คิดก่อนลอย “กระทง” ทำจากวัสดุแบบไหน ดีต่อสภาพแวดล้อมที่สุด
ประเพณีลอยกระทง เป็นประเพณีโบราณของชาวไทย ที่สืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมีความเชื่อว่าเป็นการแสดงความขอบคุณพระแม่คงคา ซึ่งเป็นแหล่งน้ำให้มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์ แต่ในทุกวันนี้หลังจากเสร็จสิ้นงานลอยกระทง จะเห็นได้ว่า “กระทง” กลับกลายเป็นเพียงขยะ ที่เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้น้ำในคูคลองต่าง ๆ เกิดการเน่าเสีย
ในปัจจุบันนี้ “กระทง” ถูกออกแบบจากวัสดุหลากหลายประเภท ข้อมูลจาก สำนักสิ่งแวดล้อม (สสล.) ได้ระบุเกี่ยวกับระยะเวลาย่อยสลายกระทงแต่ละประเภท โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
กระทงที่ทำจากต้นกล้วย ใบตอง กะลามะพร้าว (ใช้เวลาย่อยสลายประมาณ 14 วัน)
กระทงที่ทำจากโคนไอศกรีม หรือกรวยไอติม (ใช้เวลาย่อยสลายประมาณ 3 วัน)
กระทงที่ทำจากขนมปัง (ใช้เวลาย่อยสลายประมาณ 3 วัน)
กระทงอาหารปลา (ใช้เวลาย่อยสลายประมาณ 3 วัน)
กระทงที่ทำจากกระดาษ (ใช้เวลาย่อยสลายประมาณ 2 – 5 เดือน)
กระทงที่ทำจากโฟม (ใช้เวลาย่อยสลายประมาณ 50 ปี)
กระทงมันสำปะหลัง (ใช้เวลาย่อยสลายประมาณ 30 นาที – 1 ชั่วโมง )
กระทงน้ำแข็ง (ใช้เวลาย่อยสลายประมาณ 30 นาที – 1 ชั่วโมง )
ทั้งนี้แม้ว่ากระทงที่ย่อยสลายได้ง่ายและรวดเร็ว เช่น กระทงขนมปังและโคนไอศกรีมถ้ามีปริมาณมาก ๆ ก็อาจทำให้เกิดน้ำเน่าเสียได้เช่นกัน
การลอยกระทงออนไลน์ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ได้รับความนิยมในยุคนี้ เพราะนอกจากจะไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นการประหยัดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย และการเดินทางอีกด้วย
หรือหากใครอยากลอยกระทงจริง ๆ ก็ควรเลือกกระทงที่ทำจากวัสดุที่ย่อยสลายง่าย ไม่มีเครื่องประดับที่ทำจากเหล็ก เช่นลวด ตะปู ที่อันตราย และหากมาเป็นคู่ เป็นกลุ่ม เป็นครอบครัว เลือกใช้กระทงเพียง 1 อัน ก็ถือเป็นการช่วยลดขยะในแม่น้ำลำคลองอีกทางหนึ่งด้วยเช่นกัน
_____
ติดตาม Inzpy ได้ที่
Website:
https://inzpy.com/travel/
Youtube:
https://www.youtube.com/c/Inzpy
Facebook:
https://www.facebook.com/inzpyth