ตัวอย่างการประยุกต์ NFTs X การท่องเที่ยว
ต่อยอดอย่างไรให้ใช่ นำไปใช้ยังไงให้ปัง
ประเทศไทย ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม มีข้อได้เปรียบที่จะนำเทคโนโลยี NFTs มาประยุกต์สร้างสรรค์ เพื่อขับเคลื่อนการท่องเที่ยวบนเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งสามารถต่อยอดไปสู่การเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวในอีกหลายมิติ โดยต้องมีการจับมือกันระหว่างภาครัฐ และธุรกิจเพื่อทำให้ระบบนิเวศของเศรษฐกิจการท่องเที่ยวดิจิทัลมีความแข็งแรง
.
TATAcademy มีตัวอย่างที่น่าสนใจของการนำ NFTs มาบูรณาการกับการท่องเที่ยวมาฝากทุกคน จะมีอะไรบ้าง มาติดตามไปพร้อมกันเลย
1) ซื้อ NFTs ในฐานะของสะสม ของที่ระลึก ของฝาก
“ไปเที่ยวทั้งทีต้องมีของฝาก” แต่ในยุค 2022 ของฝากแบบหิ้วกลับบ้านคงจะจำเจไปหน่อย สถานที่ท่องเที่ยวสามารถนำของดีหรือของขึ้นชื่อเสนอขายในรูปแบบของ NFTs เช่น
.
⎯ NFTs ลายผ้าไหมไทย Jim Thompson : เมื่อปี 2021 แบรนด์ผ้าไหมไทย Jim Thompson นำลายผ้าไทยรูปช้าง 10 แบบ มาเปิดขายในรูปแบบ
NFTs เป็นคอลเล็กชันพิเศษนำรายได้ส่วนหนึ่งสมทบมูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม ผู้ซึ่งยังได้รับสิทธิพิเศษและบัตรสมาชิกของแบรนด์
.
⎯ NFTs ตราประทับ โดย ศาลเจ้าทาเคะ ญี่ปุ่น : ศาลเจ้าเก่าแก่ของญี่ปุ่นในเมืองมิเอะออกแคมเปญแจก NFTs ตราประทับ หรือ ‘โกชุอิน’ จูงใจคนรุ่นใหม่และสาวกสินทรัพย์ดิจิทัล ถือเป็นการผนวกเรื่องวัฒนธรรมความเชื่อเข้ากับเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างลงตัว และยังช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวอีกด้วย
.
⎯ ของที่ระลึก NFTs จากเมืองปอร์โตรอซ สโลวีเนีย : เมืองปอร์โตรอซได้มีสร้างโทเคนรูปแบบ NFTs ให้นักท่องเที่ยวได้สะสม กลายเป็นของที่ระลึกจากการท่องเที่ยว ซึ่งจะมีประโยชน์ในอนาคต เมื่อเมืองสร้างระบบท่องเที่ยวบนโลก Metaverse สำเร็จ โทเคนจะใช้เป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนและดึงดูดผู้คนให้กลับมาเที่ยวอีกครั้ง
.
2) หนังสือเดินทางดิจิทัล NFTs Passport
NFTs เป็นข้อมูลของระบบบล็อกเชนที่มีความปลอดภัยสูง ข้อมูลทั้งหมดจะถูกจัดเก็บอยู่ในระบบออนไลน์ที่สามารถตรวจสอบย้อนหลังกลับไปได้ จึงมีความน่าเชื่อถือสำหรับนำมาใช้ในการยืนยันตัวตน
หรือแสดงข้อมูลรูปแบบต่าง ๆ เช่น
.
⎯ Pebble แพลตฟอร์มที่ใช้ฐานข้อมูล NFTs เพื่อยืนยันตัวตน : พัฒนาโดย IoTeX องค์กร IoT ที่รวบรวมข้อมูลจากโลกทางกายภาพแลเก็บไว้ในบล็อกเชน มีข้อมูลการเดินทาง
ข้อมูลที่จำเป็นหลักฐานแสดงการมีอยู่ที่น่าเชื่อถือ ในอนาคตอาจทำงานเหมือน Passport สำหรับการเดินทางข้ามประเทศ
.
⎯ กรีนการ์ดของเมืองซานมารีโน : เป็นบัตรผ่านเข้าพื้นที่ที่พัฒนาจากฐานข้อมูลการได้รับวัคซีนในช่วงวิกฤตโรคระบาดหรือ ‘วัคซีนพาสปอร์ต NFTs’ ซึ่งเชื่อมโยงเครือข่ายผ่านระบบดิจิทัลที่ตรวจสอบได้ทั่วโลก
.
⎯ Travel Pass ในกลุ่มสายการบินเครือ IATA : สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (International Air Transport Association – IATA) เริ่มทำแอปพลิเคชันสำหรับเช็กประวัติผ่านระบบดิจิทัลบล็อกเซน เพื่อยืนยันความปลอดภัย แสดงข้อมูลประจำตัวด้านสุขภาพของผู้เดินทาง และข้อมูลข้อกำหนดการเดินทางข้ามภูมิภาค
.
3) สิทธิพิเศษของผู้ถือครอง NFTs
การเป็นเจ้าของ NFTs อาจเสนอขายไปพร้อมกับสิทธิพิเศษเพื่อทำการตลาดของแบรนด์ท่องเที่ยว เพื่อสร้างความจงรักภักดีต่อแบรนด์ (Brand Loyalty) ในระยะยาว เช่น ส่วนลด บริการพิเศษ กิจกรรม Exclusive ต่าง ๆ เป็นต้น
.
⎯ Durian in Metaverse : ประเทศไทยมีโครงการ “Amazing Thailand Metaverse : Amazing Durian” นำเทคโนโลยี NFTs มาใช้ในการซื้อและสะสม Collection Amazing Durian in Metaverse สิทธิการเป็นเจ้าของทุเรียนในฤดูกาลนี้ได้เป็นที่แรกของโลกในช่วง 29 เมษายน – 31 สิงหาคม 2565
.
⎯ เจ้าของ NFTs รับบริการพิเศษจากสายการบิน : American Airlines จะมอบ NFTs เป็นของสมนาคุณในลูกค้าที่มีค่าใช้จ่ายถึงเกณฑ์เพื่อรับบริการพิเศษในสนามบิน
มีประกันความเสียหาย และดึงดูดใจให้ลูกค้ายังคงใช้บริการสายการบินต่อไปในระยะยาว
.
⎯ NFTs พ่วงสิทธิพิเศษ : AirBaltic สายการบินสัญชาติลัตเวียขาย NFTs คอลเลกชั่นพิเศษประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวสำคัญในพื้นที่
ทั้งนี้ ผู้เป็นเจ้าของสามารถนำไปแสดงเพื่อรับส่วนลดสำหรับท่องเที่ยวในแถบในบอลติกหรือสะสมเก็งกำไรในอนาคตได้เช่นกัน
.
NFTs กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีแวว ‘ไปได้สวย’ หากมีการเตรียมความพร้อมของผู้ซื้อและผู้ขายทางด้านเทคโนโลยี องค์ความรู้ และกระเป๋าเงินดิจิทัล การนำ NFTs มาต่อยอดกับการต่อเที่ยวมีความสำคัญอย่างไรอีกบ้าง ติดตามบทความฉบับเต็มกับ
ได้ที่ : https://bit.ly/3nq9A0g