More

    พระเมรุมาศสถาปัตยกรรมแสนเลิศค่า

    รู้หรือไม่การก่อสร้างพระเมรุมาศ มาจากความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ ที่เปรียบพระมหากษัตริย์เป็นอวตารภาคหนึ่งของเทพเจ้าหรือเป็นพระโพธิสัตว์ในร่างของมนุษย์ เมื่อเสด็จสวรรคตแล้วพระองค์จะกลับคืนสู่สวรรค์พิภพ ซึ่งอยู่บนเขาพระสุเมรุ ใจกลางของจักรวาล จากแนวคิดนี้จึงมีการจำลองเขาพระสุเมรุมาเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพ เรียกกันว่า พระเมรุมาศ หรือ พระเมรุ เพื่อส่งดวงพระวิญญาณกลับสู่ทิพยพิมาน

    ธรรมเนียมการปลงศพ มีมาแต่สมัยสุวรรณภูมิ อันเป็นการระลึกถึงผู้วายชนม์ที่ได้ถอดดวงจิตออกเดินทางไปสู่ภพภูมิใหม่ แสดงให้เห็นถึงพลังสำคัญที่ครอบทับจิตใจมนุษย์ก็คือ “ความรักและความผูกพัน” ของผู้ยังดำรงอยู่ที่มีต่อชีวิตอันเป็นที่รักได้จากไป ผ่านการจัดพิธีกรรมทรงพลังในการส่งบุคคลอันเป็นที่รักให้เดินทางไปสู่ภพภูมิใหม่ จากธรรมเนียมการปลงศพ สู่งานพระราชพิธีอันเกี่ยวเนื่องกับ “งานพระเมรุ” ในช่วงสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์

    พระเมรุ เป็นสถาปัตยกรรมเฉพาะกิจที่รวมความเป็นเอกของสถาปัตยกรรมไทย และศิลปะเกี่ยวเนื่องในทุกๆด้าน เนื่องจากเป็นอาคารประกอบพระราชพิธีของกษัตริย์และ พระบรมวงศ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงพระราชอำนาจแห่งเทวราชาและคติความเชื่อด้านต่างๆ จึงถ่ายทอดออกมาเป็นสถาปัตยกรรมเฉพาะกิจที่ต้องก่อสร้างและรื้อถอนได้เร็ว แต่ทว่า สามารถแสดงออกถึงแนวความคิดและการใช้สอยได้อย่างครบถ้วน

    การสร้างพระเมรุได้อ้างอิงถึงรูปแบบของพระเมรุในสมัยอยุธยาอันเป็นต้นเค้า ของพระเมรุในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จนกระทั่งถึงงานพระเมรุใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ซึ่งถือได้ว่าเป็นพระเมรุฐานานุศักดิ์สูงสุดหลังสุดท้าย ที่ได้ถูกก่อสร้างขึ้นตามกระบวนทัศน์แบบเก่า ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวอยู่บนเส้นทางของการ เปลี่ยนแปลง การปรับตัวทั้งทางกายภาพ และกระบวนทัศน์ให้สอดรับกับบริบททางสังคม วัฒนธรรม สภาพเศรษฐกิจ การเมืองการปกครองและ องค์ความรู้ใหม่ ในสมัยรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕  จนกระทั่งสิ้นสุดรัชกาลพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งกระบวนทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงได้แสดงออกอย่างเต็ม ภาคภูมิผ่านพระเมรุมาศของพระองค์ที่ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยต่อความเปลี่ยนแปลง ด้วยพระองค์เอง

    ความเป็นมาของพระเมรุมาศพระเมรุมาศสถาปัตยกรรมเลิศค่า

    ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ และพระบรม
    วงศานุวงศ์ชั้นสูงซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ได้รับอิทธิพลมาจากกระบวนการภารตะวิวัฒน์
    (Indianization) มาสู่ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังการขุดค้นทางโบราณคดีสมัย
    ก่อนประวัติศาสตร์จะเห็นว่ามีพิธีกรรมสำหรับผู้ตายที่แตกต่างไป กล่าวคือจะใช้การฝังศพ
    จนกระทั่งดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ทำการติดต่อรับเอาเอาอารยธรรมจากอินเดีย
    ทั้งที่อาจรับมาโดยตรง หรือรับผ่านพื้นที่ข้างเคียง จึงมีการจัดการพิธีศพด้วยวิธีการเผา
    ไม่ว่าจะเป็นคนธรรมดาหรือผู้สูงศักดิ์ก็ตาม

    สำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ที่อุบัติขึ้นในลัทธิเทวราชา ในพิธี
    กรรมต่างๆ จึงมีกระบวนการสร้างสิทธิธรรมเพื่อแสดงออกซึ่งสัญลักษณ์ของกษัตริย์ภาพ
    (Kingship) ด้วยวิธีการที่แตกต่างกันไปสำหรับพิธีกรรมที่เนื่องในการเปลี่ยนผ่านจากความ
    เป็นมนษยุ ์กลับไปเป็นเทพที่อยู่บนสวรรค์อีกครั้ง ดังคำศัพท์คำว่า “สวรรคต” ซึ่งแปลความ
    ตามรากศัพท์จึงหมายความว่า “ไปสวรรค์” ตามคำสามัญ หรือ “เสด็จสู่สวรรคาลัย” ตามคำ
    ราชาศัพท์นั่นเอง

    พระเมรุมาศสถาปัตยกรรมแสนเลิศค่า
    เมรุมาศทรงปราสาทยอดปรางค์ ภายในเป็นเมรุทองตั้งโกศศพทศกัณฐ์

    การก่อสร้างพระเมรุสำหรับการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในพื้นที่
    ประเทศไทยนั้น ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีขึ้นครั้งแรกเมื่อใด แต่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์
    สมัยอยุธยา ว่ามีการก่อสร้างขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ และในการนั้นก็มีการก่อสร้างอาคารสำหรับ
    ประกอบพิธีกรรมดังกล่าว ที่เรียกว่า “พระเมรุ” ขึ้นเพื่อเป็นสถาปัตยกรรมองค์ประธานใน
    พระราชพิธีและเป็นงานที่มีความสำคัญอย่างสูงมากอีกพิธีกรรมหนึ่งของชั่วชีวิตหนึ่งของ
    พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ เนื่องจากเป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงแนวคิดเรื่อง
    เทวราชาที่เป็นรูปแบบการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยา และแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนผ่านจาก
    การเสียกรุงศรีอยุธยาไปในปีพ.ศ. ๒๓๑๐ มาสู่กรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ก็ยงปฏิบัติ
    ตามจารีตประเพณีเก่าต่อมาเนื่องจากยังดำรงอยู่ในโลกทัศน์แบบเมื่อครั้งบ้านเมืองยังดีอยู่

    สำหรับตัวอย่าง พระเมรุในสมัยอยุธยาปรากฎหลักฐานทางศิลปกรรมเป็นชิ้นงาน
    ลงรักปิดทองรูปพระเมรุถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้าบนผนังด้านในของหอไตร
    ซึ่งทางวังสวนผักกาดได้ผาติกรรมมาจากวัดบ้านกลิ้งจ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งภาพพระเมรุ
    ดังกล่าวมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นปราสาทมีเคร่องยอดแบบที่ นักวิชาการในปัจจุบัน
    เรียกว่าทรงเมรุซึ่งคงมีที่มาจากลักษณะทางสถาปัตยกรรมของอาคารประกอบของวัด
    ไชยวัฒนารามที่เอกสารประวัติศาสตร์เรียกว่า “เมรุทิศ เมรุราย” รวมไปถึงรูปผัง

    พระเมรุมาศสถาปัตยกรรมเลิศค่า
    แผนผังพระเมรุ

    นอกจากนี้ ยังมีเอกสารโบราณร่วมสมัยกับเหตุการณ์ในสมัยอยุธยาซึ่งจัดพิมพ์
    ในหนังสือพรรณาภูมิสถานกรุงศรีอยุธยา ฉบับหอหลวง๑ ซึ่งได้รวบรวมเอกสารโบราณ
    สมัยอยุธยาจำนวนหลายเรื่องมาจัดพิมพ์ไว้ ซึ่งในบทที่ว่าด้วย “โบราณราชประเพณี” ได้
    กล่าวถึงแบบแผนการสร้างพระเมรุในสมัยอยุธยาไว้โดยละเอียด และทำให้ทราบถึงการ
    แบ่งฐานานุศักดิ์ของพระเมรุดังกล่าวไว้ด้วย ในส่วนที่ “ว่าด้วยแบบอย่างการ พระเมรุเอก
    โท ตรี”
    จากข้อมูลเอกสารดังกล่าว ทำให้ทราบว่า ชั้นพระเมรุเอกเป็นอาคารฐานานุศักดิ์
    สูงที่สุดและใช้ในงานถวายเพลิงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ส่วนงานพระเมรุโท และ
    ตรีเป็นอาคารฐานานุศักดิ์รองลงมาโดยลำดับและใช้ในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ
    พระราชินีพระบรมโอรสธิราช พระธิดา และและพระศพพระบรมวงศานุวงศ์ลดหลั่นลงมา
    ตามฐานันดรศักดิ์

    สถาปัตยกรรมและศิลปกรรม

    พระเมรุมาศสถาปัตยกรรมแสนเลิศค่า

    การออกแบบสถาปัตยกรรมพระเมรุมาศ พระเมรุ ต้องอาศัยการสร้างสรรค์ออกแบบจากผู้รอบรู้เจนจบงานศิลปกรรมของชาติ ช่างที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้จากครูบาอาจารย์ทั้งงานออกแบบรูปลักษณ์ ก่อสร้างอาคาร การคิดลวดลายขึ้นประดิษฐ์ตกแต่งทุกส่วนให้เข้ากับอาคาร โดยมีหลักเกณฑ์ที่คำนึงถึงว่าพระเมรุมาศของพระองค์ใด ที่แสดงลักษณะของพระองค์นั้น เช่น ความเป็นพระมหากษัตริย์ พระราชินี นักรบ เป็นต้น อีกทั้งการใช้ลวดลายที่สอดคล้องกับสีที่เกี่ยวกับพระองค์เป็นสำคัญ สายช่างสมัยรัตนโกสินทร์ มีอยู่ 3 สายคือ สายพระยาราชสงคราม, สายพระยาจินดารังสรรค์ และ สายสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ซึ่งกล่าวกันว่า จะมีศิษย์ผู้สืบงานศิลป์รวมทั้งอาจารย์ผู้เป็นต้นแบบ ในแต่ละสายนั้นเพียงสายละ 3 ช่วงคน

    ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นอย่างสถาปัตยกรรมไทย มีลักษณะเป็น “กุฎาคาร หรือ เรือนยอด” คือเรือนซึ่งหลังคาต่อเป็นยอดแหลม ยึดรูปแบบสถาปัตยกรรมไทย อาจมีรูปทรงปรางค์ ยอดปรางค์ อาจมีพรหมพักตร์หรือไม่มีก็ได้ หรือเป็นรูปปราสาท โดยสมมติอาคารหลังนี้เป็นพระวิมาน บางครั้งก็มีมุขยื่นออกมา เป็นมุขเดี่ยวบ้าง เป็นจัตุรมุข

    ผังอาคารและอาคารประกอบ

    พระเมรุมาศสถาปัตยกรรมแสนเลิศค่า

    แผนผังของพระเมรุมาศ มีแนวคิดจากผังของเขาพระสุเมรุ ในสมัยโบราณจะปรับพื้นที่พูนดินสร้างเขาให้มีลักษณะ ประดุจเขาพระสุเมรุก่อน แล้วจึงก่อสร้าง อาคารประกอบพระราชพิธี ส่วนประกอบอื่นอย่าง ศาลาและอาคารที่ใช้สอยต่าง ๆ มีความหมายถึงสร้างวังทั้งวังขึ้นบนเขา มีรั้วราชวัติล้อมรอบ ประดับฉัตร ธงทิว รายล้อมด้วยรูปสัตว์ต่าง ๆ เป็นการล้อเลียนธรรมชาติตามคติในเขาพระสุเมรุ และทิวเขาสัตบริภัณฑ์

    อาคารหลักคือ พระเมรุมาศ 1 องค์ และอาคารประกอบอย่าง ประดุจโบสถ์ วิหาร มีระเบียงล้อมรอบ ซึ่งเรียกว่าทับเกษตร อันมีความหมายว่า “เขตอันเป็นที่พัก” ตรงส่วนมุมคดของทับเกษตรทั้ง 4 มุมเรียกว่า “ส้างหรือสำสร้าง” เป็นที่ที่สวดอภิธรรมของพระสงฆ์ นอกจากนี้อาคารบริวาร มีราชวัติ ฉัตร ธง รายล้อม หลังส้างหรือสำส้างมีรูปสัตว์รายรอบ ถัดจากนั้นมี เสาดอกไม้ พุ่ม ดอกไม้ไฟ ส่วนพระที่นั่งชั่วคราวที่เรียกว่า พระที่นั่งทรงธรรม จะอยู่ด้านตรงข้ามพระเมรุมาศ สำหรับทรงบำเพ็ญพระราชกุศลก่อนถวายพระเพลิงพระบรมศพ

    ในบริเวณส่วนกลางของพระเมรุมาศหรือพระเมรุ จะประดิษฐานพระจิตกาธานซึ่งประดิษฐานพระโกศ พระศพ จะประดับด้วยพระโกศไม้จันทน์ และดอกไม้สดเป็นลวดลายก้าน ดอก ใบ ที่มีฝีมืออันประณีต สำหรับพระมหากษัตริย์-ราชวงศ์-ข้าราชการ ถวายพระเพลิง

    ส่วนยอดพระเมรุมาศ สามารถแสดงฐานันดรของพระศพได้จากยอด คือหากเป็นพระเมรุมาศสำหรับพระบรมศพพระมหากษัตริย์ ยอดจะเป็น “พระมหาเศวตฉัตร” หรือหากเป็นพระบรมราชวงศ์ ชั้นฉัตรก็ลดหลั่นลงมา หรืออาจไม่มีฉัตรแต่เป็นยอดนภศูลก็ได้

    งานพระเมรุในอดีตไม่ได้แสดงเพียงแต่นาฏกรรมหลังความตาย แต่ยังสะท้อนไปถึงพระราชพิธีที่เป็นหัวใจสำคัญในการตอกย้ำภาพความศักดิ์สิทธิ์ของรัฐและราชสำนัก การดึงทรัพยากรมาใช้ในสเกลใหญ่ระดับนี้เปรียบเสมือนการวัดความจงรักภักดีของหัวเมืองและประเทศราช รวมถึงเหล่าขุนนางและไพร่เมื่อมีการผลัดแผ่นดิน

    อัปเดตคอนเทนต์ใหม่ ๆ ทาง LINE ฟรี
    Add friend ที่ ID : @inzpy (มี@นำ)เพิ่มเพื่อน

    Related Post