รู้หรือไม่ ? ทวีปไหนผลิต “ขยะสิ่งทอ” มาที่สุด คำตอบก็คือ “ยุโรป” นั่นไงจะใครล่ะ ทวีปเดียวผลิต “ขยะสิ่งทอ” ประมาณ 11 ล้านตันต่อปี แต่มีเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ถูกนำกลับมารีไซเคิลหรือใช้ใหม่
โดยขยะสิ่งทอส่วนใหญ่ คือ “ฟาสต์แฟชั่น” ซึ่งปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้คนเลือกซื้อเสื้อผ้าเพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งได้รับแรงหนุนจากโซเชียลมีเดีย และเทรนด์แฟชั่นที่เปลี่ยนแปลงด้วยความเร็วที่เร็วกว่าในอดีตมาก เมื่อผู้คนส่วนใหญ่ไม่ต้องการเสื้อผ้าเหล่านั้นแล้ว เพราะกลัวตกเทรนด์ ส่วนใหญ่จะถูกทิ้งลงถังขยะ มากกว่าจะนำไปบริจาค หรือขายเป็นสินค้ามือสอง โดยเฉพาะในยุโรป
ตามรายงานของ Zero Waste Europe (ZWE) เครือข่ายกำจัดขยะแห่งสหภาพยุโรป พบว่าในปี 2562 ชาวยุโรปผลิตขยะสิ่งทอประมาณ 11 ล้านตัน เฉลี่ยแล้วชาวยุโรป 1 จะทิ้งขยะสิ่งทอประมาณ 11 กิโลกรัมต่อปี ขยะส่วนใหญ่ราว 8.41 ล้านตัน หรือคิดเป็น 76.7% ถูกเผาหรือทิ้งภายในสหภาพยุโรป ส่วนอีก 1.83 ล้านตัน ซึ่งคิดเป็น 16.7% ถูกส่งออกไปนอกพรมแดนสหภาพยุโรป โดยเฉพาะไปยังแอฟริกาและเอเชีย
มีเพียง 0.19 ล้านตัน คิดเป็น 1.7% เท่านั้นถูกนำกลับมาใช้ใหม่ใน ยุโรป ในขณะที่ 4.9% หรือคิดเป็น 0.54 ล้านตัน ถูกนำกลับมารีไซเคิลในยุโรป โดยคาดว่าชาวยุโรปจะสร้างปริมาณขยะสิ่งทอจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 15 ล้านตันภายในปี 2578
แต่ข่าวดีที่เราได้รับมาก็คือ “สหภาพยุโรป” ออกกฎหมายให้ประชาชนแยกทิ้งเสื้อผ้าเก่า เพื่อให้ง่ายต่อการรีไซเคิลและนำไปใช้ใหม่ได้ง่ายขึ้น ส่วนผู้ผลิตต้องรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์ของตนตั้งแต่การผลิตจนถึงการจำกัดสินค้า
โดยรัฐสภาของสหภาพยุโรปกำหนดให้ประเทศในสหภาพยุโรปจะต้องรวบรวมสิ่งทอแยกต่างหาก ภายในวันที่ 1 มกราคม 2568 เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อเตรียมการใช้ซ้ำ และการรีไซเคิล เพราะเสื้อผ้าส่วนใหญ่ถูกทิ้งรวมและปนเปื้อนสารจนไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ สุดท้ายต้องลงไปจบที่หลุมฝังกลบ
อีกทั้งยังกำหนดให้ผู้ผลิตสินค้าต้องมีหนังสือเดินทางผลิตภัณฑ์ดิจิทัล ต้องมีข้อมูลที่ชัดเจนสามารถย้อนกลับไปหาที่มาของแหล่งวัสดุได้ และเรียกร้องให้บริษัทต่าง ๆ รับผิดชอบและดำเนินการเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและสิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุด
นอกจากนี้ สหภาพยุโรปยังบังคับให้มีฉลากสิ่งแวดล้อม สำหรับสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่มีสารอันตรายน้อยลงและก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำและอากาศน้อยลง ซึ่งทำให้ผู้ผลิตต้องรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์ของตนตลอดห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่ขั้นตอนการหาวัสดุ การผลิต และการกำจัด อีกทั้งต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรวบรวม การคัดแยก และการรีไซเคิลด้วย
Source : brusselstimes
Photo by Marla Rutherford, #CTTO
บทความที่เกี่ยวข้อง
“พลังเจนเอไอ” บิวตี้เทคสุดล้ำ ที่นำพิมพ์ชีวภาพมาสร้างผิวหนังจำลอง
ธุรกิจแฟชั่นหมุนเวียน ที่ช่วยแก้ปัญหา Fast Fashion
——-
ติดตาม Inzpy ได้ที่
Website:
https://inzpy.com/
Youtube:
https://www.youtube.com/c/Inzpy
Facebook:
https://www.facebook.com/inzpyth
ฝาก กดติดตาม กดไลก์ กดแชร์เป็นกำลังใจให้พวกเราด้วยนะคะ