Revlon บริษัทเครื่องสำอางยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ ยื่นล้มละลาย จากเงินเฟ้อ ยอดขายลด
Revlon บริษัทเครื่องสำอางยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ ยื่นล้มละลาย จากเงินเฟ้อ ยอดขายลด… Revlon แบรนด์เครื่องสำอางชื่อดังจากสหรัฐฯ ได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอการพิทักษ์ทรัพย์สินตามมาตรการที่ 11 ของกฎหมายล้มละลายสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการแล้ว หลังจากที่มีข่าวในช่วงที่ผ่านมาว่าบริษัทไม่สามารถที่จะดำเนินกิจการต่อไปได้ เนื่องจากประสบปัญหาทางธุรกิจ รวมถึงหนี้สินล้นพ้นตัว สินทรัพย์และหนี้สินขององค์กรซึ่งมีมูลค่าระหว่าง 1,000-10,000 ล้านดอลลาร์ อ้างอิงจากเอกสารที่ทางบริษัทยื่นต่อทางการสหรัฐฯ
สำหรับปัญหาของธุรกิจที่แบรนด์เครื่องสำอางพบเจอนั้นได้แก่ปัญหาของคู่แข่งที่เพิ่มมากขึ้น เสียฐานลูกค้าให้กับแบรนด์เครื่องสำอางของบุคคลมีชื่อเสียง อย่างเช่นแบรนด์เครื่องสำอางจากเซเลบริตี้ที่มีชื่อเสียงอย่าง Kylie Cosmetics ของ ไคลีย์ เจนเนอร์ และ Fenty Beauty ของรีฮานนา ที่ทำให้ลูกค้าของ Revlon หันไปใช้แบรนด์เหล่านี้มากขึ้น รวมถึงคู่แข่งรายสำคัญอย่าง L’Oreal และ Estee Lauder อีกทั้งยังไม่สามารถแข่งขันกับแบรนด์คู่แข่งอย่างคัฟเวอร์เกิร์ล (CoverGirl) ของบริษัทโคตี้ (Coty Inc) ที่ชิงส่วนแบ่งตลาดจากเรฟลอนมาได้ด้วยการลงทุนอย่างหนักเพื่อการพัฒนาสินค้า
เดบราห์ เพอเรลแมน ประธานกรรมการบริหารของเรฟลอน ระบุว่า “การยื่นขอล้มละลายในวันนี้จะทำให้เรฟลอนสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่เราส่งมอบให้กับผู้บริโภคของเรามานานหลายทศวรรษต่อไปได้ ขณะเดียวกันก็เป็นการกำหนดเส้นทางที่ชัดเจนขึ้นสำหรับการเติบโตในอนาคตของเราด้วย”
สำหรับ Revlon ก่อตั้งในปี 1932 โดยเริ่มวางจำหน่ายยาทาเล็บในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ก่อนที่จะขยายธุรกิจไปทั่วโลกในช่วงปี 1955 และบริษัทถูกซื้อกิจการโดย MacAndrews & Forbes ในปี 1985 ก่อนที่จะนำบริษัทเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในปี 1996 บริษัทเครื่องสำอางเรฟลอน (Revlon) มีประวัติยาวนานถึง 90 ปี เผชิญกับวิกฤตรุมเร้า จากภาระหนี้ท่วม ปัญหาห่วงโซ่อุปทานที่เลวร้ายลงจากการระบาดของโควิด-19 และการแข่งขันในตลาดเครื่องสำอางที่ดุเดือด ตามรายงานของเอพีและรอยเตอร์ ทั้งนี้ เรฟลอน ที่โด่งดังจากยาทาเล็บและลิปสติก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1932 และเป็นแบรนด์เครื่องสำอางชื่อดังมานานหลายทศวรรษ แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา บริษัทมีภาระหนี้สูงอย่างต่อเนื่อง ปัญหาห่วงโซ่อุปทานที่ดันต้นทุนการผลิตและขนส่งให้สูงขึ้น ตามมาด้วยยอดขายที่ลดลงจากช่วงการระบาดของโควิด-19
นอกจากนี้ แบรนด์เครื่องสำอางรายนี้ยังประสบปัญหาในการผลิตสินค้าอีกด้วย โดยบริษัทได้ชี้แจงว่าการส่งวัตถุดิบจากประเทศจีนมาที่สหรัฐอเมริกานั้นใช้เวลามากถึง 12 อาทิตย์ ขณะเดียวกันต้นทุนของวัตถุดิบเองยังเพิ่มมากขึ้นถึง 4 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2019 ส่งผลทำให้สินค้าผลิตได้ไม่ทันแม้ว่าจะมีความต้องการจากลูกค้าที่สูงก็ตาม เมื่อสินค้าของบริษัทออกช้ากว่าคู่แข่ง แต่ปัญหาต่าง ๆ เข้ามารุมเร้านั้นก็ได้ส่งผลกลับมาที่ยอดขายของบริษัทที่ลดลง ในปี 2021 ยอดขายของบริษัทนั้นอยู่ที่ 2,079 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ก็ยังต่ำกว่าในปี 2019 ที่บริษัทมียอดขายที่ 2,420 ล้านเหรียญสหรัฐ Revlon เองยังประสบปัญหาหนี้สินที่เพิ่มมากขึ้นด้วย ในรายงานที่ยื่นต่อศาลนั้นบริษัทมีหนี้สินมากถึง 3,700 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ทรัพย์สินของบริษัทเหลือเพียงแค่ 2,300 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น
หลังจากบริษัทได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 11 เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น บริษัทคาดว่าจะได้รับเงินกู้ก้อนใหม่จากเจ้าหนี้เป็นมูลค่า 575 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเงินกู้ก้อนดังกล่าวจะนำมาเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการต่อไป