นิทรรศการ Wrap มองโลกผ่านศาสตร์ และ ศิลป์อย่างมีสไตล์!
นิทรรศการ Wrap มองโลกผ่านศาสตร์ และ ศิลป์อย่างมีสไตล์! ในปัจจุบันนิทรรศกาลศิลปะ หรือ ภาพวาดเป็นพื้นที่อาร์ตแง่มุมรอบตัว ตั้งแต่ระดับปัจเจก สังคม จนถึงระดับโลก และแฝงอยู่ทั่วไป ผ่านผลงานศาสตร์ และศิลป์ ที่ถูกรังสรรค์ผ่านผลงานชิ้นต่างๆ จากนักศิลปะได้เล่าเรื่องราวที่น่าสนใจผ่านหลากหลายมุมมอง อาทิ ทัศนคติมนุษย์ ความสัมพันธ์ของหนุ่มสาวสมัยใหม่ การเมือง ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม เป็นต้น วันนี้ Inzpy จะพาเพื่อนไปชมนิรรศการผ่านภาพต่างที่ได้ถ่ายทอดความคิดผ่านภาพวาด ไปดูกันเลย…
เมื่อเราเดินเข้ามายังพื้นที่ในบริเวณ ชั้น 1 ของ SAC Gallery จะพบเข้ากับส่วนจัดแสดงนิทรรศการ Wrap โดยชิ้นงานแรกที่นำเสนอเป็นผลงานของ 2CHOEY ที่มีชื่อว่า Talking 2021, Talk 2021, Keep Talikg 2021 และ Still Taking (จากซ้ายไปขวา) ที่เป็นการเสียดสีถึงสังคม และพูดถึงเรื่องราวต่างๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความคิดผู้อื่น ด้วยการหยิบคาแรกเตอร์ตัวการ์ตูน Fingies ประจำตัวมาใช้งาน
ผลงานของศิลปิน Bright Side ประกอบด้วย 1. The People 2021 2. BattleField 2021 และ 3. Crazy 88 (จากซ้ายไปขวา) คอนเซ็ปต์เป็นการเล่าเรื่องราวเสียดสีสังคมไทยเวลานี้ ระหว่างกลุ่มคนรุ่นใหม่ด้านซ้าย ผู้ต้องการอิสรเสรีในการใช้ชีวิต ที่ต้องเผชิญหน้ากับกลุ่มคนฝั่งขวาซึ่งเป็นพวกอนุรักษนิยมตัวสีฟ้า ผู้คอยใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา โดยทั้งสองฝ่ายต่างมาบรรจบกันยังภาพตรงกลางที่เปรียบเสมือนสมรภูมิทางความคิดของสองฝ่ายทั้งนี้ ผลงานชุดดังกล่าวเป็นการใช้เทคนิคแบบวาดมือ และลงสีด้วยสเปรย์พ่น สร้างสรรค์ด้วยผลงานอันโด่ดเด่นที่เล่าเรื่องผ่านภาพจากสิ่งต่างๆ รอบตัวสื่อออกมาได้ความหมายได้ดีเลยล่ะ
ต่อกันที่ผลงาน Defiance (ซ้าย) และ The Baron (ขวา) ฝีมือของ Double O Seth ใช้เทคนิคแบบคอลลาจ (Collage) โดยใช้กรรไกรตัดแปะภาพซ้อนกับภาพอื่นๆ ให้เป็นเลเยอร์ ซึ่งถือเป็นเทคนิคงาน illustration ที่ใช้กับงานภาพตามปกนิตยสารสมัยก่อน ในช่วงที่โปรแกรม Adobe ยังไม่เข้ามามีอิทธิพล เรียกได้ว่าเป็นผลผลงานศิลปะภาพประกอบที่หาดูได้ยากยิ่งเลยล่ะ
ตามมาอีกผลงานศิลปะอย่าง ปัณพัท เตชเมธากุล นับเป็นครั้งแรกที่นักวาดภาพสไตล์แฮนด์คราฟต์ ได้หันมาหยิบจับงานศิลปะรูปแบบดิจิทัล NFT ด้วยผลงานที่มีชื่อว่า Atlas of the mind, 2021 โดยไม่ใช่แค่ภาพวาดดิจิทัลธรรมดา แต่ยังออกแบบให้สามารถขยับเคลื่อนไหวได้ในรูปแบบวิดีโอ MP4 แต่แน่นอนว่ายังสัมผัสได้ถึงเอกลักษณ์ความเป็นแฟชันดีไซเนอร์ล้ำสมัยผ่านงานชิ้นนี้
ต่อกันที่ผลงาน Someone else or nothing at all, 2021 ของศิลปินแนว illustration art รุ่นใหม่อย่าง TUNA Dunn ยังคงเอกลักษณ์การถ่ายทอดเรื่องราวความสัมพันธ์อันละเอียดอ่อนของมนุษย์ได้อย่างละเมียดละไม ที่ไม่ใช่แค่บนผืนผ้าใบ หรือบนกระดาษ แต่ยังเล่นกับพื้นที่จัดแสดงได้อย่างชาญฉลาด เช่น ในภาพที่เล่นสีกับเงา ให้จมกลืนไปกับพื้นทางเดินอีกด้วย เป็นภาพอาร์ตที่เล่าเรียงเรื่องได้ดีเลยสื่อความหมายของมนุษย์ได้ดีผ่านผลงานชิ้นนี้
ปิดท้ายอย่าง Fatherhood ผลงานอีกชิ้นของ Pomme Chan ที่จัดอยู่ในนิทรรศการ Wrap โดยเปรียบสิงโตในบานกระจก คือเล่าเรื่องราวการมีอำนาจอย่างเด็ดขาอย่างผู้นำในครอบครัว การสั่งการ พ่อที่มีความน่าเกรงขามในฐานะผู้นำครอบครัวของภายในบ้าน และคอยจ้องมองแขกนิรนามผู้ผลัดเปลี่ยนแวะเวียนมาเยี่ยมเยือน และค่อยปกป้องผู้คนในบ้านไม่ให้ใครมารังแก
นิทรรศการ Wrap จัดแสดงยังบริเวณชั้น 1 ของ SAC Gallery ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 2 เมษายน เปิดทำการทุกวันอังคาร-เสาร์ เวลา 10.00-18.00 น. พร้อมมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม