ในอ่าวแสมสารนั้นมีเกาะแก่งน้อยใหญ่มากมาย แต่เกาะใหญ่ๆ ที่เห็นได้เด่นชัดคือ เกาะแสมสาร เกาะขาม เกาะแรด และ เกาะคู่แฝด คือ เกาะจวง เกาะจาน เพื่อนๆ ทราบหรือไม่ว่า ใต้น้ำ แสมสาร นั้นมีอะไร
สำหรับนักดำน้ำมืออาชีพแล้วคงมาดำที่แสมสารบ่อยมากครั้ง ด้วยเหตุที่ใกล้กรุงเทพฯ น้ำทะเลใสแจ๋ว และมีสิ่งให้ค้นหามากมาย โดยเริ่มจาก
น้องนีโม่ หรือปลาการ์ตูน กลายเป็นชื่อทางการไปแล้วสำหรับปลาการ์ตูน (crown fish) จะมีสีสันส้มเข็มสลับขาวเป็นเอกลักษณ์ของปลาชนิดนี้ แต่จริงๆ แล้วมี 3 สายพันธุ์นะ สำหรับปลาการ์ตูนนี้ น้องนีโม่ที่ ใต้น้ำ แสมสาร นี่อยู่กับปะการังอ่อนที่เป็นบ้านของมัน สำหรับที่แสมสารนี้อยู่ในความดูแลของทหารเรือ จึงทำให้เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลเป็นอย่างยิ่ง ทำให้กลุ่มครอบครัวที่มีเด็กเล็กสามารถเข้ามาฝึกดำน้ำ และชื่นชมกับความสวยงามใต้ทะเลได้อย่างไม่อันตราย
น้องนูดี้ หรือทากทะเล (Nudibranch) เป็นสัตว์ทะเลที่น่ารักมากที่สุดชนิดหนึ่ง และไม่ใช่ว่าจะเจอกันได้ง่ายๆ ต้องด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทะเล ทั้งน้ำ แสง และองค์ประกอบรวมของปะการัง ทำให้มันมีสีสันที่สวยงาม หลากสี บางตัวมีหาง และเขามากมายก็มี แต่ที่แน่ๆ การจะเจอไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องดำน้ำลึกแบบสคูบ้า และต้องโปรมากด้วยนะถึงจะเจอ แต่ด้วยความสมบูรณ์ของน้ำที่นี่ ทำให้พบได้ง่ายขึ้น เชื่อเราเถอะ ไปดำน้ำหาเจ้าตัวน่ารักๆ นี่
ฝูงปลาเล็กปลาน้อย การดำน้ำตื้นของน้องๆ ต้องสนุกมากขึ้นกับฝูงปลาที่ว่ายมาข้างๆ ทำให้เราได้แช๊ะภาพสวยๆ กันมากมาย เพราะที่แสมสารนี้มีปะการังเป็นที่อาศัยและเจริญเติบโตของเจ้าตัวน้อย ครอบครัวทุกท่านต้องพาน้องๆไปถ่ายรูปกันนะ การดำน้ำแบบสน๊อกเกิลมันง่ายมาก แถมพี่ๆ ทหารเรือ หรือมนนุษย์กบก็ดูแลเป็นอย่างดี
ปะการัง ที่แสมสารนี้มีปะการังที่สมบูรณ์อยู่เยอะ อย่างที่บอก พี่ทหารเรือแบ่งแนวเขตอนุรักษ์ไว้ เพราะทราบกันดีว่าระบบนิเวศของปะการังมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบนิเวศทั้งหมด อีกทั้งยังเป็นแหล่งอาศัยของพืชและสัตว์ใต้ทะเลนี้ ช่วยลดความรุ่นแรงของคลื่น ซึ่งที่แสมสารนี้มีดงปะการังโขดขนาดใหญ่ มีทั้งปะการังสมอง ปะการังเขากวาง มีปะการังโต๊ะแผ่นใหญ่ให้ได้ชม รวมถึงปะการังอ่อนที่โบยบินอยู่ใกล้น้ำให้น้องนีโม่อยู่อีกด้วย ส่วนกัลปังหาก็มีมีอยู่บ้าง ถึงจะไม่ค่อยมากมายเหมือนทางอันดามันเหนือ แต่ความเข็มของสีสันและแสงของแดดที่ส่องลงมามันก็ทำให้เราได้ชื่นใจแล้ว
และเป็นข่าวดีอย่างยิ่งสำหรับที่แสมสาร และรวมถึงประเทศไทยด้วย คือ มีการค้นพบปะการังสายพันธุ์ใหม่ที่พบได้ในบริเวณหมู่เกาะแสมสาร และที่หมู่เกาะแถวพัทยา จ.ชลบุรี ที่ระดับความลึกตั้งแต่ประมาณ 8 –19 เมตร ขนาดของปะการังสูงประมาณ 4 เซนติเมตร ปะการังชนิดนี้ชอบอาศัยในบริเวณที่มีกระแสน้ำไหล เนื่องจากสามารถจับหาอาหารบริเวณนี้ได้เป็นอย่างดี โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงพระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้ชื่อว่า “สิรินธรเน่” (sirindhornae) ซึ่งเป็นชื่อตามพระนามขององค์ประธานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
Credit: https://www.facebook.com/Dongsnorkeling
https://www.facebook.com/jbsnorkeling
https://www.facebook.com/SamaeSanSonrkeling
ไปให้ถึง 5 สุดยอดจุดชมวิวทะเลไทย คลิกเลย