“วันนกแห่งชาติ” ชวนมารู้จัก 7 นกหายากในไทย ใกล้สูญพันธุ์
5 มกราคม ของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น “วันนกแห่งชาติ” เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงคุณและอนุรักษ์นกให้มากขึ้น หลังจากที่นกได้รับผลกระทบจนมีปริมาณลดลงด้วยปัจจัยทางโรคภัย ปัญหามลภาวะ และการถูกล่าโดยมนุษย์ วันนี้ Inzpy จึงขอพาทุกคนไปรู้จักกับ 7 นกหายากในไทย ที่กำลังเผชิญกับวิกฤตการสูญพันธุ์
1. นกกะเรียน
นกน้ำขนาดใหญ่ สัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ อดีตเคยพบเห็นได้ทั่วไป แต่ปัจจุบันเราจะได้พบเห็นนกกะเรียนอีกครั้งเฉพาะเมื่อถึงฤดู “ นกกะเรียนคืนถิ่น” เท่านั้น ซึ่งประเทศไทยได้ขอนกกะเรียนพันธุ์ไทยมาจากต่างประเทศ เพื่อกลับมาเพาะขยายพันธุ์ในเมืองไทยอีกครั้ง และนำไปปล่อยให้อาศัยอยู่ในธรรมชาติอีกครั้ง
2. นกอ้ายงั่ว
หรือนกคองู เป็นนกน้ำขนาดใหญ่ เวลาว่ายน้ำจะมีเฉพาะส่วนหัวและคอที่โผล่มาจากน้ำบางมองเห็นเป็นลักษณะที่คล้ายงู ปัจจุบันพบเพียงไม่กี่จังหวัดเท่านั้น เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิและจังหวัดสระแก้วในภาคตะวันออก
3. นกกาบบัว
เป็นนกที่มีขนาดใหญ่มาก ประมาณ 102 ซม. ปากใหญ่แหลมตรงยาวสีเหลืองส้ม ปลายปากโค้งลง คอยาวสีขาว ลำตัวขาวตัดกับขนคลุมปีกสีดำสลับขาว มีแถบใหญ่คาดอกสีดำ หางสั้นสีดำ ขนคลุมโคนปีกและตะโพกสีชมพู ขายาวมาก จัดเป็นนกประจำถิ่นและสัตว์ป่าคุ้มครองของประเทศไทย
4. นกตะกรุม
ปากหนายาวสีเหลืองนวล บริเวณหน้าและกระหม่อมเป็นหนังเปลือยเปล่าไม่มีขน ท้ายทอยมีกระจกขนสีดำหรือน้ำตาล ลำตัวด้านบนสีดำ ลำตัวด้านล่างสีขาว พบตามแหล่งน้ำที่อยู่ตามชายป่าดิบหรือป่าโปร่งในที่ราบ เป็นนกอพยพนอกฤดูผสมพันธุ์และประจำถิ่น หายาก
5. นกแร้ง
นกขนาดใหญ่ กินซากสัตว์ ช่วยกำจัดซากสัตว์ป่า ปัจจุบันแร้งแทบทุกชนิดตกอยู่ในสภาพใกล้สูญพันธุ์และหายาก เนื่องจากถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติถูกรุกราน และสภาพแวดล้อมก็เปลี่ยนไป เพราะศพและซากสัตว์ถูกฝังหรือเผาอย่างถูกวิธี แร้งจึงขาดอาหาร
6. นกเงือก
นกที่ได้ฉายาว่า “นักปลูกป่า” เนื่องจากเป็นนกที่กินผลไม้ได้มากกว่า 300 ชนิด อาสัยอยู่ในป่ากว้าง จึงทำให้มีการทิ้งเมล็ดพันธุ์เอาไว้ตามที่ต่าง ๆ นกเงือกในประเทศไทยมีทั้งหมด 13 ชนิด เรียกได้ว่าเป็นนกที่ช่วยชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ เพราะจะอาศัยอยู่ในป่าหรือพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เท่านั้น
7. นกปรอดแม่ทะ
เป็นนกประจำถิ่นที่ปัจจุบันหาชมได้ยากมาก เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ด้วยความที่เป็นนกปรอดที่มีเสียงร้องไพเราะ มันจึงมักถูกจับมาเลี้ยงและขายกันเป็นจำนวนมาก จึงทำให้แทบจะสุญพันธุ์จากธรรมชาติไปแล้ว
——-
ติดตาม Inzpy ได้ที่
Website:
https://inzpy.com/travel/
Youtube:
https://www.youtube.com/c/Inzpy
Facebook:
https://www.facebook.com/inzpyth
ฝาก กดติดตาม กดไลก์ กดแชร์เป็นกำลังใจให้พวกเราด้วยนะคะ