ใครที่อยากลดดอกเบี้ยค่าบ้าน ลองมาดูการรีไฟแนนซ์บ้านกัน Inzpy มีวิธี รีไฟแนนซ์บ้าน 2566 พร้อมตารางเปรียบเทียบธนาคาร ที่ให้อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้านกับคุณคุ้มค่าที่สุดมาฝาก ไว้เป็นทางเลือกตัดสินใจว่าจะไปขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน-คอนโด กับธนาคารไหนดี
ทำไมต้องรีไฟแนนซ์ ?
ทำไมการ “รีไฟแนนซ์บ้าน” จึงเป็นวิธีที่ฉลาด ? แม้การยื่นขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านจะยุ่งยาก เพราะไม่ต่างกับการยื่นขอสินเชื่อใหม่อีกครั้ง แต่การรีไฟแนนซ์บ้าน เหมาะกับคนที่อยากขอลดดอกเบี้ยบ้าน ลดระยะเวลาในการผ่อนบ้าน ปรับค่างวดต่อเดือนให้น้อยลง
เพราะธนาคารส่วนใหญ่มักให้โปรโมชั่นอัตราดอกต่ำในช่วง 3 ปีแรก จากนั้นจะมีการปรับให้สูงขึ้น แต่หากตัดสินใจรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารแห่งใหม่หรือธนาคารเดิมจะเป็นการกลับไปคิดอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้านของ 3 ปีแรก
เปรียบเทียบ 11 อันดับธนาคาร ให้สินเชื่อ รีไฟแนนซ์บ้าน-คอนโด 2566
ธนาคาร | อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก | วงเงินกู้สูงสุด |
ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย | 2.39% | วงเงินเริ่มต้นไม่ต่ำกว่า 3 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 80% ของราคาประเมินหลักทรัพย์ค้ำประกัน |
ธนาคารออมสิน | 2.60% | วงเงินกู้สูงสุดรวมสูงสุด 110% ของราคาประเมินหลักทรัพย์ค้ำประกัน |
ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ | 2.60% | วงเงินกู้สูงสุด 100% ของราคาประเมินหลักทรัพย์ค้ำประกัน |
ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต | 2.75% | วงเงินกู้สูงสุด 50 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 100% ของราคาประเมินหลักทรัพย์ค้ำประกัน |
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา | 2.75% | วงเงินกู้เริ่มต้นตั้งแต่ 1.5 ล้านบาทขึ้นไป แต่ไม่เกิน95% ของราคาประเมินหลักทรัพย์ค้ำประกัน |
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) | 2.83% | วงเงินอนุมัติเป็นไปตามเกณฑ์หลักประกัน และเกณฑ์รายได้ของธนาคาร แต่กู้รวมทุกบัญชีภายใต้หลักประกันเดียวไม่เกิน 3 ล้านบาทขึ้นไป |
ธนาคารยูโอบี | 2.89% | วงเงินกู้สูงสุด 100% ของราคาประเมินหลักทรัพย์ค้ำประกัน กรณีต่างจังหวัด ไม่เกิน 85%-90% |
ธนาคารกรุงไทย | 3.00% | วงเงินกู้สูงสุด 100% ของราคาประเมินหลักทรัพย์ค้ำประกัน |
ธนาคารกรุงเทพ | 3.12% | วงเงินกู้เริ่มต้นตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป สูงสุด 100% ของราคาประเมินหลักทรัพย์ |
ธนาคารไทยพาณิชย์ | 4.90% | วงเงินกู้สูงสุด 100% ของราคาประเมินหลักทรัพย์ค้ำประกัน |
ธนาคารกสิกรไทย | 5.97% | วงเงินกู้สูงสุด 90% ของราคาประเมินหลักทรัพย์ค้ำประกัน |
ข้อมูลจาก tb.co.th
รีไฟแนนซ์บ้าน ต้องเตรียมอะไรบ้าง ?
- ข้อมูลเงินกู้ : ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการจำนองปัจจุบันของคุณ รวมถึงการชำระเงินรายเดือนปัจจุบัน ยอดคงค้าง และอัตราดอกเบี้ย
- ประวัติ และคะแนนเครดิต : โดยปกติจะต้องมีคะแนนเครดิตที่ดีเพื่อให้มีคุณสมบัติในการรีไฟแนนซ์
- การยืนยันรายได้ : คุณอาจต้องให้เช็คเงินค่าจ้าง การขอคืนภาษี หรือใบแจ้งยอดธนาคารเพื่อตรวจสอบรายได้ ให้แน่ใจว่าคุณสามารถจ่ายสินเชื่อใหม่ได้
- ข้อมูลทรัพย์สิน : เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับบ้านของคุณ เช่น ชื่อทรัพย์สิน รายงานการประเมิน และข้อมูลภาษีทรัพย์สิน
- ข้อมูลการประกัน : แสดงหลักฐานการประกันของเจ้าของบ้าน
- เอกสารอื่น ๆ : คุณอาจต้องจัดเตรียมเอกสารเพิ่มเติม เช่น หลักฐานการจ้างงาน คำสั่งหย่า หรือเอกสารเกี่ยวกับการล้มละลาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ให้กู้
อย่างไรก็ตาม ควรขอคำปรึกษาผู้ให้กู้หรือสถาบันการเงินที่คุณกำลังพิจารณา Refinance ด้วย นอกจากนี้ คุณอาจต้องการปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินหรือนายหน้าจำนองที่สามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับแนวทางที่ดีที่สุดในการเตรียมตัวสำหรับการรีไฟแนนซ์
สุดท้ายนี้ฝากกดติดตามเพจ inzpy.com | Facebook ไว้ในอ้อมใจ เพื่อคุณจะได้เห็นเนื้อหาด้านการเงิน เรื่องบ้าน ๆ และไลฟ์สไตล์ ได้ไอเดียเต็ม ๆ แน่นอน