จส่งเสริมความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นโรคที่เกิดกับผู้คนนับล้านทั่วโลกที่องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) คาดการณ์ว่าจำนวนผู้ป่วยทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 139 ล้านคนในปี 2593
ซึ่ง ดร. Gabrielle Walcott-Bedeau ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายวิชาการและกิจการนักศึกษา รองศาสตราจารย์จากภาควิชาสรีรวิทยา ประสาทวิทยา และพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ (SGU) ซึ่งเป็นสถาบันระดับนานาชาติที่โดดเด่นด้านการศึกษาในระดับโลก รวมถึงมีคณะแพทยศาสตร์ ที่ได้รับการรับรองด้านการแพทย์จาก Grenada Medical and Dental Council (GMDC) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับจาก World Federation for Medical Education (WFME) องค์กรสากลที่รับรองมาตรฐานหลักสูตรแพทย์ทั่วโลก ได้แบ่งปันความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมและมาตรการป้องกันโรคอัลไซเมอร์
ทำความเข้าใจโรคอัลไซเมอร์
การเป็นโรคอัลไซเมอร์ส่งผลให้ความจำเสื่อมลงอย่างช้า ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะแย่ลงตามกาลเวลา โดยเซลล์สมองจะค่อย ๆ ถูกทำลาย สาเหตุมาจากการสะสมของโปรตีนผิดปกติ และผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์อาจมีชีวิตอยู่ได้นานกว่าสิบปีโดยที่อาการยังไม่แสดงชัดเจน นอกจากนี้ เมื่อเซลล์สมองตาย โรคนี้จะกระทบสมองในส่วนความจำ ซึ่งจะมีอาการเริ่มแรกที่สังเกตเห็นได้ชัดคือการสูญเสียความทรงจำ โดยเฉพาะความจำที่เพิ่งเกิดขึ้นล่าสุด
ความกังวลด้านสุขภาพระดับโลก
โรคอัลไซเมอร์สามารถพบได้ง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุกว่า 80% ทั่วโลก โดยมีผู้ป่วยมากกว่า 50 ล้านคน ตามข้อมูลจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมในประเทศไทยประมาณ 700,000 คน ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ประมาณ 500,000 คน
สาเหตุและการป้องกัน
จากการวิจัยมากมายเกี่ยวกับสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ พบว่ายังมีวิจัยที่สามารถยืนยันสาเหตุที่แน่ชัดของโรคนี้ได้ แต่ด้านนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเกิดจากพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิต ซึ่งจากการวิจัยหลายฉบับได้เผยถึงความสำคัญของการดูแลตัวเองที่อาจจะสามารถลดความเสี่ยงหรือชะลอการเกิดโรคนี้ได้ โดยประกอบไปด้วย:
– การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์: โภชนาการด้านอาหารมีความสำคัญต่อสุขภาพสมอง ซึ่งการรับประทานอาหารที่มีผลไม้ ถั่ว และไฟเบอร์สูง อาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ได้
– การออกกำลังกาย: การออกกำลังกายเป็นประจำส่งผลดีกับทั้งร่างกายและสมอง โดยมีกิจกรรมให้ทำหลากหลาย เช่น การเดิน การว่ายน้ำ หรือการเล่นโยคะ ที่สามารถช่วยพัฒนาการทำงานของสมองและลดความเสี่ยงที่จะสูญเสียความจำได้
– การมีส่วนร่วมทางสังคม: การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในแง่บวกและในทางที่ดีนั้น ส่งผลดีต่อสุขภาพสมอง ไม่ว่าจะเป็นการใช้เวลาอยู่กับครอบครัว การทำกิจกรรม หรือการมีส่วนร่วมชุมชนที่อยู่อาศัย โดยการทำกิจกรรมร่วมกับคนทั่วไปสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ (SGU)
บทความที่น่าสนใจ
สมองล้า เพลีย ความจำแย่ลง! แนะ 5 สารอาหารบำรุงสมอง
ใครเป็นบ้าง? “ภาวะนอนไม่หลับ” สมองไม่หยุดคิด เครียดไม่รู้ตัว