Inzpy ชวนดู ภาพยนตร์ไทย ในตำนานที่รับชมได้แล้วใน Netflix
Inzpy ชวนดูครั้งนี้พามาสายภาพยนตร์ไทยกันบ้าง ซึ่งก็เป็น ภาพยนตร์ไทย ในระดับตำนานที่เมื่อก่อนเรียกได้ว่าหาดูได้ค่อนข้างยาก แต่จะบอกว่าตอนนี้ใครมี Netflix ก็สามารถเข้าไปดูได้สบาย ๆ จะมีเรื่องไหนบ้างตามมาดูกันเลย
เรื่องราวของ สันติ เด็กตาบอดซึ่งกำพร้าพ่อแม่มาตั้งแต่เด็ก และทุกเช้า วีณา เพื่อนบ้านวัยไล่เลี่ยกันจะช่วยจูงสันติไปโรงเรียน ทำให้ ไกร ไม่ชอบใจและหาทางแกล้งสันติอยู่ตลอด ต่อมาพระภิกษุวัยชราได้แวะมาเยี่ยมสันติ และขอรับสันติไปอยู่ที่วัด โดยที่วีณาก็ยังคงแวะเวียนไปเยี่ยมอยู่เสมอ แต่วันหนึ่งวีณากลับไม่ได้มาหาอย่างเคยเพราะถูกให้กักตัวอยู่แต่ในบ้านเนื่องจากไกรกำลังให้แม่มาสู่ขอวีณา จนวีณาได้มาพาขอให้สันติพาหนี ไกรรู้จึงตามล่าสันติกับวีณาและทำร้ายสันติ วีณาจึงไปตามหลวงตามาช่วย แต่แล้วก็เกิดอุบัติเหตุขึ้นทำให้หลวงตาที่เข้ามาช่วยสันติเอาไว้ถูกก้อนหินทับแทนสันติจนเสียชีวิต และตาของสันติก็กลับมามองเห็นอีกครั้งแต่ภาพแรกที่เขาได้เห็นคือภาพที่หลวงตาต้องตายตัวเอง สันติจึงตัดสินใจบวชเพื่อหาความสุขสงบให้ตัวเอง
ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องยาวเรื่องแรกที่ได้รับรางวัลระดับนานาชาติ จากงานประกวดภาพยนตร์นานาชาติแห่งเอเชียอาคเนย์ ที่ประเทศญี่ปุ่น ในปีพ.ศ. 2497 โดยได้รับรางวัลถ่ายภาพยอดเยี่ยม – รัตน์ เปสตันยี กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม – อุไร ศิริสมบัติ และรางวัลพิเศษจากสมาคมผู้สร้างภาพยนตร์แห่งอเมริกาในฐานะที่เป็นภาพยนตร์ที่แสดงวัฒนธรรมของเอเชียได้เป็นอย่างดี
เล่าเรื่องราวของ แพร ม่ายสาวลูกติดที่แต่งดำไว้ทุกข์ให้สามีที่เสียชีวิตของเธอไป จนใคร ๆ ก็เรียกเธอว่าแพรดำ โดยเธอได้มี ทม ชายหนุ่มผู้ดูแล Night Club มาติดพัน และ เสนีย์ เจ้าของ Night Club เจ้านายของทมนั้นต้องการที่จะโกงเงินประกันชีวิตตัวเอง จึงปลอมตัวเป็นพี่ชายฝาแฝดตัวเองที่ตายไปแล้ว จึงทำให้ทั้งสามชีวิตต้องพัวพันกับเหตุฆาตกรรมและการถูกข่มขู่
ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นการผสมผสานรูปแบบฟิล์มนัวร์ (Film Noir) หรือหนังที่นิยมแสดงด้านมืดของมนุษย์และสังคม กับคำสอนพุทธศาสนา และได้รับเชิญให้ไปฉายใน Berlin Film Festival ในปี 2504 ด้วย
เรื่องราวของหนุ่มชาวนาในภาคอีสานอย่าง ทองพูน ที่ภรรยาหนีไปเป็นเมียเช่าในยุคเมืองไทยมีฐานทัพอเมริกันในสงครามเวียดนาม โดยทิ้งลูกน้อยไว้ ทองพูนจึงขายที่นาเข้ามาเมืองหลวงโดยมีอาชีพเป็นคนขับแท็กซี่ จนเก็บเงินเพียงพอที่จะซื้อรถแท็กซี่คันเก่ามาเป็นของตัวเองได้ แต่สุดท้ายเขาก็ถูกปล้นเอารถไป และการแจ้งตำรวจเหมือนจะไม่เกิดผลอะไร เขาจึงออกตามหารถด้วยตัวเอง แต่ด้วยความซื่อของคนบ้านนอกทำให้เขาตกเป็นอาชญากรในอาชญากรรมที่ตัวเองไม่ได้ก่อ
ทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็มขั้น เป็นหนังของ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล ซึ่งเป็นที่นำกระแสของภาพยนตร์ไทยให้ก้าวไปข้างหน้า
ภาพยนตร์ที่ดัดแปลงมาจากบทประพันธ์ของศรีบูรพา เรื่องราวของนพพร นักศึกษาชาวไทยในญีปุ่น วันหนึ่งเจ้าคุณอธิการบดี ได้เดินทางมาเที่ยวประเทศญี่ปุ่นพร้อมภรรยาม.ร.ว.กีรติ ซึ่งทั้งคู่มีอายุที่ต่างกันอย่างมาก ด้วยความที่กลัวว่า ม.ร.ว.กีรติ จะเบื่อเจ้าคุณอธิการบดีจึงได้ฝากให้นพพร พาม.ร.ว.กีรติ ไปเที่ยวชมสถานที่ต่าง ๆ ในญี่ปุ่น และนั้นทำให้นพพรเกิดความรู้สึกดี ๆ กับม.ร.ว.กีรติ และได้สารภาพความรู้สึกออกไป แต่ก็ถูกปฏิเสธด้วยเหตุผลของความเหมาะสม
6 ปีผ่านไป นพพรก็ได้เดินทางกลับเมืองไทย ขณะที่เจ้าคุณอธิการบดีได้เสียชีวิตไปแล้ว และนพพรก็ได้พบกับม.ร.ว.กีรติ ที่กลายเป็นหม้าย และความรู้สึกของเธอที่ต่อนพพรได้เปลี่ยนไปแล้ว ในขณะที่นพพรก็ได้แต่งงานกับคู่หมั้นสาวที่ทางบ้านจัดหาให้ และหลังจากแต่งงานนพพรก็ได้รู้ว่า ม.ร.ว.กีรติ กำลังป่วยด้วยวัณโรค นพพรได้เดินทางไปเยี่ยม เธอก็ได้มอบภาพวาดของธารน้ำตกมิตาเกะให้กับเขา และกล่าวว่านพพรไม่เคยเข้าใจในความรู้สึกที่แท้จริงของเธอเลย และเสียชีวิตลงในไม่กี่วันต่อมาพร้อมด้วยข้อความสุดท้ายที่เธอเขียนถึงนพพร “ฉันตายโดยปราศจากคนที่รักฉัน แต่ฉันก็อิ่มใจว่า ฉันมีคนที่ฉันรัก”
เรื่องราวของ ฮูยัน นักเรียนหัวดีที่ต้องหยุดเรียนไปช่วยพ่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัว เขาได้รับคำแนะนำจาก มิมปี เพื่อนโรงเรียนเดียวกัน แนะนำให้ลองไปเข้าร่วมขบวนการกองทัพมดที่ทำงานขนข้าวขึ้นรถไฟไปขายยังชายแดนมาเลเซีย นั่นทำให้ฮูยันได้เป็นเรียนรู้การใช้ชีวิตผ่านประสบการณ์ต่าง ๆ ทั้งดีและร้าย ซึ่งนั้นก็ทำให้เขาได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่อย่างแท้จริงได้ด้วยตัวเอง
เรื่องราวของครอบครัวที่พ่ออย่าง ดำรง และแม่อย่าง อาภา ที่แยกทางกัน โดยที่อาภาได้พาลูกสามคนย้ายไปอยู่ในแฟลตใกล้ที่สำนักพิมพ์ที่เธอทำงานอยู่ และดำรงก็ย้ายไปอยู่เชียงใหม่ แต่ด้วยความที่อาภาเป็นคนบ้างานเธอจึงมักจะปล่อยให้ลูก ๆ อยู่กันเอง โดยมีพี่สาวคนโตอย่าง โอ๋ คอยดูแลน้องชายอีกสองคน โอ๋จึงตัดสินใจพาน้อง ๆ ไปหาพ่อที่เชียงใหม่ ระหว่างการเดินทางโอ๋ได้รู้จักกับนกแล เด็กจรจัดบนรถไฟ ซึ่งชักนำโอ๋เข้าไปพัวพันกับแก๊งค้ายาเสพติดเมื่ออาภารู้ว่าลูกหายไปจึงโทรไปขอร้องให้ดำรงช่วยตามหา และเมื่อตามหาลูกพบดำรงจึงกลับมาอยู่พร้อมหน้าครอบครัวอีกครั้งที่บ้านหลังเดิม
ภาพยนตร์ที่เล่าเรื่องราวของ ตุ้ม พนักงานสาวประจำบริษัทการเงินแห่งหนึ่งที่ถูกปลดออกจากงานเพราะปัญหาเศรษฐกิจในช่วงยุคฟองสบู่แตกหรือวิกฤติการณ์ต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540 และโชคชะตาก็ยังเล่นตลกกับเธอเพราะลูกน้องของเจ้าพ่อวงการมวยได้นำกล่องที่เติมไปด้วยเงินสดจำนวนมากมาวางไว้น่าห้องหมายเลข 6 ของเธอ เพราะเข้าใจผิดว่านั่นเป็นห้องหมายเลข 9 เพราะป้ายเลขห้องหลุดกลับหัว จาก 6 เป็น 9 เป็นเหตุให้เธอต้องเข้าไปพัวพันกับอาชญากรรมโดยไม่ตั้งใจ
เรื่องราวหลังการผลัดเปลี่ยนแผ่นดินมาสู่รัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ พระเจ้ามังระกษัตริย์พม่าส่งทัพพม่า 2 ทัพใหญ่บุกกรุงศรีอยุธยา เส้นทางหนึ่งให้มังมหานรธาตีฟากทิศตะวันตก อีกเส้นทางทรงมอบให้เนเมียวสีหบดีเป็นแม่ทัพเข้ามาทางเหนือ ตีเรื่อยลงมาจนกระทั่งถึงบ้านระจันก็ยังไม่สามารถตีแตกได้ เนื่องจากชาวบ้านสามัคคีกันจับอาวุธลุกขึ้นต่อสู้กับทัพพม่า ชาวบ้านแห่งหนอื่นที่ได้ยินกิตติศัพท์ก็มารวมตัวกันและสู้รบพร้อมได้ชัยชนะมาตลอด และได้มีการไปเจรจาขอปืนใหญ่จากกรุงศรีอยุธยา แต่ถูกปฏิเสธเพราะกลัวว่าค่ายบางระจันจะแตกพ่ายและถูกทัพพม่ายึดปืนใหญ่ไป
แต่ไม่นานนักพระยารัตนาธิเบศร์ซึ่งเห็นในความกล้าหาญของชาวบ้านบางระจัน ก็ได้เดินทางมาช่วยหล่อปืนใหญ่ แต่โชคร้ายปืนใหญ่ที่หล่อกลับร้าวจนไม่สามารถใช้ได้ และพม่าก็ได้มี สุกี้ แม่ทัพคนใหม่ที่มีฝีมือเก่งกาจที่ทำให้ชาวบ้านร่วมมือกันสู้จนวินาทีสุดท้ายของชีวิต
เรื่องราวโศกนาฏกรรมความรักของ รำเพย สาวสูงศักดิ์ กับ ดำ ลูกชาวไร่ ด้วยความทรงจำให้วัยเด็กที่มีร่วมกันและกลายเป็นความรักที่ยั่งยืน ดำให้สัญญาว่าเขาจะกลับไปทำไร่ที่สุพรรณบุรีเก็บเงินมาสู่ขอรำเพย แต่เมื่อกลับมาถึงดำก็พบว่าพ่อตัวเองถูกฆ่าตาย เพราะต้องการล้างแค้นให้พ่อจนต้องระหกระเหินไปอาศัยอยู่กับกองโจรของเสือฝ้ายและเสือมเหศวร และกลายเป็นที่รู้จักในชื่อเสือดำ มือขวาของเสือฝ้าย
ส่วนรำเพยถูกบังคับให้รับหมั้นกับ กำจร นายตำรวจหนุ่มจากพระนคร จึงตัดสินใจหนีตามดำและได้นัดพบกัน แต่เสือดำก็ดันไปไม่ได้ไปตามนัดเพราะติดภารกิจสำคัญ จึงทำให้รำเพยเปลี่ยนใจเข้าพิธีหมั้น และกำจรก็ตัดสินใจนำกำลังตำรวจไปกวาดล้างรังโจรเสือฝ้ายเพื่อสร้างผลงาน แต่ก็พลาดท่าจนถูกจับได้เมื่อรู้ว่าวินาทีสุดท้ายของชีวิตจะมาถึง กำจรจึงได้ขอร้องเสือดำให้ส่งข่าวแก่คู่หมั้นของเขาและได้นำรูปรำเพยให้ดู เมื่อเสือดำรู้ว่าคู่หมั้นของกำจรคือรำเพยจึงปล่อยกำจรไป และเมื่อเสือฝ้ายรู้ว่าเสือดำทรยศ จึงสั่งให้เสือมเหศวรหลอกเสือดำไปฆ่า แต่เสือดำก็รอดมาได้และกลับไปหารำเพย
ภาพยนตร์ที่สร้างจากนิยายชื่อเดียวกันของวัฒน์ วรรลยางกูร และนำมาดัดแปลงเป็นภาพยนตร์โดยเป็นเอก รัตนเรืองเรื่องราวของ แผน หนุ่มลูกทุ่งที่ใฝ่ฝันจะเป็นนักร้อง แม้จะแต่งงานกับ สะเดา แล้วก็ยังไม่ล้มเลิกความฝันนั้นอยู่ดี วิทยุทรานซิสเตอร์เครื่องเล็กซึ่งเป็นของขวัญวันแต่งงาน ก็เป็นสิ่งที่ช่วยสร้างความบันเทิงให้คู่รักคู่นี้ได้และยังทำให้แผนได้ฝันถึงภาพที่ตัวเองเป็นนักร้องชื่อดัง และเมื่อสะเดาตั้งท้องได้ 5 เดือนแผนก็ได้รับหมายเกณฑ์ไปเป็นทหาร และหลังจากประกวดร้องเพลงได้รางวัลที่ 2 แผนจึงได้หนีทหารเพื่อมาทำตามความฝันตัวเอง แต่เมื่อถูกหัวหน้าวงกดขี่คุกคามก็ได้พลั้งมือทำร้ายจนต้องหนีไปทำงานในไร่อ้อย แต่สุดท้ายก็ต้องติดคุก และเมื่อพ้นโทษออกมาก็กลับมาหาที่พักใจสุดท้ายของตัวเองในที่สุด
ภาพยนตร์ที่สร้างจากนิยายดังของ ทมยันตี โดยสุรพงษ์ พินิจค้า และเป็นฉบับได้ตัดต่อทวิภพขึ้นมาเป็นแบบใหม่ ในแบบของเขาเอง ดังชื่อในภาษาอังกฤษว่า THE SIAM RENAISSANCE หรือเป็นคำไทยปนแขกว่า สยามปุณภพ ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของเรื่องให้แตกต่างจากบทประพันธ์ในฉบับดั้งเดิมที่เคยเน้นเรื่องราวความรักโรแมนติกข้ามภพให้กลายเป็นภาพยนตร์ที่เข้มข้นขึ้นในแง่ข้อมูลทางประวัติศาสตร์
เรื่องราวของ ลุงบุญมี ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเลยและมีอาชีพทำสวนมะขาม นั้นป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรังมาเป็นระยะเวลานาน เมื่อรู้ว่าวินาทีสุดท้ายของชีวิตกำลังจะมาถึง เขาจึงโทรเรียกญาติซึ่งก็คือ เจนจิรา ให้มารับเขาจากโรงพยาบาลเพื่อจะกลับไปตายที่บ้าน เมื่อเจนจิรามาจากกรุงเทพพร้อมเพื่อนอย่าง ศักดิ์ดา พวกเขาได้มาเจอกับวิญญาณของ ฮวย ซึ่งเป็นภรรยาที่เสียชีวิตไปนานแล้วของลุงบุญมี เธอปรากฏตัวขึ้นเพื่อมาดูแลสามีที่ป่วย รวมทั้งลูกชายของลุงบุญมีที่หายเข้าไปในป่าก็กลับมาด้วยในร่างของมนุษย์ลิง และมีภรรยาที่เป็นสัตว์ประหลาดที่รู้จักกันในตำนานพื้นถิ่นว่าลิงผีและอาศัยอยู่ด้วยกันในป่า
ในระหว่างอาหารมื้อเย็นลุงบุญมีเล่าให้ฟังถึงความมหัศจรรย์ของการนั่งสมาธิ ซึ่งทำให้เขาระลึกชาติได้และเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ที่ระลึกได้เล่าให้คนที่มาเยี่ยมฟัง และในคืนที่สองเมื่อเล่าเรื่องจบลุงบุญมีก็ได้เดินทางเข้าไปในสถานที่บนภูเขาสูงตามที่ภรรยาได้พูดถึง ทุกคนจึงออกเดินทางไปในป่ากลางดึกและได้พบเจอกับสรรพสัตว์และวิญญาณ เมื่อมาถึงถ้ำบนยอดเขา ลุงบุญมีก็ระลึกได้ว่านี้เป็นที่ที่เขาเกิดในชาติแรก จากนั้นก็เสียชีวิตลง เจนจิราได้นำศพลุงบุญมีมาทำพิธีในเมือง เรื่องเล่าของลุงบุญมีก็ได้จบลงพร้อมกับความทรงจำของเจนจิราและศักด์ดาที่มุ่งหน้ากลับกรุงเทพ ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นภาพยนตร์ไทยที่ได้รับรางวัลปาล์มทองคำ หรือรางวัลชนะเลิศจากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ครั้งที่ 63
ผลงานเรื่องยาวเรื่องที่สองของนวพล เป็นภาพยนตร์ที่นำการใช้สื่อโซเชี่ยลมีเดียมาเป็นวัตถุดิบในการเล่าเรื่อง โดยใช้ข้อความจากแอคเคาท์ทวิตเตอร์ที่ใช้ชื่อว่า แมรี่ มาโลนี่ @marylony จำนวน 410 ทวิตมาเป็นเส้นเรื่อง ที่แสดงให้คนดูได้เข้าใจถึงวิธีการคิดของเด็กวัยรุ่นคนหนึ่ง ที่ใกล้เรียนจบและพยายามจะทำหนังสือรุ่นรวมของชั้นเรียน ให้เป็นความทรงจำแก่เพื่อน
รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 23 ในสาขา ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม พัชชา พูนพิริยะ / ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม ชนนิกานต์ เนตรจุ้ย / ถ่ายภาพยอดเยี่ยม ไพรัช คุ้มวัน / ลำดับภาพยอดเยี่ยม ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต
รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 22 ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม พัชชา พูนพิริยะ / ลำดับภาพยอดเยี่ยม ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต / กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม ราสิเกติ์ สุขกาล
รางวัลสตาร์พิคส์ ครั้งที่ 11 ผู้กำกับยอดเยี่ยม นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ / ออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยม ราสิเกติ์ สุขกาล
รางวัลคมชัดลึก อวอร์ด 11 ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม พัชชา พูนพิริยะ / ผู้กำกับยอดเยี่ยม นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์
Special Mention award – Buenos Aires International Independent Film Festival 2014
Young Talent award – Filmfest Hamburg 2014
ภาพยนตร์ผลงานภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของ พุทธิพงษ์ อรุณเพ็ง ที่สะท้อนถึงปัญหาและทัศนคติต่อความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ เรื่องราวของชาวประมงท้องถิ่นที่บังเอิญพบชายคนหนึ่งที่บาดเจ็บนอนหมดสติในป่า และเขาตัดสินใจช่วยเหลือชายแปลกหน้าคนนั้น ที่ไม่สามารถแม้แต่จะสื่อสารกันรู้เรื่อง และค่อย ๆ ทำความรู้จักและสานสัมพันธ์กันมาเรื่อย ๆ โดยที่ไม่ทันได้ทันคิดเลยว่ามันเป็นจุดเริ่มต้นที่แสดงให้เห็นถึงความเปราะบาง และความไม่สมบูรณ์แบบของมนุษย์ จนนำไปสู่โศกนาฏกรรม
รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประเภท Orizzonti / Horizon เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิส ครั้งที่ 75
ขอขอบคุณข้อมูล : หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)