Epiphany นิทรรศการแสดงเดี่ยวโดย ภาคภูมิ ศิลาพันธ์และภัณฑารักษ์ ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์
ภาคภูมิ ศิลาพันธ์ ศิลปินร่วมสมัยชาวไทย ผู้มีผลงานจัดแสดงในแกลเลอรีชั้นนำ ทั้งในลอนดอน, ลิเวอร์พูล, ประเทศอังกฤษ และอีกหลายประเทศทั่วโลก ทั้งนิวยอร์ก, แคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น, อินเดีย, ฮ่องกง, ฝรั่งเศส ผลงานของเขาถูกสะสมโดยพิพิธภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกอย่างพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่แห่งนิวยอร์ก (MoMA), พิพิธภัณฑ์บรูคลิน รวมถึงนักสะสมศิลปะร่วมสมัยชั้นนำของโลกอย่าง เซอร์ พอล สมิธ , มินนี่ ไดรเวอร์ และ ริชาร์ด เคอร์ติส ฯลฯ
ภาคภูมิถือกำเนิดที่จังหวัดสมุทรปราการ ใช้ชีวิตวัยเด็กในจังหวัดสุโขทัย และเดินทางไปเรียนต่อที่กรุงเทพมหานคร ในสาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร หลังจากจบการศึกษา เขาหันเหไปทำงานในแวดวงโฆษณาอยู่สองปี ก่อนที่จะเดินทางไปเรียนต่อทางด้านศิลปะที่สถาบัน แคมเบอร์เวล คอลเลจ ออฟ อาร์ตส และ เชลซี คอลเลจ ออฟ อาร์ต แอนด์ ดีไซน์ ใน กรุงลอนดอน, ประเทศอังกฤษ
ภาคภูมิเริ่มต้นอาชีพทางศิลปะของเขาด้วยผลงานศิลปะสื่อผสมที่ได้รับอิทธิพลทางความคิดจากกระแสเคลื่อนไหวทางศิลปะนีโอ-ดาดา (Neo-Dada) ต้นธารของป๊อปอาร์ต โดยใช้เทคนิคปะติดเศษวัสดุเก็บตกเหลือใช้อย่าง กล่องบรรจุภัณฑ์หรือวอลเปเปอร์เก่าๆ เข้ากับชิ้นส่วนของสิ่งพิมพ์ต่างๆ อย่างพาดหัวข่าวและเกมปริศนาอักษรไขว้ในหนังสือพิมพ์ ผสมผสานกับเทคนิคการพิมพ์ซิลค์สกรีน ทำให้เขาเริ่มเป็นที่จับตาของเหล่านักสะสมงานศิลปะร่วมสมัยในลอนดอน
ในเวลาต่อมา ภาคภูมิหยิบเอาวัตถุข้าวของสำเร็จรูปที่หลายคนอาจเคยเห็นคุ้นตาในร้านค้าตามต่างจังหวัดอย่าง ป้ายโฆษณาน้ำอัดลมโลหะเก่าๆ ทั้งป้ายโค้ก, เป๊ปซี่, แฟนต้า, สไปรท์, เซเว่นอัพ ฯลฯ ที่เขาเก็บสะสมไว้ตั้งแต่ยังเยาว์วัย มาสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะ ด้วยการหยิบเอาภาพของบุคคลผู้มีชื่อเสียงโด่งดังระดับตำนานของโลกในแวดวงต่างๆ มาปะติดบนป้ายน้ำอัดลมเหล่านี้ในรูปแบบคล้ายภาพขาวดำในสิ่งพิมพ์ ผสานกับภาพวาดลายเส้นแบบการ์ตูนอันเรียบง่ายแต่เปี่ยมสไตล์ จนทำให้ผลงานของภาคภูมิกลายเป็นที่รู้จักในวงการศิลปะระดับสากล
ใน Epiphany นิทรรศการแสดงเดี่ยวครั้งล่าสุดของเขาครั้งนี้ ภาคภูมิพัฒนาแนวทางการทำงานศิลปะกับวัตถุข้าวของสำเร็จรูปของเขาขึ้นอีกระดับ ด้วยการหยิบเอาวัตถุข้าวของสำเร็จรูปเก่าๆ ที่เขาเก็บสะสมมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน มาสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะ ด้วยการวาดตัวหนังสือถ้อยคำลงบนตัววัตถุข้าวของสำเร็จรูปเหล่านี้ ที่น่าสนใจก็คือ ถ้อยคำที่เขาเขียนเหล่านี้ต่างทำหน้าที่เชื่อมร้อยความหมายในตัวของวัตถุข้าวของสำเร็จรูปที่ว่านี้เข้ากับประวัติศาสตร์ศิลปะโลกหลากยุคสมัย รวมถึงวัฒธรรมป๊อปในโลกสากล อย่างเปี่ยมไหวพริบปฏิภาณ สนุกสนาน และเต็มไปด้วยอารมณ์ขันชวนหัว ไม่ต่างอะไรกับการผสานแนวคิดแบบ เรดี้เมดส์ (readymades) ของศิลปินชาวฝรั่งเศส-อเมริกันผู้ส่งอิทธิพลทางความคิดต่อวงการศิลปะสมัยใหม่มากที่สุดคนหนึ่งอย่าง มาร์แซล ดูชองป์ (Marcel Duchamp) ซึ่งเป็นการนำเอาวัตถุและข้าวของธรรมดาที่เราพบเห็นในชีวิตประจำวันมาทำให้กลายเป็นศิลปะ เข้ากับการเล่นมุกตลกทางภาพที่เชื่อมโยงกับภาษาและความหมายของตัววัตถุที่นำเสนอ หรือ Visual pun (การเล่นคำด้วยภาพ) ที่ปรากฏในในผลงานของศิลปินคนสำคัญในขบวนการศิลปะเซอร์เรียลลิสม์ (Surrealism) ชาวเบลเยียมอย่าง เรอเน มากริตต์ (René Magritte)
ภาคภูมิยังลดความเคร่งเครียดจริงจังของเนื้อหาในผลงานชุดนี้ของเขา ด้วยการเขียนตัวหนังสือในลักษณะหวัดแกมบรรจง คล้ายกับตัวหนังสือในหนังสือการ์ตูน หนำซ้ำบางครั้งยังเขียนผิด ขีดฆ่า และเขียนแก้ใหม่อย่างจงใจหลงเหลือให้เห็นความผิดพลาด ซึ่งแนวทางการทำงานเช่นนี้ยังได้แรงบันดาลใจมาจากการทำงานของ ฌอง-มิเชล บาสเกีย (Jean-Michel Basquiat) ผู้เป็นที่รู้จักจากผลงานภาพวาดกึ่งนามธรรมลายเส้นอิสระ ผสานกับการเขียนตัวหนังสือถ้อยคำแบบศิลปะกราฟิตี้ลงไปบนภาพวาดอีกด้วย
ในนิทรรศการยังมีผลงานที่เปิดโอกาสให้ผู้ชมมีส่วนร่วมในการเล่นสนุกกับตัวงานศิลปะ ซึ่งเป็นรูปแบบที่พ้องกับแนวคิด สุนทรียศาสตร์เชิงสัมพันธ์ (Relational Aesthetics) อันเป็นแนวทางศิลปะที่แหวกขนบธรรมเนียมเดิมๆ ทางศิลปะ ด้วยการเปิดโอกาสให้ผู้ชมเข้ามามีปฏิสัมพันธ์ตอบโต้กับผลงานศิลปะ เพื่อลดช่องว่างระหว่างศิลปะกับผู้ชม จากที่เคยได้เพียงดูแต่ตาเฉยๆ เท่านั้น
ด้วยการทำผลงานศิลปะในลักษณะนี้ออกมาเป็นจำนวนมากมายนับพันชิ้น ทำให้นิทรรศการครั้งนี้ของภาคภูมิไม่ต่างอะไรกับการสร้างแผนที่ความคิด (Mind Map) ของเขา เพื่อท้าทายให้ผู้ชมเดินทางตามรอยสำรวจเส้นทางแห่งความคิด เพื่อค้นหาและไขปริศนาแห่งแรงบันดาลใจของศิลปินที่ซุกซ่อนอยู่ในผลงานศิลปะแต่ละชิ้นของเขานั่นเอง.
Epiphany
จัดแสดงตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์ 2025
ที่ Next Door Project
ซอยสาธุประดิษฐ์ 5 ช่องนนทรี ยานนาวา กรุงเทพฯ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กรอบยกกล่อง โทรศัพท์ 02-2121864
https://maps.app.goo.gl/41wYrCqLR6RzwEE66?g_st=com.google.maps.preview.copy
For English, please scroll down
Pakpoom Silaphan is a Thai contemporary artist whose works have been exhibited in leading galleries around the world, including London, Liverpool, New York, California, Japan, India, Hong Kong, and France. His works are part of prominent collections such as the Museum of Modern Art (MoMA) in New York, and the Brooklyn Museum, and notable art collectors including Sir Paul Smith, Minnie Driver, and Richard Curtis, among others.
Pakpoom was born in Samut Prakan Province, spent his childhood in Sukhothai Province, and later moved to Bangkok to study ceramics at the Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University. After graduation, he spent two years working in advertising before continuing his studies at the Camberwell College of Arts and Chelsea College of Art and Design in London, UK.
He began his artistic career with mixed-media works influenced by the Neo-Dada movement, the precursor to Pop Art. Using collage techniques with discarded materials such as old packaging boxes and wallpapers, combined with elements like newspaper headlines and crossword puzzles, along with silkscreen printing, Pakpoom quickly gained attention from contemporary art collectors in London.
Later, Pakpoom started incorporating old metal soft drink advertisements, like Coca-Cola, Pepsi, Fanta, Sprite, and 7-Up—collecting these since his youth—into his artwork. He attached portraits of world-renowned figures from various fields onto these metal signs in a style reminiscent of black-and-white images found in print media, blending them with simple but stylish cartoon-like drawings. This unique approach led his work to be recognized in the global art scene.
In Epiphany, his latest solo exhibition, Pakpoom elevates his approach to working with found objects by inscribing words onto these objects. What is intriguing is that these words serve to connect the objects with the history of global art movements across different periods, including pop culture, with wit, fun, and humor. It draws a parallel to the ready-made concept introduced by French-American artist Marcel Duchamp, who famously transformed everyday objects into art. It also evokes visual puns, akin to the works of Belgian Surrealist René Magritte, who used humor and language to challenge perception.
Pakpoom reduces the seriousness of the content in this body of work by writing the words in a whimsical, almost cartoonish script, sometimes intentionally misspelling or crossing out letters, leaving visible errors. This technique is inspired by the works of Jean-Michel Basquiat, known for his freeform, semi-abstract drawings that combined text with graffiti-style art.
The exhibition also features works that invite audience participation, aligning with the concept of Relational Aesthetics—a movement that challenges traditional norms by encouraging interaction with the artwork. This reduces the barrier between art and viewer, allowing them to engage beyond passive observation.
By producing thousands of pieces for this exhibition, Pakpoom’s work can be seen as a “Mind Map,” challenging the audience to navigate the trails of thought and discover the hidden inspirations behind each of his artworks.
Epiphany
A Solo Exhibition by Pakpoom Silaphan
Curated by Panu Boonpipattanapong
On display from January 24 – February 28, 2025
at Next Door Project
Sathuphradit 5, Chongnonsi, Yannawa, Bangkok
For more information, contact Krob Yok Kong, Tel: 02-2121864
https://maps.app.goo.gl/41wYrCqLR6RzwEE66?g_st=com.google.maps.preview.copy