กรุงเทพฯ มีความเป็นไปได้ในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวได้มากน้อย อย่างไร
เชิญชวนทุกท่านร่วมงานเปิดโครงการ Greener Bangkok Hackathon 2022: แฮคกรุงเทพเพื่อเมืองที่เขียวกว่า รับฟังข้อมูลความเป็นไปได้ในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับเมือง พร้อมเกณฑ์และเงื่อนไขการเข้าร่วม Hackathon ที่จะขอชวนทุกคนมาร่วมคิดและเสนอวิธีใหม่ ๆ ให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่พวกเราสามารถเข้าถึงพื้นที่สีเขียวได้ใน 15 นาที
.
พบกันวันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 13.00-15.00 น.
ที่ Whizdom Club ชั้น 4 อาคารทรู ดิจิทัล พาร์ค (True Digital Park) (BTS ปุณณวิถี)
ลงทะเบียนสำรองที่นั่งได้ที่ https://forms.gle/B8u9qF3PDQqYuDvD9
.
กำหนดการ
13.00 – 13.30 น. ลงทะเบียน
.
13.30 – 13.40 น. คุณองศา จรรยาประเสริฐ ผู้อำนวยการโครงการ Cloud 11 (คลาวด์ อีเลฟเว่น) บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) กล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ
.
13.40 – 13.55 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการ UDDC-CEUS กล่าวรายงานที่มาและความสำคัญของโครงการฯ พร้อมนำเสนอ “เปิดข้อมูลเพื่อช่วยกันเปลี่ยนเมือง”
.
13.55 – 14.10 น. รองศาสตราจารย์ ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวเปิดงาน “แฮคกรุงเทพให้คนเมืองเข้าถึงพื้นที่สีเขียวได้ใน 15 นาที”
.
14.10 – 14.40 น. ความคาดหวังจากองค์กรที่ให้การสนับสนุนหลักในการขับเคลื่อนโครงการฯ โดย ศาสตราจารย์ ดร. พิสุทธิ์ เพียรมนกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน / คุณ Eric Arndt Director Asia Regional Office, The Rockefeller Foundation / คุณกรกช อรรถสกุลชัย Senior Executive Director, Chief of Non-Capital Market Solution, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย / คุณอรยา สูตะบุตร ผู้ก่อตั้ง กลุ่ม Big Trees และ เครือข่ายต้นไม้ในเมือง / ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการ UDDC-CEUS
.
14.40 – 14.50 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญ์ เจียรมณีโชติชัย นายกสมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย ประกาศเกณฑ์และเงื่อนไขการรับสมัครเข้าร่วมโครงการ
.
14.50 – 15.00 น. ถ่ายภาพเป็นที่ระลึกร่วมกันระหว่างผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้สนับสนุนหลัก ภาคีพัฒนา และประชาชนที่เข้าร่วมงาน
.
*หมายเหตุ* กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
.
ผู้สนับสนุน: มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ / สถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ / กระทรวงพลังงาน / การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย / สมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) / ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) / บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด / บริษัท ภิรัชบุรี จำกัด / ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค / บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด / บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
.
ภาคีขับเคลื่อนกรุงเทพเพื่อเมืองที่เขียวกว่า: UddC / กรุงเทพมหานคร / Landometer / We!Park / BigTree / Builk One Group / สมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย / สมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย / โครงการคนไทย 4.0 / ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ / สมาคมเครือข่ายต้นไม้ในเมือง
.
โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Open Data for a More Inclusive Bangkok ดำเนินการโดย UddC ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์