ใช้เวลาเกือบ 3 ปี กับการปิดปรับปรุง ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เเละได้เปิดใหม่ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา พร้อมกับคิวงานที่รอจัดเเสดงกันเพียบ บอกเลยว่าใครที่ชอบงานดีไซน์ สถาปัตยกรรม หรือ สายคอนเทนต์ต้องชอบกับการออกแบบสเปซที่นี่แน่นอน
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ที่สร้างขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2534 การรีโนเวตครั้งนี้กินพื้นที่ใช้สอยรวมกว่า 3 เเสนตารางเมตร เเละได้ทีมนักออกแบบจาก 3 บริษัทที่มาออกแบบในเเต่ละส่วน อย่าง Design 103 International Limited, Shma Company Limited ที่มาออกแบบภูมิทัศน์หรือเเลนด์สเคป เเละ Onion ที่มาออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน กับงานออกแบบที่มีความเรียบง่าย สะดุดตา เเละบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย
ออกแบบภายในที่ช่วยให้คนไม่หลง ทีม Onion บอกว่า 1 ในโจทย์สำคัญของโปรเจกต์นี้คือ การดีไซน์เพื่อจัดโฟลว์คนที่เข้ามาใช้งาน ต้องเริ่มดูตั้งแต่ Circulation คนว่าใครเข้าออกบ้าง จะเข้าออกทางไหน เดินยังไงให้ไม่หลง เเละอีกหนึ่งวิธีคือการสร้างจุดสังเกตที่โดดเด่น ตัวอย่างเช่น บันไดเลื่อน 3 จุดซึ่งมีสีต่างกันโดยสิ้นเชิง บันไดเลื่อนฝั่งสวนจะเป็นสีทอง ส่วนบันไดเลื่อนที่ติดกับ MRT จะเป็นสีเงิน ขณะที่โถงกลางที่คั่นระหว่างบันไดทั้งสองจะเป็นสีทองแดง นอกจาก เพื่อความสวยงามแล้วก็เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน อริศราอธิบาย
ทีมเลือกนำ แม่ลายไทย ที่เห็นกันบ่อย ๆ อย่างลายประจำยาม มาลดทอนรายละเอียด และจัดเรียงใหม่จนกลายเป็นแพตเทิร์นกลางเพื่อใช้ในเเต่ละโซน ทางเดินที่จะสังเกตเห็นขอบหยักเล็ก ๆ เป็นรายละเอียดที่ให้กลิ่นอายความเป็นไทย
ลายไทยคาแรคเตอรของศูนย์ฯ สิริกิติ์
บนพื้นที่กว่า 2 แสนตารางเมตรของศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่แห่งนี้ ประกอบไปด้วยห้องที่มีจุดประสงค์การใช้งานที่หลากหลาย แทนที่จะทำให้ทุกอย่างหน้าตาเหมือนกัน เราเลือกที่จะสร้างคาแรคเตอรให้พื้นที่แทน เเละตั้งใจที่จะนำเสนอความเป็นไทยเพื่อสร้างเอกลักษณ์ ซึ่งจะเป็นจุดแข็งในการแข่งขันกับนานาชาติ จากชื่อของศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งตั้งตามชื่อของสมเด็จพระพันปีหลวง เราลองย้อนกลับไปดูว่ามีอะไรบ้างที่เป็นภาพจำของท่าน คือท่านมักจะนำผ้าไทยมาใช้อยู่เสมอ
การออกแบบพรมโดยใช้ลายผ้าไทยหลาย ๆ แพทเทิร์น ตัดกับเฟอร์นิเจอร์สีดำ เทา สไตล์โมเดิร์น
“Formal Thai”
โซนพรีฟังก์ชันหรือส่วนโถงก่อนเข้าสู่ฮอลล์หลัก ตกแต่งภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘Formal Thai’ ที่มีชุดไทยประยุกต์โจงกระเบนจากสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นแรงบันดาลใจ วัสดุที่เราเลือกใช้เป็นผนังหิน ให้ความรู้สึกหนักแน่นและเป็นทางการ อารมณ์คล้ายกับวัด วัง หรือสถานที่โบราณในสมัยก่อน ฮอลล์หลักในชั้นนี้มีความสูงถึง 13.5 เมตร เนื้อที่ตั้งแต่ชั้น G ถึงชั้น 2 ที่สำคัญคือภายในนั้นไม่มีเสาเลย พื้นที่ขนาดใหญ่ที่รองรับการจัดงานหลากหลาย
จุดไฮไลต์ : บันไดขนาดใหญ่ที่อยู่ตรงชั้น Exhibition ชั้น LG
ออกแบบเพื่อวัตถุประสงค์หลาย ๆ อย่าง เช่น เรื่องของการอพยพคน เนื่องจากคนที่จะมาที่ศูนย์ฯ สิริกิติ์จำนวนมากเวลาจัดงานพร้อมกัน บันไดตรงนี้ออกแบบผ่านการคำนวณเรื่องนี้มาแล้วด้วยเช่นกัน ในเรื่องของกฏหมายแสตนดาร์ด หรืออย่างกฏหมายสากล อย่างกฏหมายคนพิการ หรือ Handicap เราก็ได้มีการ Combine ส่วนนี้เข้าไป เราออกแบบให้คนทั่ว ๆ ไปใช้ได้
นอกจากการออกแบบที่สวยงามเเล้ว ทีม Onion ได้ออกแบบดีเทลค่อนข้างเยอะ เเละตัวนี้เเหละที่ช่วยเสริมให้การออกแบบลงตัวเเสดงถึงความเป็นไทยในยุคสมัยใหม่ได้
Source : คุยกับผู้อยู่เบื้องหลังรีโนเวตศูนย์ฯ สิริกิติ์ – Urban Creature
อัปเดตคอนเทนต์ใหม่ ๆ ทาง LINE ฟรี
Add friend ที่ ID : @inzpy (มี@นำ)