More

    นิทรรศการ ศิลปะดิจิตอล  ผลงานเสมือนจริงจากไต้หวัน 

    WITHIN Taiwan’s Selected VR Works นิทรรศการ ศิลปะดิจิตอล  ผลงานเสมือนจริงจากไต้หวัน 

    นิทรรศการ “WITHIN Taiwan’s Selected VR Works” เป็นการทำงานครั้งแรกระหว่าง ศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล (FAAMAI) ศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมูลนิธิศิลปะดิจิตอล (Digital Art Foundation) โดยทั้ง 2 องค์กรต่างมีจุดประสงค์เดียวกัน คือ  เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมศิลปะ ตลอดจนยกระดับชีวิตเกี่ยวกับศิลปะดิจิตอลในสังคมขึ้นนั่นเอง

    สำหรับ “WITHIN Taiwan’s Selected VR Works” เป็นผลงานเสมือนจริง จาก ไต้หวัน ซึ่งนำมารวมกันเพื่อนำเสนอการใช้ VR ที่เพิ่มมากขึ้นในหลายสาขา และสร้างผลงานอันหลากหลายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ภาพยนตร์, Sound Arts จนถึง Contemporary Dance โดยผลงานที่นำมาจัดแสดงมี 3 ชุด มีดังนี้

    1.ผลงาน Throbbing Sonic (ความยาว 10 นาที)

    WITHIN Taiwan’s

    แนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน มาจากการ Hybrid Modulation ที่สัมพันธ์กับกระบวนการสร้างภาพ ตลอดการทำงานอย่างต่อเนื่องระหว่างเสียงและการมองเห็น

    โดย C-LAB Taiwan Sound Lab ใช้การผสมเสียง แบบสามมิติในระบบ Spat stereoscopic ร่วมกับคลังเสียงสเตอริโอที่สมบูรณ์แบบ เพื่อควบคุมแหล่งที่มาของเสียงในพื้นที่ทางกายภาพ ซึ่งสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมเสมือนแบบสามมิติ เพื่อสร้างข้อมูลเอฟเฟ็กต์แบบ glitch ในภาพวิดีโอซซึ่งไม่ได้เตรียมเอาไว้ล่วงหน้า

    WITHIN Taiwan’s

    และเมตริกซ์เสียงที่ใช้ในนิทรรศการครั้งนี้ ทำขึ้นจากลำโพงขนาด 16.2 ซึ่งออกแบบเน้นในเชิงวัตถุ ช่วยให้วัตถุในสภาพแวดล้อมเสมือนจริงสะท้อนความดันเสียง (Acoustic Pressure) และความถี่เสียง (Sound Frequencies) ที่แตกต่างกันไปตามระยะทาง และทิศทางที่สอดคล้องกันในโลกแห่งความเป็นจริง ผู้ชมทุกท่านจะได้พบประสบการณ์ภาพและเสียงที่แตกต่างกัน เพราะขึ้นอยู่กับระดับการมีส่วนร่วมในนิทรรศการ

    2.ผลงาน The Scenery of Flesh Blood (ความยาว 5 นาที)

    WITHIN Taiwan’sผลงานนี้ศิลปินใช้วิธีการเรียงซ้อนต่อของนักแสดง เพื่อเป็นตัวแทนของภูมิทัศน์เชิงจิตวิญญาณของการเชื่อมต่อระหว่างผู้คนกับพระเจ้า แต่เพราะระยะทางที่ห่างจากผู้ชม การแสดงในโรงละครทั่วไปจึงไม่สามารถถ่ายทอดความรู้สึกของพิธีกรรมและภูมิทัศน์เชิงจิตวิญญาณในระดับที่เล็กมากได้อย่างชัดเจน

    ผลงาน “The Scenery of Flesh Blood” จึงเป็นการนำเสนอผลกระทบทางจิตวิญญาณและพิธีกรรม ตลอดการแสดงที่นักแสดงเรียงซ้อนต่อตัวและสัมผัสใกล้ชิดกับภาพตัวแทน (Avatar) นั่นเอง แถมผลงานนี้ไม่เพียงนำเสนอความอัศจรรย์เหนือจริงของเลือดเนื้อ แต่ยังทำให้ผู้ร่วมชมได้สัมผัสกับภูมิทัศน์เชิงจิตวิญญาณอีกด้วย

    3.ผลงาน Afterimage for Tomorrow (ความยาว 20 นาที)

    WITHIN Taiwan’s

    ภาพยนตร์ VR เรื่อง Afterimage for Tomorrow เป็นประสบการณ์เสมือนจริงที่เล่าเรื่องของชายคนหนึ่งที่ตื่นขึ้นมาที่ไหนสักแห่งในจิตสำนึกของเขา โดยสิ่งที่เขาได้เห็นได้ยินกลับเป็นแค่ความทรงจำ ความฝัน หลังความตาย

    ขณะที่ตัวเอกของเรื่องได้ย้อนกลับไปเยือนจุดหนึ่งของชีวิต ในช่วงเวลาหนึ่งที่แสงสว่างปรากฏขึ้น ณ ที่นั้น คือที่ว่างเปล่าไร้ซึ่งเหตุผล และเวลาก็ไม่เรียงตามลำดับก่อนหลัง

    ที่สำคัญภาพยนตร์เรื่องนี้เล่าย้อนถึงความคิดที่มิอาจอธิบายได้ ซึ่งมีต่อความทรงจำต่าง ๆ โดยใช้การเต้น เป็นการเล่าเรื่องผ่านสื่อที่เป็นภาพนั่นเอง

    WITHIN Taiwan’s Selected VR Works จะเริ่มจัดแสดงระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน – 16 กรกฎาคม 2565 เวลา 10.00 – 17.30 น. (ปิดทุกวันอาทิตย์) ณ  ชั้น 2 และ 3 Art4C, Gallery and Creative Learning Space  รวมถึงจะมีการจัดกิจกรรมเสวนาขึ้นในวันที่ 14 มิถุนายน 2565 เวลา 14.00  น. ณ ชั้น 1 ห้องอเนกประสงค์ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร หากสนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  www.faa.chula.ac.th หรือ www.facebook.com/CUArt4C/

     

    อัปเดตคอนเทนต์ใหม่ ๆ ทาง LINE ฟรี
    Add friend ที่ ID : @inzpy (มี@นำ)เพิ่มเพื่อน

    บทความน่าสนใจ : 5 แอปฯ แต่งบ้าน ที่ควรมีไว้ในมือถือ

    Related Post