More

    มิติใหม่ของอุปกรณ์ดับเพลิง ขนาดเท่าไฟฉาย พกพาสะดวก

    ถังดับเพลิง นับเป็นอุปกรณ์จำเป็นที่ควรต้องมีไว้เพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉินที่ไม่คาดคิด แต่ด้วยขนาดและน้ำหนักที่ค่อนข้างใหญ่ ถึงแม้จะมีการพัฒนาขนาดของถังให้เล็กลงแล้ว แต่ก็ไม่ตอบโจทย์การพกพาสักเท่าไหร่ ล่าสุดบริษัท MAUS ในประเทศสวีเดน ได้ปฏิวัติวงการดับเพลิงด้วยการคิดค้น Maus Fire Suppressor อุปกรณ์ดับเพลิงที่มีขนาดเท่ากระบอกไฟฉาย พกพาสะดวก มีความปลอดภัยสูง เป็นมิตรต่อพื้นผิวและสิ่งแวดล้อม

    Maus Fire Suppressor เป็นอุปกรณ์ดับเพลิงทรงกระบอกที่พกพาสะดวก มีความยาว 24.5 เซนติเมตร และเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เซนติเมตร พร้อมสำหรับการใช้งานตลอดเวลาโดยไม่ต้องคอยบำรุงรักษา และยังใช้งานง่ายเพียงเล็งปากกระบอกไปยังทิศทางที่มีเปลวเพลิง ดึงสลัก และกดปุ่ม ควันสีขาวที่มีโพแทสเซียมไอออนเป็นส่วนประกอบจะพุ่งไปจับกับออกซิเจนและไฮโดรเจนในอากาศ เพื่อยับยั้งปฏิกิริยาเคมีซึ่งจำเป็นต่อการเผาไหม้ส่งผลให้เปลวไฟหยุดชะงักและดับลงภายในเวลาไม่กี่วินาที หรือในกรณีฉุกเฉิน สามารถขว้างเจ้าอุปกรณ์ดับเพลิงนี้เข้าไปในกองเพลิงเพื่อยังยั้งเปลวไฟได้ด้วย

    อุปกรณ์ดับเพลิง ชิ้นนี้ ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งบริษัทระบุว่าสารละลายที่ใช้ดับเพลิงจะสลายตัวไปในอากาศ และไม่เหลือคราบตกค้างบนพื้นผิว แม้จะมีกลิ่นของสารเคมีอยู่บ้างแต่ทีมวิจัยยืนยันว่าไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพเหมือนก๊าซฮาลอนหรือคาร์บอนไดออกไซด์ จึงสามารถใช้งานภายในบ้านหรือพื้นที่ปิดได้ตามปกติ

    ส่วนข้อแตกต่างกับถังดับเพลิงทั่วไปอีกอย่างหนึ่งคือ มีอายุการใช้งานนานถึง 5 ปีโดยไม่ต้องบำรุงรักษา และสารดับเพลิงที่บรรจุไว้ภายใน ยังถูกคิดค้นมาเพื่อให้รับมือเหตุไฟไหม้ได้ทุกรูปแบบ ทั้งการไหม้ตามปกติ ของเหลวไวไฟ สารนำไฟฟ้า หรือน้ำมันทำอาหาร เหมาะสำหรับที่พักอาศัย ห้องครัว ตั้งแคมป์ หรือแม้แต่ยานพาหนะ อย่าง รถหรือเรือ โดยมีราคาที่ระบุไว้บนเว็บไซต์ 1,290 kr หรือประมาณ 4,500 บาท

    สำหรับประวัติการคิดค้นอุปกรณ์ดับเพลิงมีความเป็นมายาวนานและพัฒนาการอย่างต่อเนื่องตามยุคสมัย เริ่มตั้งแต่ยุคโบราณที่มนุษย์ใช้วิธีการง่ายๆ เช่น การใช้ทรายหรือน้ำดับไฟ จนถึงปัจจุบันที่มีอุปกรณ์ดับเพลิงที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูง

    ยุคโบราณ:

    • การใช้น้ำ: เป็นวิธีการดับเพลิงที่เก่าแก่ที่สุดและง่ายที่สุด มนุษย์ใช้น้ำราดหรือสาดเพื่อลดอุณหภูมิของเชื้อเพลิงและหยุดปฏิกิริยาการเผาไหม้
    • การใช้ทราย: ทรายถูกนำมาใช้ในการดับเพลิงขนาดเล็ก โดยการโปรยทรายลงบนกองไฟเพื่อตัดออกซิเจนและหยุดการเผาไหม้

    ยุคกลาง:

    • ถังดับเพลิงแบบมือโยก: ในศตวรรษที่ 17 มีการประดิษฐ์ถัง ดับเพลิง แบบมือโยก ซึ่งเป็นถังบรรจุน้ำที่มีปั๊มมือสำหรับฉีดน้ำออกไป
    • เครื่องดับเพลิงแบบถังเคมี: ในศตวรรษที่ 19 มีการพัฒนาเครื่องดับเพลิงแบบถังเคมี ซึ่งบรรจุสารเคมีที่สามารถดับไฟได้ เช่น โซเดียมไบคาร์บอเนต

    ยุคปัจจุบัน:

    • เครื่องดับเพลิงแบบพกพา: ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 มีการประดิษฐ์เครื่องดับเพลิงแบบพกพา ซึ่งเป็นถังบรรจุสารดับเพลิงที่มีแรงดัน สามารถพกพาไปยังที่เกิดเหตุได้สะดวก
    • ระบบสปริงเกอร์: ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 มีการพัฒนาระบบสปริงเกอร์ ซึ่งเป็นระบบดับเพลิงอัตโนมัติที่ติดตั้งบนเพดานอาคาร เมื่อเกิดเพลิงไหม้ หัวสปริงเกอร์จะทำงานและฉีดน้ำออกมาดับไฟ
    • เครื่องดับเพลิงชนิดต่างๆ: ปัจจุบันมีเครื่องดับเพลิงชนิดต่างๆ ที่ออกแบบมาเพื่อดับไฟประเภทต่างๆ เช่น เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง เครื่องดับเพลิงชนิดคาร์บอนไดออกไซด์ และเครื่องดับเพลิงชนิดโฟม

    พัฒนาการในอนาคต:

    • เทคโนโลยีดับเพลิงอัจฉริยะ: มีการพัฒนาเทคโนโลยีดับเพลิงอัจฉริยะ เช่น ระบบตรวจจับควันและความร้อนอัตโนมัติ ระบบแจ้งเตือนเพลิงไหม้ผ่านสมาร์ทโฟน และระบบควบคุมเครื่องดับเพลิงจากระยะไกล
    • วัสดุดับเพลิงใหม่: มีการวิจัยและพัฒนาวัสดุดับเพลิงใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

    การคิดค้นและพัฒนา อุปกรณ์ดับเพลิง เป็นสิ่งสำคัญในการช่วยชีวิตและทรัพย์สินจากภัยเพลิงไหม้ โดยเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการ ‘ดับเพลิง’ ให้ดียิ่งขึ้น

    Credit Photo: MAUS Safety

    บทความที่น่าสนใจ

    ครบจบทุกไลน์ไอเท็มในที่เดียว Dyson เปิด Demo Store สาขาใหม่ ใหญ่ที่สุดในไทย ใจกลางสยามพารากอน

    “Pioneer 25” รถแข่งออฟโรดพลังไฮโดรเจน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

    Related Post