More

    ย้อนรอยความขัดแย้ง “อิสราเอล-ปาเลสไตน์” ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

    ย้อนรอยความขัดแย้ง “อิสราเอลและปาเลสไตน์” ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

    อิสราเอลและปาเลสไตน์

    กลายเป็นข่าวใหญ่ระดับโลก สำหรับการโจมตีอิสราเอล จากกลุ่มติดอาวุธฮามาส ชาวปาเลสไตน์ ที่ได้ปล่อยขีปนาวุธกว่า 5,000 ลูก ถล่มอิสราเอล ในวันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่าน ก่อให้เกิดการสู้รบที่รุนแรง วันนี้เราจะพาทุกคนมาย้อนรอยความขัดแย้งระหว่าง “อิสราเอลและปาเลสไตน์” ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

    ชาวยิวกับดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่พระเจ้าทรงมอบให้

    ตามความเชื่อทางศาสนาของชาวยิว ดินแดนปาเลสไตน์ (อิสราเอลในปัจจุบัน) เป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่พระเจ้าทรงสัญญาว่าจะมอบให้แก่ชาวยิว ตามบันทึกในพันธสัญญาเดิมของคัมภีร์ไบเบิล และในอดีตชาวยิวก็ได้อาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้เป็นเวลาหลายพันปี ก่อนที่จะเกิดสงครามแย่งชิงพื้นที่กันหลายต่อหลายครั้ง ทำให้ชาวยิวต้องกระจัดกระจายไปอาศัยอยู่ตามที่ต่าง ๆ ทั่วโลก แต่ก็ยังคงมีความปรารถนาที่จะกลับคืนสู่ดินแดนแห่งบรรพบุรุษของพวกเขา

    กำเนิดปาเลสไตน์

    ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 เยรูซาเลมและพื้นที่โดยรอบ ถูกปกครองโดยมหาจักรวรรดิออตโตมัน (ตุรกีในปัจจุบัน) และตั้งชื่อพื้นที่นี่ว่า “ปาเลสไตน์” ชาวอาหรับที่เข้ามาอาศัยจึงถูกเรียกตามชื่อดินแดนนี้ว่าชาวปาเลสไตน์ แต่ชาวอาหรับเหล่านี้ก็เป็นเพียงแค่ผู้อาศัยเท่านั้น มิได้เป็นเจ้าของดินแดนแต่อย่างไร

    จุดเริ่มต้นของความขัดแย้ง

    ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษได้ทำสนธิสัญญาบัลฟอร์กับชาวยิวว่า หากช่วยกันรบจนชนะจะมอบดินแดนปาเลสไตน์ให้ ชาวยิวที่ตั้งใจจะก่อตั้งประเทศอยู่แล้ว และต้องการกลับมาสู่ที่เดิมของบรรพบุรุษ จึงช่วยรบอย่างเต็มที่ จนอังกฤษที่อยู่ฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะในสงครามครั้งนั้น

    ดินแดนปาเลสไตน์ที่เคยเป็นของจักรวรรดิออตโตมันจึงตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ และอังกฤษก็ได้อนุญาตให้ชาวยิวเข้ามาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ปาเลสไตน์

    ชาวอาหรับที่เป็นชนกลุ่มใหญ่ที่อาศัยอยู่ในปาเลสไตน์มาก่อน จึงเกิดความไม่พอใจ ที่จะมีคนต่างถิ่นต่างศาสนาย้ายเข้ามาอาศัย ชาวอาหรับมองว่าดินแดนปาเลสไตน์เป็นบ้านเกิดของพวกเขาหลายร้อยปี และมองว่าชาวยิวเป็นกลุ่มผู้บุกรุกที่จะเข้ามายึดครองดินแดนของพวกเขา ทำให้รู้สึกว่าถูกเอาเปรียบและไม่ปลอดภัย จึงเริ่มใช้ความรุนแรงในการขับไล่ชาวยิวเพื่อให้ออกไปจากดินแดนของตน และนี่เองก็เป็นชนวนเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้งมาตลอดหลายสิบปี

    ดินแดนปาเลสไตน์ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน

    ความขัดแย้งระหว่าง 2 เชื้อชาติได้มีมาอย่างต่อเนื่อง และทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น เพราะชาวยิวเองก็อ้างตัวว่าบรรพบุรุษได้อาศัยอยู่ที่ดินแดนนี้มานานกว่า 1,000 ปี จึงมองว่าตนเองมีสิทธิในดินแดนนี้เช่นกัน

    ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สหประชาชาติ (UN) ได้ถูกก่อตั้งขึ้น และได้เข้ามามีบทบาทในการยุติความขัดแย้งของ 2 เชื้อชาตินี้ โดยมีมติให้แบ่งดินแดนปาเลสไตน์ออกเป็น 2 ส่วน ให้แก่ชาวปาเลสไตน์ (อาหรับ) และชาวยิว โดยมีนครเยรูชาเลม เป็นพื้นที่อิสระ ไม่ตกอยู่ในความครอบครองของใคร

    เมื่อชาวยิวได้พื้นที่ไปตามมติของสหประชาชาติ ก็ได้ทำการประกาศเอกราชและตั้งชื่อว่า “ประเทศอิสราเอล” เมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2491 แต่ชาวปาเลสไตน์กลับไม่เห็นด้วยกับมติของสหประชาชาติ รวมไปถึงชาติอาหรับโดยรอบพื้นที่ทั้งอียิปต์ จอร์แดน ซีเรีย เลบานอน และอิรัก ก็เข้ากับทางฝั่งปาเลสไตน์

    สงคราม 6 วัน (Six-day war)

    เมื่ออิสราเอลประกาศเอกราชแล้ว นั่นก็แปลว่าพวกเขาจะไม่ได้รับความคุ้มครองจากอังกฤษอีกต่อไป และชาวปาเลสไตน์เองก็ไปจับมือกับชาติอาหรับพื้นที่โดยรอบทั้งหมด และในปี 2510 จึงเกิดสงครามระหว่างอิสราเอล และชาวอาหรับ (ปาเลสไตน์ อียิปต์ จอร์แดน ซีเรีย เลบานอน และอิรัก) ที่เรียกว่า สงคราม 6 วัน หรือ Six-day war

    แม้จะโดนรุมจากหลายชาติ แต่อิสราเอลก็สามารถป้องกันประเทศจากการรุกล้ำเอาไว้ได้ และยังโต้กลับคืน โดยการบุกยึดดินแดนของอาหรับบางส่วนมาได้ รวมไปถึงพื้นที่ในฉนวนกาซ่าและเขตเวสต์แบงค์อีกด้วย ชัยชนะครั้งนี้อิสราเอลใช้เวลาในการรบเพียง 6 วันเท่านั้น หลังจบสงครามครั้งนี้ พื้นที่ของชาวปาเลสไตน์จึงเหลืออยู่เพียงน้อยนิดเท่านั้น

    Palestine Liberation Organization (PLO)

    ชัยชนะจากสงคราม 6 วัน ทำให้ปาเลสไตน์ไม่พอใจเป็นอย่างมาก จึงได้ก่อนตั้งองค์กร “การปลดปล่อยปาเลสไตน์” หรือ Palestine Liberation Organization (PLO) โดยมีผู้นำคือ “ยัตสเซอร์ อาราฟัต (Yasser Arafat) พร้อมกับความตั้งใจที่จะสู้รบแบบกองโจร ซึ่งสร้างความวุ่นวายในอิสราเอลอย่างต่อเนื่องมาอีกหลายสิบปี

    เหตุการณ์อินติฟาเฎาะฮ์ (Second Intifada)

    ในช่วงปี 2530 – 2536 ได้เกิดเหตุการณ์ครั้งสำคัญ ที่ชื่อว่า First Intifada เมื่อมีชาวอิสราเอลขับรถชนชาวปาเลสไตน์ 4 คนเสียชีวิต ทำให้เกิดการประท้วงของชาวปาเลสไตน์อย่างดุเดือดกินเวลาถึง 6 ปี เหตุการณ์ในครั้งนี้ ทำให้มีชาวอิสราเอลเสียชีวิต 277 ราย และชาวปาเลสไตน์เสียชีวิตถึง 1,962 ราย

    Intifada ครั้งที่ 2 ช่วงปี 2543 – 2548 ผู้นำฝ่ายค้านของอิสราเอล พร้อมด้วยทหารและตำรวจ ได้เข้าไปยังมัสยิดในนครเยรูซาเลม สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ลำดับที่ 3 ของศาสนาอิสลาม ทำให้ชาวปาเรสไตน์เกิดความไม่พอใจอย่างมาก มองว่าเป็นการรุกล้ำดูหมิ่นศาสนา รวมถึงจงใจยั่วยุให้เกิดความรุนแรง เป็นเหตุให้เกิดการปะทะและกลายเป็นความรุนแรงที่ลากยาวต่อมาเป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี

    นับตั้งแต่นั้นมาอิสราเอลจึงได้ใช้มาตรการที่เข้มงวดและรุนแรง ในการขับไล่ชาวปาเลสไตน์ออกจากพื้นที่ในนครเยรูซาเลม โดยอ้างว่าเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรงขึ้นอีก

    กลุ่มฮามาส (Hamas)

    ในช่วงเวลาที่มีเหตุการณ์อินติฟาเฎาะฮ์ ครั้งที่ 1 มีกลุ่มชาวปาเรสไตน์หัวรุนแรงบางส่วน มองว่า PLO อ่อนแอเกินไป จึงได้มีการก่อตั้งกลุ่มใหม่ขึ้นมาอีกกลุ่มในชื่อ “กลุ่มฮามาส” ซึ่งเป็นกองกำลังติดอาวุธที่ต้องการทำลายล้างอิสราเอลให้สิ้นซาก แม้ฝั่งนานาชาติจะพยายามเข้ามาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทอยู่หลายครั้ง แต่ทางกลุ่มฮามาสก็ไม่ยินยอมรับข้อเสนอแต่อย่างใด

    ในปี 2007 เกิดสงครามแห่งฉนวนกาซ่า ซึ่งเป็นสงครามภายในของปาเลสไตน์ ระหว่างกลุ่ม PLO และกลุ่มฮามาส และชัยชนะได้ตกเป็นของกลุ่มฮามาส เมื่อรบกันเองจบแล้ว กลุ่มฮามาสจึงได้หันไปโจมตีอิสราเอลต่อ และก็มีการปะทะกันอยู่อย่างต่อเนื่องจนมาถึงเหตุการณ์ในปัจจุบัน

    _____

    ติดตาม Inzpy ได้ที่
    Website:
    https://inzpy.com/travel/
    Youtube:
    https://www.youtube.com/c/Inzpy
    Facebook:
    https://www.facebook.com/inzpyth

    fahwoww
    fahwoww
    สิ่งแรกที่ทำหลังกลับจากเที่ยว คือ วางแพลนทริปถัดไป ^..^ เรื่องกิน เรื่องเที่ยว ขอให้บอกงานถนัด

    Related Post