More

    แชร์เทคนิค การถ่ายดาวฉบับมือใหม่ ที่อยากออกไปล่าทางช้างเผือก

    แชร์เทคนิค การถ่ายดาวฉบับมือใหม่ ที่อยากออกไปล่าทางช้างเผือก

    การถ่ายดาวฉบับมือใหม่

    สวัสดีค่ะเพื่อน ๆ ชาว Inzpy สายท่องเที่ยวทั้งหลาย เมื่อครั้งที่แล้วเราได้แนะนำสถานที่สำหรับล่าทางช้างเผือกกันไปแล้ว ในวันนี้เราจะมาแชร์เทคนิค การถ่ายดาวฉบับมือใหม่ ให้เพื่อน ๆ ได้นำไปใช้กันค่ะ รับรองว่าถ้าทำตามนี้ เพื่อน ๆ จะต้องได้รูปสวย ๆ ติดไม้ติดมือกลับมาเพียบอย่างแน่นอน การถ่ายทางช้างเผือกนั้น มีเทคนิคและอุปกรณ์จำเป็นอะไรบ้าง ตามมาอ่านกันค่ะ

     

    ข้อควรรู้ใน การถ่ายดาวฉบับมือใหม่

    1.ช่วงเวลาที่เหมาะสมของการถ่ายทางช้างเผือกคือเดือนกุมภาพันธ์-ตุลาคม
    2.สถานที่ที่ถ่ายดาวจะต้องมืด ไร้แสงไฟรบกวน หรือมีแสงรบกวนให้น้อยที่สุด ยิ่งมืดจะยิ่งเห็นดาวชัดขึ้นค่ะ
    3.การเลือกวันที่จะไปถ่ายควรเลือกวันที่เป็นคืนเดือนมืด จะทำให้แสงของพระจันทร์ไม่ไปกลบแสงของดาว และควรเช็คสภาพอากาศ ไปในวันที่ท้องฟ้าปลอดโปร่ง ไร้เมฆ นอกจากนี้ควรเช็กเวลา และทิศทางที่ทางช้างเผือกจะขึ้นด้วยค่ะ

    อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

    การถ่ายดาวฉบับมือใหม่
    1.กล้อง จะถ่ายรูปก็ต้องมีกล้องใช่ไหมล่ะคะ แนะนำว่าเป็นกล้องที่สามารถเปลี่ยนเลนส์ได้
    2.เลนส์ ถ้าเป็นไปได้แนะนำให้ใช้เลนส์ไวด์ หรือเลนส์ซูม เพราะจะได้ภาพที่กว้าง เก็บรายละเอียดได้ครบ และควรเลือกเลนส์ที่มีรูรับแสงกว้าง เพราะยิ่งรูรับแสงกว้างก็จะยิ่งถ่ายติดดาวได้มากขึ้น
    3.ขาตั้งกล้องและสายลั่นชัตเตอร์ เนื่องจากเราต้องการให้กล้องอยู่นิ่งที่สุดตอนถ่ายดาวนั่นเองค่ะ ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่ค่อนข้างจำเป็นเลยค่ะ เนื่องใช้จากถ่ายดาวจะต้องใช้ Speed Shutter ที่ค่อนข้างยาว ไม่สามารถถือกล้องได้ ภาพจะสั่น แต่ถ้าหากใครไม่มีจริง ๆ ก็ต้องหามุมที่จะวางกล้องได้ แล้วตั้งเวลาถ่ายเอา ก็พอที่จะช่วยได้เช่นกันค่ะ
    4.แบตเตอรี่ เป็นอุปกรณ์เสริมที่ขาดไม่ได้เลยค่ะ ควรเตรียมสำรองไปเผื่อซัก 1 ก้อน เพราะบางทีเราอาจจะถ่ายรูปเพลินจนแบตเตอรีหมดก็เป็นไปได้
    5.ไฟฉาย ถือเป็นอุปกรณ์เสริมอีกหนึ่งอย่าง นอกจากเราจะใช้ช่วยส่องสว่างในการเดินทางไปยังจุดถ่ายดาวแล้ว ยังสามารถใช้มันเป็นพร็อพสร้างลำแสงในภาพของเราได้อีกด้วยค่ะ

     

    การตั้งค่ากล้อง

    การถ่ายดาวฉบับมือใหม่

    • ISO (ค่าความไวแสง) ควรตั้งค่าให้ ISO สูงเพื่อรับแสงเข้ามาในกล้องให้มากขึ้น แต่แนะนำว่าให้ค่อย ๆ ลองปรับขึ้นจาก ISO 1600 ขึ้นไป เพราะยิ่งปรับขึ้นสูงก็จะยิ่งมี Noise มากขึ้นตามไปด้วย
    • Speed Shutter (ความเร็วชัตเตอร์) การตั้งค่านี้ขึ้นอยู่กับกล้องของเราว่าเป็นกล้องแบบไหน และใช้เลนส์ระยะไหน โดยมีวิธีคำนวนดังนี้
      M4/3 : 300 หารด้วยระยะเลนส์
      APSC : 400 หารด้วยระยะเลนส์
      Full Frame : 600 หารด้วยระยะเลนส์
      ผลลัพธ์ที่ได้คือความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะสมค่ะ
    • F Stop (รูรับแสง) ตั้งค่ารูรับแสงให้กว้างที่สุด (ค่า F ต่ำที่สุด) รูรับแสงกว้าง จะรับแสงได้มาก ซึ่งจะส่งผลไปยังการปรับ Speed Shutter ถ้าเลนส์มีรูรับแสงยิ่งกว้าง ก็จะทำให้เราใช้ Speed Shutter ได้ต่ำลง ซึ่งจะช่วยในเรื่องของการถ่ายได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ดาวไม่เป็นเส้น
    • White Balance (สมดุลแสงสีขาว) ถือเป็นส่วนเสริม จะใช้เป็นแบบระบบอัตโนมัติก็ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพสี และแสงบนท้องฟ้า และโทนของภาพที่เราชอบ

    สำหรับเทคนิคในการถ่ายดาว ล่าทางช้างเผือก ในแบบฉบับมือใหม่ ก็มีเพียงเท่านี้ค่ะ สามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมได้เลย เท่านี้คุณก็จะได้ภาพถ่ายดาวสาย ๆ เอาไว้อวดเพื่อน ๆ ได้แล้วล่ะค่ะ

     

     

    fahwoww
    fahwoww
    สิ่งแรกที่ทำหลังกลับจากเที่ยว คือ วางแพลนทริปถัดไป ^..^ เรื่องกิน เรื่องเที่ยว ขอให้บอกงานถนัด

    Related Post