ย้อนรอยเหตุการสึนามิในไทย สึนามิ คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร
สึนามิ คือ คลื่นขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นในทะเลหรือมหาสมุทร เกิดจากการเคลื่อนที่ของน้ำปริมาณมากในแนวดิ่ง โดยคลื่นนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ดินถล่ม หรืออุกกาบาตตกสู่พื้นทะเล
คลื่นสึนามิมีความเร็วสูงมาก โดยทั่วไปจะเคลื่อนที่ในทะเลด้วยความเร็วประมาณ 700 – 800 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อคลื่นสึนามิเคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่ง ความเร็วของคลื่นจะลดลง แต่ความสูงของคลื่นจะเพิ่มขึ้น สามารถมีระดับความสูงได้หลายเมตร บางครั้งอาจสูงถึง 30 เมตรหรือมากกว่านั้น
สึนามิ เป็นคำมาจากภาษาญี่ปุ่น ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า Harbor Wave หรือคลื่นที่เข้าสู่อ่าว ฝั่ง หรือ ท่าเรือ โดยที่คำว่า Tsu หมายถึง Harbor แปลว่า อ่าว ฝั่ง หรือ ท่าเรือ ส่วนคำว่า Nami หมายถึง คลื่น
สึนามิในประเทศไทย
เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 เวลา 07.58 น. เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง โดยมีศูนย์กลางอยู่บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ก่อให้เกิดคลื่นใหญ่ที่เรียกว่า สึนามิ ซึ่งได้เคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อ 6 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ ภูเก็ต พังงา ระนอง กระบี่ ตรัง และสตูล ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 5,400 ราย บาดเจ็บกว่า 8,000 ราย และสูญหายอีกจำนวนมาก
ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีระบบเตือนภัยสึนามิ 2 ระบบ ได้แก่
- ระบบเตือนภัยสึนามิอัตโนมัติ (Automatic Tsunami Warning System: ATWS) ติดตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน
- ระบบเตือนภัยสึนามิทางไกล (Remote Tsunami Warning System: RTWS) เชื่อมโยงกับระบบเตือนภัยสึนามิของศูนย์เตือนภัยสึนามิแปซิฟิก (Pacific Tsunami Warning Center: PTWC) สหรัฐอเมริกา
ระบบเตือนภัยสึนามิจะแจ้งเตือนภัยสึนามิไปยังประชาชนในพื้นที่เสี่ยงผ่านหอเตือนภัย วิทยุ โทรทัศน์ และสื่อสังคมออนไลน์
สัญญาณเตือนก่อนเกิดสึนามิ
- แผ่นดินไหวขนาด 5.0 ขึ้นไป
- น้ำทะเลลดลงอย่างรวดเร็ว
- เสียงดังคล้ายคลื่นกระแทกฝั่ง
- คลื่นน้ำไหลย้อนกลับเข้าทะเล
- หากประชาชนพบเห็นสัญญาณเตือนสึนามิ ให้รีบอพยพออกจากพื้นที่เสี่ยงโดยเร็วที่สุด
_____
ติดตาม Inzpy ได้ที่
Website:
https://inzpy.com/travel/
Youtube:
https://www.youtube.com/c/Inzpy
Facebook:
https://www.facebook.com/inzpyth